หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ

นำเที่ยวห้องสมุดวันนี้ ผมขอนำเสนอ “หอสมุดแห่งชาติ”
ล่าสุดที่ผมได้ไปเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ ทำเอาผมประหลาดใจในหลายๆ ส่วน
ผมจึงอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพลักษณ์ใหม่ๆ ของหอสมุดแห่งชาติบ้าง

nlt-banner

ข้อมูลทั่วไปของหอสมุดแห่งชาติ
สถานที่ : หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
ที่อยู่ : ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0-2281-5212 โทรสาร : 0-2281-5449
เว็บไซต์ : http://www.nlt.go.th

การนำชมหอสมุดแห่งชาติของผม ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ผมเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในวันอังคาร ดังนั้นจำนวนคนจึงไม่ค่อยมาก
และข้อจำกัดด้านเวลา ที่ผมมีเวลาในการเข้าชมเพียงแค่ 2 ชั่วโมง
ดังนั้นอาจจะเข้าชมได้ไม่ครบ แต่ผมจะนำเสนอข้อมูลเท่าที่ผมได้เห็นนะครับ

ไปดูในส่วนต่างๆ กันเลยดีกว่าครับ

เริ่มจากเมื่อเดินเข้าประตูหน้า แล้วมาที่ตึกใหญ่
แต่เดิมหน้าหน้าตึกใหญ่เป็นเพียงสวนต้นไม้หน้าตึก
แต่เดี๋ยวนี้มีการสร้างอาคารเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอาคารแบบ 1 ชั้น

อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่

อาคารที่สร้างเพิ่มขึ้นมาด้านหน้าตึกใหญ่ ภายในมี
– ร้านกาแฟ
– ร้านอาหาร
– ร้านขายขนม ของว่าง
– ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่
– ร้านจำหน่ายหนังสือ

นับว่าเป็นอาคารที่เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้บริการได้มากเลยนะครับ
มีกาแฟให้ดื่ม หิวข้าวก็กินข้าได้ แถมมีหนังสือจำหน่ายอีก
ครบแบบนี้ผมต้องยกนิ้วให้เลยครับ

ในส่วนต่อมาภายในอาคารใหญ่ของหอสมุดแห่งชาติ

จุดแรกที่ทุกคนจะต้องพบก็คือ ทางเข้าและทางออกของอาคาร ซึ่งจะประกอบด้วย
– ห้องฝากของ (เพื่อนๆ ต้องนำกระเป๋ามาฝากไว้ที่นี่เท่านั้น)
– จุดตรวจของ รปภ. (จุดนี้จะช่วยตรวจของๆ ผู้ใช้บริการตอนออกมาครับ)

แต่ ณ จุดทางเข้าก็ยังคงมีป้ายประกาศ และกฎการเข้าใช้ห้องสมุดติดอยู่นะครับ

จุดต่อมานั่นคือ ห้องโถงใหญ่ บริเวณชั้น 1
แต่เดิมจะใช้ในการแสดงนิทรรศการ (แต่ส่วนใหญ่ผมจะพบกับห้องโล่งๆ มากกว่า)
แต่เดี๋ยวนี้มีเคาน์เตอร์กลาง ซึ่งใช้เป็นส่วนของประชาสัมพันธ์ และจุดบริการตอบคำถาม

nlt2
เคาน์เตอร์กลาง และจุดประชาสัมพันธ์

ในชั้นหนึ่งผมเพิ่งสังเกตเห็นห้องนิทรรศการใหม่ของหอสมุดแห่งชาติ
ซึ่งออกแบบเป็นประตูเลื่อนเพื่อเข้าไปดูนิทรรศการด้านใน
แต่ในระหว่างการเยี่ยมชม ห้องนี้ยังถูกปิดล็อคอยู่ยังไม่สามารถเข้าไปดูได้
ผมเลยขอถ่ายรูปจากด้านนอกเข้าไปก็แล้วกัน

ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่
ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่

จากนั้นผมก็ได้ชมวีดีโอแนะนำหอสมุดแห่งชาติ
ที่น่าตกใจคือ วีดีโอที่แนะนำยังเป็นแบบ เทปวีดีโออยู่เลย
คุณภาพของภาพและเสียงยังไม่ค่อยดีนัก แต่คิดว่าอีกหน่อยเขาคงจะปรับปรุงนะ

หลังจากการชมวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินชมห้องบริการต่างๆ ดังนี้
– ห้องสืบค้นอินเทอร์เน็ต และบัตรรายการ (ชั้น 1)
– ห้องวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (ชั้น 1)
– ห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (ชั้น 5)
– ห้องเอกสารโบราณ (ชั้น 4)
– ห้องบริการอ่านหนังสือ (ชั้น 2)

nlt4

แต่ละจุดมีไอเดียการบริการที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง เช่น
– หอสมุดแห่งชาติให้บริการ wifi และปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ๊ค
– บัครรายการ (บัตรสืบค้นหนังสือ) ยังคงมีการอัพเดทเรื่อยๆ คู่กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่หอสมุดแห่งชาติใช้ คือ Horizon
– หอสมุดแห่งชาติไม่มีการรับสมัครสมาชิก ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกคนไม่จำกัด
– ไม่อนุญาติให้ยืมหนังสือออกจากหอสมุดแห่งชาติ
– การจัดหนังสือในห้องวารสารยังคงใช้การเรียงตามตัวอักษรเป็นหลัก
– การแบ่งห้องบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ยังคงยึดหลักตามการแบ่งหมวดหมู่
– หอสมุดแห่งชาติรวบรวมงานวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ มากมาย
– วิทยานิพนธ์และงานวิจัย ปี 2546-ปัจจุบันถูกจัดเก็บที่นี่ ส่วนที่เก่ากว่านั้นจะอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติลาดกระบัง
– การจัดหมวดหมู่ที่นี่ใช้แบบดิวอี้ และแถบสี เพื่อง่ายต่อการคัดแยกและจัดเก็บ

nlt5

Hilight ของการเยี่ยมชมครั้งนี้อยู่ที่ ชั้น 2 ในห้องอ่านหนังสือ
พอเข้ามาถึงก็ต้องประหลาดใจ เมื่อภาพหอสมุดแห่งชาติแต่เดิมของผมถูกลบออกจากสมอง

แต่เดิมที่ผมมาใช้ห้องสมุดในชั้นสองจะมีการแบ่งออกเป็นสองห้องโดยการกั้นกระจก
ในส่วนโถงกลางของชั้นสองคือบริเวณร้านถ่ายเอกสารที่คอยให้บริการผู้ใช้

แต่สิ่งใหม่ๆ ที่ผมเห็นคือ เคาน์เตอร์กลางที่อยู่ตรงหน้าผมที่จะคอยบริการทั้งสองห้อง
นอกจากนี้ยังมีการเล่นสีสันในห้องสมุดใหม่ เช่น สีเหลือง สีชมพู แบบว่าเอาใจวัยรุ่นมากๆ
จากการกั้นห้องทั้งสองแบบเดิม กลายเป็น การรวมกันของห้อง แล้วแยกเป็นโซนดี

nlt6

ด้านหลังเคาน์เตอร์กลางมีมุมหนังสือพิเศษมากๆๆๆๆๆๆๆ
นั่นคือ Window on Dynamic Korea
เรียกง่ายๆ ว่ามุมหนังสือเกาหลี….. ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
แบบว่ามีหนังสือภาษาเกาหลี หนังสือสอนภาษาเกาหลี หนังสือวัฒนธรรมและประเพณีเกาหลี ฯลฯ
นับว่าเป็นมุมที่สร้างสีสันอีกมุมหนึ่งให้ห้องสมุดเลยก็ว่าได้

nlt7

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพลักษณ์ด้านสถานที่และบริการที่เปลี่ยนไป
หวังว่าคงพอที่จะดึงดูดคนมาเข้าอสมุดแห่งชาติได้บ้างนะครับ
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนหอสมุดแห่งชาติยังคงต้องดำเนินการต่อไป
เพื่อการบริการและภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับเวลาเปิด-ปิดทำการของหอสมุดแห่งชาติ
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.30
ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ เปิด 9.00 – 17.00
วันหยุดก็ตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดพิเศษอื่นๆ

ถ้าว่างๆ ก็ลองมาเที่ยวที่นี่กันดูนะครับ

ปล. หากมีเวลามากกว่านี้ผมคงจะสำรวจทุกซอกทุกมุมได้ทั่วเลยนะครับ
เอาเป็นว่าไว้โอกาสหน้าก็แล้วกันนะครับ

รวมภาพบรรยายกาศภายในหอสมุดแห่งชาติ

[nggallery id=5]

12 thoughts on “หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ

  • May 30, 2009 at 3:38 pm
    Permalink

    มุมประจำผมเลยครับ ที่นั่งสีเหลืองๆอ่ะ ไปนั่งทำงานบ่อยๆที่นั่นอะครับ

    Reply
  • May 31, 2009 at 1:18 am
    Permalink

    ชอบห้องด้านขวามือของชั้นสองค่ะ.. สีน้ำตาลกะสีชมพู.. สีโปรดเลย

    Reply
  • May 31, 2009 at 11:13 am
    Permalink

    เปลี่ยนไปจริงๆด้วย แบบนี้ต้องแนะนำให้คนอื่นเข้าใช้บริการแล้ว ขอบคุณนะคะคุณวาย

    Reply
  • May 31, 2009 at 8:06 pm
    Permalink

    เปลี่ยนไปเยอะมากเลย บรรยากาศดีจริง ๆ ถ้ามีโอกาสคงได้ไปเยี่ยมชมอีกสักครั้ง

    Reply
  • June 1, 2009 at 6:16 am
    Permalink

    สวยและทันสมัยขึ้นจริงๆ

    Reply
  • June 10, 2009 at 11:07 pm
    Permalink

    แฮ่แฮ่ๆๆๆๆ จะไปฝึกงานที่นั้นในเทอมหน้า แล้วกระผมยัง บ่ เคยเข้าไปใช่บริการเลย น่าอายจริงๆ เดี๋ยวมีโอกาส จะเข้าไปใช้บริการ

    Reply
  • November 29, 2009 at 10:15 pm
    Permalink

    ขอแก้ข่าวนิดนึงครับ มีมุมโน้ตบุ๊ค แต่ไม่มี wifi นะครับ

    Reply
  • December 15, 2009 at 7:16 pm
    Permalink

    พี่ยามตรวจก่อนเข้าด้วยนะคะ ไม่ใช่เฉพาะตอนออก

    Reply
  • January 25, 2010 at 9:44 am
    Permalink

    สวยงามมาก

    Reply
  • September 9, 2010 at 3:25 pm
    Permalink

    เชรดดดดดดดดด …………….
    9 ปีแล้วสินะที่ไม่ได้ไปมา อะไรต่าง ๆ เปลี่ยนไปเยอะเลย สัปดาห์หน้ากำลังจะไป ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ DC. Y

    Reply
  • July 4, 2014 at 3:26 pm
    Permalink

    น่าสนใจไปหา ข้อมูลทำวิทยานิพนธ์

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *