วันนี้ผมจะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาที่ผมเข้าร่วมวันนี้ นั่นคือ
“งานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB”
ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมเอเซีย
โดยงานสัมมนาเรื่องนี้ผมคงเข้าร่วมได้แค่วันเดียวนะครับ
แถมยังเข้าร่วมได้ไม่เต็มวันอีก แต่เอาเถอะครับ ผมจะสรุปประเด็นเท่าที่ผมได้ฟังก็แล้วกัน
ประเด็นที่ผมได้ฟัง
– ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
– แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
– สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
แค่สามประเด็นนี้ผมก็รู้สึกว่าได้รู้อะไรมากมายแล้วครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านเป็นหัวๆ แล้วกัน
—————————————————
ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
Introduction to Library automation in academic library
บรรยายโดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ซึ่งเป็น ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
– บทบาทของ UNINET ที่มีต่อวงการห้องสมุด คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุด
– ห้องสมุดอัตโนมัติ เริ่มมีบทบาทมากในปี 2530-2531
– สกอ. เกิดความคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย
เนื่องจากการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายที่สูง นอกจากนี้ค่าดูแลรักษาก็แพงเช่นกัน
– สกอ. จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โดยสกอ. ให้ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการในการพัฒนา และออกทุนสนับสนุนการพัฒนา มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ต้นแบบจาก VTLS
(2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ต้นแบบจาก Dynix และ Innopac
(3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้ต้นแบบจาก Innopac
– Walai AutoLIB พัฒนามาแล้ว 2-3 ปี ปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว 43 แห่ง
นับว่าเป็นระบบที่ใช้เวลาไม่นาน แต่คุณภาพไม่แพ้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนอื่น
– ประโยคที่ได้ใจวันนี้ “งานห้องสมุดเป็นงานที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง“
—————————————————
แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Walai Autolib development concept
บรรยายโดย รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์
– เดิมห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS
แต่ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาแพง
รวมถึงยังตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานไม่ครบถ้วน
– เริ่มการพัฒนา Walai autolib ในปี 2548
– ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ระยะเริ่มต้น
(1) ความซับซ้อนของระบบงานห้องสมุด
(2) ปัญหาด้านผู้ใช้ และการจัดการความเปลี่ยนแปลง
(3) ความน่าเชื่อถือของระบบที่พัฒนาโดยคนไทย
(4) Site reference
– มีคนกล่าวว่า “ถ้าใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ ก็จะสามารถพัฒนาระบบอื่นๆ ได้ง่าย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบห้องสมุดเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากๆ
– เรื่องของการจัดการความเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเราใช้อะไรจนชินแล้วจะให้เปลี่ยนคงต้องใช้เวลา
– คนไทยมีความสามารถในการพัฒนาระบบต่างๆ นะ น่าเชื่อถือด้วย แต่ขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่า
-ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(2) UNINET
(3) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(4) คณะทำงานโครงการ Walai Autolib
– เป้าหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ยึดหลักดังนี้
(1) สร้างระบบบริหารจัดการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
(2) สร้างมาตรฐานของงานห้องสมุด Marc21, Z39.5, ISO2709
(3) ประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ
– ระยะของการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
(ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับแนวคิดห้องสมุด 2.0)
– Library2.0 คือ แนวความคิดในการจัดการห้องสมุดยุคใหม่
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
– แผนงานในอนาคตของ Walai autolib เพื่อให้เป็น Library2.0
(1) Content Management System
(2) Dynamic Search System
(3) User Space
(4) Library Web Portal
(5) Helpdesk Online
– ก่อนจบ session นี้ ผมชอบประโยคนึงของการบรรยายครั้งนี้ นั่นคือ
“Libraries Changing the world” ห้องสมุดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
—————————————————
สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Demo Walai Autolib
บรรยายโดย อาจารย์ยุทธนา เจริญรื่น
เริ่มจากการสาธิตการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib เบื้องต้น ทั้ง 6 โมดูล ดังนี้
1) ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
2) ระบบการทำรายการ (Cataloging module)
3) ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
4) ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
5) ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
6) ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)
—————————————————
ประเด็นที่ผมสรุปมาอาจจะขาดไปในบางช่วงบางตอน
แต่เอาเป็นว่าถ้ามีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในบล็อกนี้อีกก็แล้วกัน
สำหรับคนที่พลาดงานนี้
ผมเชื่อว่าการแนะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อาจจะมีจัดอีก
ยังไงถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการจัดงานแบบนี้อีก ผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ รู้ทันที
เพิ่งจะเคยได้ยินก็วันนี้แหละ กับระบบ walai Auyolib การใช้งานก็ไม่ต่างจาก innopac เลย แค่เพิ่มมาหนึ่ง แต่ก็น่าจะประหยัดนะ
.ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อยู่ครับ