บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

librarianrole

ผมจึงขออนุญาตแปลมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน
แต่นอกเหนือจากการแปลตรงตัวตัวของผมแล้ว
ผมจะขอแทรกแนวความคิดไว้ในบทความนี้ด้วยแล้วกัน

เอาเป็นว่าลองไปดูกันเลยดีกว่า

Librarian roles and duties
บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

1. Public service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน
บรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด


2. Reference or research librarians

บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆ
รวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรม
ให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล


3. Technical service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค จริงๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่า ?บรรณารักษ์เบื้องหลัง?
เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่างเดียว
เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆ
นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค


4. Collections development librarians

บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหา
มีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด


5. Archivists

นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่
และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่


6. Systems Librarians

บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที

7. Electronic Resources Librarians
บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ
แต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรม
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล


8. School Librarians, Teacher

บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะ
เช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ

หากมองกันจริงๆ แล้วการแบ่งหน้าที่และบทบาทต่างๆ ดังกล่าว
อาจจะดูเหมือนการแบ่งประเภทงานของบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้

บางห้องสมุดอาจจะใช้บรรณารักษ์ 1 คน ต่อ 1 งาน
แต่บางที่ผมก็สังเกตว่า บรรณารักษ์ 1 คน ต่อหลายงาน ก็เป็นได้
แต่ไม่ว่าจะแบ่งกันทำงานกี่อย่าง ทุกคนก็คงได้ชื่อว่าเป็น บรรณารักษ์ อยู่ดี

เอาเป็นว่าที่แยกให้ดูวันนี้ ผมไม่ได้หมายความว่าห้องสมุดจะต้องจัดคนตามนี้นะครับ
แต่เรื่องการจัดคนตามตำแหน่ง อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของห้องสมุดนั้นๆ ต่อไป

สำหรับใครที่ต้องการอ่านบทความต้นฉบับก็สามารถอ่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Librarian#Librarian_roles_and_duties

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*