กิจกรรมที่น่าสนใจ จาก ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน

วันนี้มีเรื่องจะมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน?เป็น 2 กิจกรรมที่น่าสนใจ
งานนี้จัดโดย ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)

william-warren-library

กิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ที่ผมจะแนะนำ ก็คือ
1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?

โดยรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมแบบละเอียดมีดังนี้

??????????????????

1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
จัดฉายในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00-15.00 น.
และจะฉายซ้ำในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00-19.00 น.
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Festival

พื้นที่แห่ง ?สาธารณะ?

แนว คิดเรื่องพื้นที่สาธารณะดูเหมือนเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันว่ามีความจำ เป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตในเมือง แต่ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นเสมือนตาบอดคลำช้าง แต่ละฝ่ายต่างก็เข้าใจกันไปตามมุมมองของตนเอง อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำเนิดมาจากคน พื้นที่สาธารณะในเมืองอย่างกรุงเทพแตกต่างจากเมืองอื่นๆเพราะเงื่อนไขในการ กำเนิดและคลี่คลายของมันเอง นับแต่อดีตจนปัจจุบัน

ภาพยนตร์ สั้นจำนวน 5 เรื่องจะเป็นการค้นหามุมมองใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพ กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่ซับซ้อน หลายเผ่าพันธ์มากที่ สุดในโลก คนเหล่านี้ผลิตและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของและพื้นที่แวดล้อมตัวเอง ทั้งจากความบังเอิญและจากกรอบวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์นี้มีส่วนในการพัฒนาการ คลี่คลายสภาวะทางกายภาพของเมือง ในขนาดย่อยและขนาดใหญ่ ภาพยนตร์นับว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมแก่การนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายของพื้นที่ สาธารณะในเมือง เนื่องจากเป็นสื่อที่กินพื้นที่และเวลาในตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับเมืองที่เป็นพื้นที่รองรับเวลาแห่งกิจกรรม

ภาพยนตร์สั้นจำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่หนึ่ง กำเนิด
ถ้าความหมายของพื้นที่เกิดจากคน กรุงเทพก็แตกต่างจากเมืองอื่นๆในแง่ที่ถือกำเนิดจากสถานะการณ์เฉพาะตัว ต้นกำเนิดของพื้นที่สาธารณะในเมืองหลวงของเรามีความเป็นมาอย่างไร

เรื่องที่สอง ปฏิกิริยา
เรามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่และสิ่ง ของตามสัญชาตญาณและตามวิถีวัฒนธรรม มาลองดูกันใกล้ๆว่าคนกรุงเทพทำตัวกลมกลืนและ/หรือขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของ เมืองอย่างไร

เรื่องที่สาม ทัศนะเบื้องบนและล่าง
ชั้นของข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่ สาธารณะที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเดียวกันของคนที่อยู่คนละตำแหน่ง แตกต่างกัน

เรื่องที่สี่ สาธารณะหรือส่วนตัว
พื้นที่ที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าสาธารณะแต่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาณาบริเวณเหล่านี้เหลื่อมทับกันอย่างไร ตามมุมมองของคน

เรื่องที่ห้า สินค้าและพื้นที่
เมืองตะวันตกเป็นกายภาพและทัศนีย วิทยา เมืองแบบญี่ปุ่นเป็นชุดของเหตุการณ์ เมืองกรุงเทพเป็นชุดของการแลกเปลี่ยน? พิจารณาแง่มุมของการแลกเปลี่ยนบนพื้นที่สาธารณะในระดับต่างๆ บนพื้นที่ต่างๆ

??????????????????

2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?
บรรยายโดย อาจารย์สุริยา สมุทคุปต์ (ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมสิ่งทออีสาน) และ
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00-15.00 น.

การ บรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงบทบาทผู้หญิงผ่านวิถีและกระบวนการทอผ้าที่มีผลต่อ สถานภาพและโครงสร้างทางสังคมอีสานในความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงเป็นการปรับตัวที่วางอยู่บนรากฐานทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมการทอผ้ายังคงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมของผู้หญิงอีสาน และในฐานะแม่ที่ต้องรับผิดชอบงานในครัวเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ วิถีการทอผ้าซึ่งฝังรากลึกอยู่ในบทบาทผู้หญิงอีสานจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ขยายขนาดจากหัตถกรรมเพื่อหาเลี้ยงชีพในชุมชนสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้มีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเกิดผลกระทบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนอีสานอย่างไร

??????????????????

กิจกรรมทั้งสองที่ได้กล่าวมา ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
และท่านสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 02-612-6741

ที่ตั้งของ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)
อาคารเฮนรี่บี ทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
โทรศัพท์ : 02-612-6741

ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณลัดดาวัลย์ อู่แสงทอง (บรรณารักษ์ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน)

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*