LibCamp#1 : Creative Common Story

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่หกของงาน LibCamp#1
คือ คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ผู้ประสานงานเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย
ซึ่งมาเล่าเกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ในประเทศไทย

สไลด์นำเสนอเรื่อง Creative Common ดูต่อได้ที่
http://docs.google.com/Present?docid=dd7qsnpx_43pdcdpqdz&skipauth=true

เรื่องของ Creative Common เกิดจากโลกที่มีอยู่ 2 ขั้ว นั่นคือ
โลกแห่งการสงวนสิทธิ์ และ โลกแห่งการสละสิทธิ์

การที่เราสละสิทธิ์ และเผยแพร่ผลงานเราอย่างเสรี จริงๆ แล้วมีข้อดีมากมาย เช่น
– 1981 IBM คิดค้น PC ได้ และไม่ปิดกั้นคนอื่น ทำให้ปัจจุบันเรามี pc ให้เลือกมากมาย
– 1993 CERN คิดการใช้ www ได้ และไม่ห้ามเช่นเดียวกัน ปัจจุบันจึงมี www มากมาย
แต่พอเข้าสู่ยุคทุนนิยม การที่บริษัทจำเป็นที่จะต้องสงวนสิทธิ์ก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน

ดังนั้นการเลือกสงวนสิทธิ์ทั้งหมด (All Rights Reserved) กับ
สละสิทธิ์ทั้งหมด (No Rights Reserved)
อาจจะทำให้เกิดช่องว่างในด้านการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว

ทางเลือกใหม่จึงเกิดขึ้น นั่นคือ Some Rights Reserved
การเลือกที่จะสงวนสิทธิ์บางประกาศ และมอบสิทธิ์บางประการ
หรือที่เราจะเรียกว่า สัญญาอนุญาต Creative Common นั่นเอง

Creative Common ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 4 อย่างด้วยกัน คือ
– by = การอ้างอิงที่มา
– nc = ห้ามใช้เพื่อการค้า
– nd = ห้ามนำมาดัดแปลง
– sa = ให้ใช้สัญญาตัวเดียวกันต่อไป

creativecommon

โดยพื้นฐานของ Creative Common จะต้องมี by ประกอบทุกกรณี
ดังนั้นจากการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มารวมกันจะทำให้ได้อนุสัญญา 6 รูปแบบ คือ
1. by (ระบุที่มา)
2. by-sa (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน)
3. by-nd (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และห้ามดัดแปลง)
4. by-nc (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และห้ามใช้เพื่อการค้า)
5. by-nc-sa (เผยแพร่ได้ ดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า และใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน)
6. by-nc-nd (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง และห้ามใช้เพื่อการค้า)

การขออนุสัญญา creative commons ทำได้ไม่ยาก
เพียงแค่ เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.creativecommons.org
แล้วเรื่องเงื่อนไขต่างๆ แล้วก็นำ code ที่ได้ไปแปะไว้บนเว็บไซต์ของเรา

creativecode

ปัจจุบันมีเว็บไซต์ไทยที่ใช้ Creative Common เช่น
TDRI, Onopen, Openbase, Gotoknow, PSU, Blognone, Thaigoodview….

ประโยชน์ของการใช้ Creative Common
– การสงวนสิทธิ์ที่สมเหตุสมผล
– การส่งเสริมให้คนเคารพสิทธิ์มากขึ้น
– การคืนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ สู่สาธารณะ
– การทำบุญยุคใหม่
– รากฐานของวัฒนธรรมเสรี

ในเรื่อง Creative Common กับเรื่องห้องสมุดดิจิตอล มี 2 ส่วนที่ต้องระวัง คือ
1. ขาเข้า – ต้องมีการเคลียร์สิทธิ์ในงานนั้นให้ชัดเจนก่อน
2. ขาออก – เมื่อได้ข้อมูลที่เคลียร์สิทธิ์เสร็จเรียบร้อย เราจะนำไปเผยแพร่อย่างไร

ประเด็นของเรื่องนี้ยังมีการแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากมาย เช่น
– บล็อกเกอร์เขียนเรื่องเอง แต่นำรูปของคนอื่นมาลง พอจะนำขึ้นเว็บก็ไปใส่ CC ซะงั้นเลย ซึ่งข้อนี้แสดงให้เห็นว่า บล็อกเกอร์คนนั้นยังไม่มีจรรยาบรรณเพียงพอเลย
– การฟ้องร้องในกรณีที่มีการละเมิด สามารถกระทำได้ เนื่องจาก CC มีผลตามกฎหมาย

หัวข้อนี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ ครับ สำหรับเราชาวห้องสมุด
เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์กับห้องสมุดมีการถกเถียงกันมานาน
ถึงตอนนี้มี CC เข้ามาเพิ่ม บรรณารักษ์ก็ควรจะต้องเข้าใจเรื่องนี้เพิ่มเติมเช่นกัน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเว็บไซต์ Creative Common ของไทยได้ครับ
ที่ http://www.cc.in.th

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*