คุณอ่านหนังสือแบบไหนในห้องสมุด

ในห้องสมุดมีหนังสือให้เพื่อนๆ ได้เลือกอ่านมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเรียน หนังสือทั่วไป หนังสือนวนิยาย หนังสืออ้างอิง ฯลฯ

reading-book

วันนี้ผมจึงอยากมาถามเพื่อนๆ ว่า
“หนังสือประเภทไหนที่เพื่อนๆ ชอบมากที่สุดเวลาเข้าใช้ห้องสมุด”

[poll id=”6″]

วัตถุประสงค์ในการถามปัญหาข้อนี้ คือ
บรรณารักษ์ที่เข้ามาอ่านก็จะรู้ว่า พฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ชอบหนังสือแนวไหน
และต้องจัดหาหนังสือแนวใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงวางแผนการให้บริการได้ดีขึ้นด้วย

ยังไงก็ขอความกรุณาแล้วกันนะครับ ช่วยๆ ตอบกันหน่อย

หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ

นำเที่ยวห้องสมุดวันนี้ ผมขอนำเสนอ “หอสมุดแห่งชาติ”
ล่าสุดที่ผมได้ไปเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ ทำเอาผมประหลาดใจในหลายๆ ส่วน
ผมจึงอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพลักษณ์ใหม่ๆ ของหอสมุดแห่งชาติบ้าง

nlt-banner

ข้อมูลทั่วไปของหอสมุดแห่งชาติ
สถานที่ : หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
ที่อยู่ : ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0-2281-5212 โทรสาร : 0-2281-5449
เว็บไซต์ : http://www.nlt.go.th

การนำชมหอสมุดแห่งชาติของผม ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ผมเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในวันอังคาร ดังนั้นจำนวนคนจึงไม่ค่อยมาก
และข้อจำกัดด้านเวลา ที่ผมมีเวลาในการเข้าชมเพียงแค่ 2 ชั่วโมง
ดังนั้นอาจจะเข้าชมได้ไม่ครบ แต่ผมจะนำเสนอข้อมูลเท่าที่ผมได้เห็นนะครับ

ไปดูในส่วนต่างๆ กันเลยดีกว่าครับ

เริ่มจากเมื่อเดินเข้าประตูหน้า แล้วมาที่ตึกใหญ่
แต่เดิมหน้าหน้าตึกใหญ่เป็นเพียงสวนต้นไม้หน้าตึก
แต่เดี๋ยวนี้มีการสร้างอาคารเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอาคารแบบ 1 ชั้น

อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่

อาคารที่สร้างเพิ่มขึ้นมาด้านหน้าตึกใหญ่ ภายในมี
– ร้านกาแฟ
– ร้านอาหาร
– ร้านขายขนม ของว่าง
– ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่
– ร้านจำหน่ายหนังสือ

นับว่าเป็นอาคารที่เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้บริการได้มากเลยนะครับ
มีกาแฟให้ดื่ม หิวข้าวก็กินข้าได้ แถมมีหนังสือจำหน่ายอีก
ครบแบบนี้ผมต้องยกนิ้วให้เลยครับ

ในส่วนต่อมาภายในอาคารใหญ่ของหอสมุดแห่งชาติ

จุดแรกที่ทุกคนจะต้องพบก็คือ ทางเข้าและทางออกของอาคาร ซึ่งจะประกอบด้วย
– ห้องฝากของ (เพื่อนๆ ต้องนำกระเป๋ามาฝากไว้ที่นี่เท่านั้น)
– จุดตรวจของ รปภ. (จุดนี้จะช่วยตรวจของๆ ผู้ใช้บริการตอนออกมาครับ)

แต่ ณ จุดทางเข้าก็ยังคงมีป้ายประกาศ และกฎการเข้าใช้ห้องสมุดติดอยู่นะครับ

จุดต่อมานั่นคือ ห้องโถงใหญ่ บริเวณชั้น 1
แต่เดิมจะใช้ในการแสดงนิทรรศการ (แต่ส่วนใหญ่ผมจะพบกับห้องโล่งๆ มากกว่า)
แต่เดี๋ยวนี้มีเคาน์เตอร์กลาง ซึ่งใช้เป็นส่วนของประชาสัมพันธ์ และจุดบริการตอบคำถาม

nlt2
เคาน์เตอร์กลาง และจุดประชาสัมพันธ์

ในชั้นหนึ่งผมเพิ่งสังเกตเห็นห้องนิทรรศการใหม่ของหอสมุดแห่งชาติ
ซึ่งออกแบบเป็นประตูเลื่อนเพื่อเข้าไปดูนิทรรศการด้านใน
แต่ในระหว่างการเยี่ยมชม ห้องนี้ยังถูกปิดล็อคอยู่ยังไม่สามารถเข้าไปดูได้
ผมเลยขอถ่ายรูปจากด้านนอกเข้าไปก็แล้วกัน

ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่
ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่

จากนั้นผมก็ได้ชมวีดีโอแนะนำหอสมุดแห่งชาติ
ที่น่าตกใจคือ วีดีโอที่แนะนำยังเป็นแบบ เทปวีดีโออยู่เลย
คุณภาพของภาพและเสียงยังไม่ค่อยดีนัก แต่คิดว่าอีกหน่อยเขาคงจะปรับปรุงนะ

หลังจากการชมวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินชมห้องบริการต่างๆ ดังนี้
– ห้องสืบค้นอินเทอร์เน็ต และบัตรรายการ (ชั้น 1)
– ห้องวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (ชั้น 1)
– ห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (ชั้น 5)
– ห้องเอกสารโบราณ (ชั้น 4)
– ห้องบริการอ่านหนังสือ (ชั้น 2)

nlt4

แต่ละจุดมีไอเดียการบริการที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง เช่น
– หอสมุดแห่งชาติให้บริการ wifi และปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ๊ค
– บัครรายการ (บัตรสืบค้นหนังสือ) ยังคงมีการอัพเดทเรื่อยๆ คู่กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่หอสมุดแห่งชาติใช้ คือ Horizon
– หอสมุดแห่งชาติไม่มีการรับสมัครสมาชิก ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกคนไม่จำกัด
– ไม่อนุญาติให้ยืมหนังสือออกจากหอสมุดแห่งชาติ
– การจัดหนังสือในห้องวารสารยังคงใช้การเรียงตามตัวอักษรเป็นหลัก
– การแบ่งห้องบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ยังคงยึดหลักตามการแบ่งหมวดหมู่
– หอสมุดแห่งชาติรวบรวมงานวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ มากมาย
– วิทยานิพนธ์และงานวิจัย ปี 2546-ปัจจุบันถูกจัดเก็บที่นี่ ส่วนที่เก่ากว่านั้นจะอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติลาดกระบัง
– การจัดหมวดหมู่ที่นี่ใช้แบบดิวอี้ และแถบสี เพื่อง่ายต่อการคัดแยกและจัดเก็บ

nlt5

Hilight ของการเยี่ยมชมครั้งนี้อยู่ที่ ชั้น 2 ในห้องอ่านหนังสือ
พอเข้ามาถึงก็ต้องประหลาดใจ เมื่อภาพหอสมุดแห่งชาติแต่เดิมของผมถูกลบออกจากสมอง

แต่เดิมที่ผมมาใช้ห้องสมุดในชั้นสองจะมีการแบ่งออกเป็นสองห้องโดยการกั้นกระจก
ในส่วนโถงกลางของชั้นสองคือบริเวณร้านถ่ายเอกสารที่คอยให้บริการผู้ใช้

แต่สิ่งใหม่ๆ ที่ผมเห็นคือ เคาน์เตอร์กลางที่อยู่ตรงหน้าผมที่จะคอยบริการทั้งสองห้อง
นอกจากนี้ยังมีการเล่นสีสันในห้องสมุดใหม่ เช่น สีเหลือง สีชมพู แบบว่าเอาใจวัยรุ่นมากๆ
จากการกั้นห้องทั้งสองแบบเดิม กลายเป็น การรวมกันของห้อง แล้วแยกเป็นโซนดี

nlt6

ด้านหลังเคาน์เตอร์กลางมีมุมหนังสือพิเศษมากๆๆๆๆๆๆๆ
นั่นคือ Window on Dynamic Korea
เรียกง่ายๆ ว่ามุมหนังสือเกาหลี….. ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
แบบว่ามีหนังสือภาษาเกาหลี หนังสือสอนภาษาเกาหลี หนังสือวัฒนธรรมและประเพณีเกาหลี ฯลฯ
นับว่าเป็นมุมที่สร้างสีสันอีกมุมหนึ่งให้ห้องสมุดเลยก็ว่าได้

nlt7

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพลักษณ์ด้านสถานที่และบริการที่เปลี่ยนไป
หวังว่าคงพอที่จะดึงดูดคนมาเข้าอสมุดแห่งชาติได้บ้างนะครับ
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนหอสมุดแห่งชาติยังคงต้องดำเนินการต่อไป
เพื่อการบริการและภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับเวลาเปิด-ปิดทำการของหอสมุดแห่งชาติ
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.30
ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ เปิด 9.00 – 17.00
วันหยุดก็ตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดพิเศษอื่นๆ

ถ้าว่างๆ ก็ลองมาเที่ยวที่นี่กันดูนะครับ

ปล. หากมีเวลามากกว่านี้ผมคงจะสำรวจทุกซอกทุกมุมได้ทั่วเลยนะครับ
เอาเป็นว่าไว้โอกาสหน้าก็แล้วกันนะครับ

รวมภาพบรรยายกาศภายในหอสมุดแห่งชาติ

[nggallery id=5]

ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ดีควรจะ…

วันนี้ผมขอออกมาพูดให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดฟังบ้างนะครับ
คิดซะว่าผมพูดในฐานะบรรณารักษ์คนนึงก็แล้วกัน

librarybookmark

หลายครั้งบรรยากาศในห้องสมุดที่ผมพบ มันดูเหมือนจะไม่ใช่ห้องสมุด
สาเหตุก็เกิดจากการใช้บริการของผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศของห้องสมุดถูกทำลาย เช่น
– การพูดคุยส่งเสียงดังในห้องสมุด
– การนำขนมมากินในห้องสมุด
– การนอนหลับในห้องสมุด (แล้วส่งเสียงกรนดังมาก)

ฯลฯ อีกมากมาย

ปกติห้องสมุดเกือบทุกที่จะติดประกาศเรื่องกฎระเบียบในการใช้ห้องสมุด
ซึ่งเนื้อหาภายในกฎระเบียบเหล่านั้นก็น่าจะเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

เอาเถอะครับ งั้นผมขอทบทวนเรื่องนี้ให้ผู้ใช้บริการเข้าใจอีกสักทีก็ได้
พอดีผมเจอที่คั่นหนังสือที่ให้ข้อมูลเรื่องการใช้บริการของห้องสมุดที่สิงคโปร์
จึงอยากเอามาให้ผู้ใช้บริการหลายๆ คนได้อ่านกัน
รวมถึงเพื่อนๆ บรรณารักษ์สามารถนำข้อความเหล่านี้ไปติดประกาศไว้ในห้องสมุดของท่านก็ได้

ในที่คั่นหนังสือ มีข้อความดังนี้

1. Handle all library materials and facilities with care and respect
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด จงใช้อย่างระมัดระวัง เพราะว่าคุณไม่ได้ใช้หนังสือแค่คนเดียว

2. Maintain a quiet environment at all times
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลความเงียบสงบภายในห้องสมุดทุกครั้งที่เข้าห้องสมุด เพราะถ้าคุณกำลังอ่านหนังสืออยู่แล้วมีเสียงดังรบกวนคุณคงไม่ชอบแน่

3. Show consideration to those who are waiting

เวลาอ่านหนังสือสักเล่ม หรือยืมหนังสือสักเล่มให้นึกถึงผู้ใช้บริการคนอื่นบ้าง เพราะหนังสือเล่มนึงอาจเป็นที่ต้องการของผู้ใช้หลายๆ คน

4. Return browsed library materials to the book bins
กรุณาวางหนังสือที่ใช้แล้วในจุดที่กำหนด เพราะบรรณารักษ์จะได้นำออกมาให้ผู้อื่นบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

5. Sleep at home, not at the library
ถ้าง่วงนอนมากๆ ขอแนะนำให้กลับไปหลับที่บ้านนะครับ ไม่ใช่หลับในห้องสมุด

6. Supervise your children at all times
ดูแล และแนะนำการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณพามาด้วยนะคร้าบ

7. Eat and drink at the cafe only
ถ้าหิว จะกินจะดื่มอะไรก็สามารถไปกินที่ร้านนะครับ ไม่ใช่กินในห้องสมุด

8. Settle outstanding payments promptly
ถ้ายืมหนังสือเกินกำหนด หรือทำผิดกฎของห้องสมุด คุณก็ต้องเสียค่าปรับด้วย กรุณาอย่างเบี้ยวนะครับ

9. Give priority for seats to those using library materials
ที่นั่งในห้องสมุดกรุณาแบ่งๆ กันใช้นะครับ ไม่ใช่เล่นจองคนเดียวเต็มโต๊ะ

10. Treat everyone with courtesy and respect
ปฏิบัติต่อผู้ใช้ห้องสมุดด้วยกัน ด้วยความเคารพและมีมารยาท

เป็นไงบ้างครับ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นหรือปล่าว
ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ผมจะได้ให้บรรณารักษ์พิมพ์ออกมาเป็นโปสเตอร์แจกเลยดีมั้ยครับ
เอาเป็นว่าไม่ว่าคุณจะใช้ห้องสมุดแบบไหน ขอให้ใส่ใจต่อคนรอบๆ ข้างที่ใช้บริการเหมือนกับคุณบ้างก็พอครับ

เหนื่อย เครียด ป่วย นี่แหละนิยามของผม

วันนี้ขอเล่าเรื่องส่วนตัวที่กำลังยุ่งเหยิงให้เพื่อนๆ ได้ฟังสักหน่อย
อย่างน้อยจะได้เข้าใจสภาพของผมในช่วงนี้ขึ้นมาบ้าง

sickme

หลายคนอาจจะสงสัยว่าช่วงนี้ทำไมผมดูเงียบลง
– MSN ก็ไม่ค่อยคุย
– hi5 ก็ไม่ค่อยตอบ
– twitter ก็ไม่ค่อย tweet
– email ก็นานกว่าจะตอบ
ฯลฯ

เรื่องที่ 1 – เหนื่อย
ช่วงนี้งานประจำของผม มีหน้าที่ที่ผมต้องรับผิดชอบเยอะขึ้น
งานต่างๆ ต้องการความเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
ดังนั้นงานประจำผมจึงต้องทุ่มเทให้งานประจำด้วยเช่นกัน

ส่วนเรื่องบล็อกใหม่ที่กำลังเข้าที่ ก็ต้องอาศัยความขยันในการอัพเดทเรื่องของตัวเองบ่อยๆ
เพื่อให้บล็อกของผมสามารถสร้างชุมชนบรรณารักษ์ได้หลายรูปแบบ

จากงานประจำ + งานบล็อก = เหนื่อยมากมาย

เรื่องที่ 2 – เครียด
งานประจำที่ผมทำอยู่เป็นงานราชการ ดังนั้นเวลาจะทำอะไรก็ตามต้องทำตามแบบราชการ
อยากจะบอกว่าจนวันนี้ผ่านไปก็เกือบครึ่งปีแล้ว ผมเองก็ยังไม่ชินกับลักษณะงานแบบนี้อยู่ดี
บางอย่างที่น่าจะทำได้ แต่พอเข้ากระบวนการราชการก็ไม่สามารถทำได้

จากระเบียบงานราชการ = เครียด

เรื่องที่ 3 – ป่วย
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันร้อน บางวันฝนตก
ผมเองก็ยังปรับสภาพไม่ค่อยทันหรอกนะครับ

แถมด้วยการหอบงานกลับมาทำเยอะก็เลยต้องนอนดึกขึ้น บางวันก็ไม่ได้นอน
เวลาพักผ่อนหายไป เลยทำให้สุขภาพทรุดลงนิดนึง

จากสภาพอากาศ + พักผ่อนน้อย = ป่วย

จากเรื่องที่ 1 + 2 + 3 จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง
และการระบายความในใจให้เพื่อนๆ ฟังวันนี้นั่นเอง

เหนื่อย + เครียด + ป่วย = ผมเองในตอนนี้

ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook

หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน

libraryinfacebook

วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย
ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง

แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ
เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ

ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย
– ชื่อห้องสมุด
– ที่อยู่
– แฟนคลับของห้องสมุด
– ข้อความทักทายผู้ใช้งาน
– รูปภาพของห้องสมุด
– วีดีโอแนะนำห้องสมุด

facebook

เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้
แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก

ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้
– แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed
– จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link)
– ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ
– บริการพจนานุกรมออนไลน์

newlibraryfacebook

ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook

– SUNCAT Search

suncat

– WorldCat

worldcat

– Warwick Library E-Journal Search

warwick-library

– Oxford English Dictionary Search

oxford

เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว
อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ

รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว

VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org

มาหาคำศัพท์ด้านห้องสมุดกันเถอะ

วันนี้ผมขอแนะนำเรื่องแบบสบายๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุดแล้วกัน
เรื่องสบายๆ ที่ว่า ผมขอแนะนำเกมส์ puzzle ดีกว่า

library-puzzle

เกมส์ puzzle คือ เกมส์หาคำศัพท์จากตารางตัวอักษร
ซึ่งในตารางตัวอักษรนี้จะมีคำศัพท์ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแนวตั้ง แนวนอน แนวทะแยง

แต่ถ้าจะให้เพื่อนๆ เล่นเกมส์ puzzle แบบปกติคงจะไม่สนุกเท่าไหร่
ผมเลยขอแนะนำ Library puzzle หรือ เกมส์หาคำศัพท์บรรณารักษ์

ต้นฉบับไฟล์ภาพตารางเกมส์ Library puzzle
จากเว็บไซต์ http://farm4.static.flickr.com/3536/3217077856_5f8c5008f0.jpg
โดย Library Word Find Puzzle, originally uploaded by herzogbr.

แต่เพื่อความสะดวกกับเพื่อนๆ ผมจึงแปลงข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปไฟล์ Excel เรีบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถโหลดได้ที่นี่ —ไฟล์ตาราง Librarypuzzle

ในไฟล์ Librarypuzzle จะมีทั้งแบบตารางและเฉลยให้เพื่อนๆ เรียบร้อยแล้ว
แต่ขอแนะนำว่าเพื่อความสนุกเพื่อนๆ ควรเล่นด้วยตัวเองนะครับ

เมื่อได้ไฟล์ตารางแล้ว ผมขอตั้งกติกาสักนิดนะครับ
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ หาคำศัพท์ที่อยู่ด้านล่างนี้ในตาราง ภายในเวลา 5 นาที

คำศัพท์ที่เพื่อนๆ ต้องหามีดังนี้

– ALA
– ARCHIVE
– BOOKGROUP
– BOOKS
– BUDGET
– CATALOG
– CIRCULATION
– COMMUNITY
– COOKERY
– DATABASES
– DEWEY
– DVD
– FICTION
– FLICKR
– GENEALOGY
– ILL
– INFORMATION
– LIBRARY
– LIBRARYCARD
– LOC
– LOCALAUTHOR
– NETWORK
– PATRONS
– PROGRAMS
– READING
– REFERENCE
– REQUEST
– SELFCHECK
– SERVICE
– STORYTIME
– UNSHELVED
– WEBSITE
– WEEDING
– WORDPRESS

คำแนะนำในการเล่นให้สนุกยิ่งขึ้น
– ควรเล่นกันหลายๆ คน หรือ หาเพื่อนในที่ทำงานมาเล่นแข่งกัน (เพื่อหาผู้ชนะ)
– ควรจับเวลาในการเล่น (เพื่อความตื่นเต้นในการค้นหา)
– นอกจากหาคำแล้วยังต้องแปลให้อีกฝ่ายรู้ถึงความหมายด้วย (จะได้ฝึกภาษา)

เอาเป็นว่านอกจากเล่นแก้เซ็งได้แล้ว ยังถือว่าได้ฝึกภาษาไปด้วยนะครับ
ยังไงก็ลองเล่นกันดูนะครับ

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

ทัวร์ห้องสมุด รพ.สรรพสิทธิประสงค์

ครั้งที่แล้วผมพาไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
วันนี้เราก็ยังคงอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่นะครับ
แต่ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้ คือ ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

dscf0090

ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ : ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
ที่อยู่ : ถนนสรรพสิทธิฺ์์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
โทรศัพท์ : 045-244973

ประเด็นภาพรวมของการไปเยี่ยมชม
– ห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล
– เป็นแหล่งความรู้ให้นักศึกษาแพทย์ (ชั้น 2) และแหล่งเรียนรู้ทั่วไป
– สถานที่มีความพร้อมในการทำห้องสมุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ
– จำนวนทรัพยากรสารสนเทศเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
– ทรัพยากรสารสนเทศมีความใหม่ และอัพเดทอยู่เสมอ
– จำนวนที่นั่งในห้องสมุดมีเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
– รายได้หลักของห้องสมุดมาจากค่าปรับหนังสือ และเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี
– ไม่อนุญาตให้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย เนื่องจากสัญญาณจะรบกวนในโรงพยาบาล
– อนุญาตให้ยืมหนังสือได้แค่บุคลากรภายในโรงพยาบาล
– มีบริการเครื่องถ่ายเอกสารด้านนอกห้องสมุด
– จัดหมวดหมู่ด้วยแถบสี เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาได้ง่าย
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำขึ้นเอง
– แบ่งมุมหนังสือเพื่อการแพทย์ กับหนังสือทั่วไปอย่างชัดเจน (อยู่คนละชั้น)
– ผู้ก่อตั้งห้องสมุดมีการเก็บแผ่นเสียงจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวบรวมแผ่นเสียงมากมาย

เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ยครับว่า
ห้องสมุดโรงพยาบาลจะสามารถสร้างได้ถึงขนาดนี้
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้หล่ะครับ ว่าห้องสมุดจะพัฒนาไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับ “วิสัยทัศน์ของผู้บริหารห้องสมุด” นั่นแหละครับ

ภาพบรรยากาศทั่วไปในห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

[nggallery id=4]

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

librarianrole

Read more