วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน
Month: May 2009
คุณเคยไปห้องสมุดไหนบ้าง
นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดโรงเรียนแล้ว
ผมอยากรู้ว่าเพื่อนๆ ยังเคยใช้บริการห้องสมุดที่ไหนอีกบ้าง
ห้องสมุดตัวเลือกที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ เลือก ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะรู้จักเกือบหมด
ดังนั้นเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่านอกจากรู้จักแล้ว เพื่อนๆ เคยไปห้องสมุดเหล่านี้บ้างหรือปล่าว
อ๋อ ลืมบอกไปอีกนิดว่า ตัวเลือกวันนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้หลายๆ ตัวเลือกพร้อมกัน
และที่เคยไปผมขอว่าเป็นการไปแบบใช้บริการนะครับ ไม่ใช่ไปแค่ดูงาน
เอาเป็นว่าไปตอบแบบสอบถามกันเลยนะครับ
[poll id=”5″]
ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมกันตอบแบบสอบถามนี้นะครับ
รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ
ผมมีตำแหน่งงานบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ พิจารณาอีกแล้วครับท่าน
ซึ่งวันนี้เป็นงานบรรณารักษ์ ที่หอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นเองครับ
รายละเอียดของการรับสมัครงาน มีดังนี้
– รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย? จำนวน 3 อัตรา
– ตำแหน่งบรรณารักษ์ ระดับปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 9,570 บาท (ไม่มีเงินเพิ่มประสบการณ์)
สถานที่ปฏิบัติงาน : ผู้ที่ผ่านจะต้องไปทำงานที่ มธ ศูนย์รังสิต นะครับ
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาตร์
– มีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อปฏิบัติงาน
– มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสม
ระยะเวลาในการรับสมัคร ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 24 มิถุนายน 2552
หลักสูตรการสอบคัดเลือก
1. ความรู้ทั่วไป (100 คะแนน)
2. ความรู้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน)
2.1 ภาษาอังกฤษ
2.2 บรรณารักษ์
– งานเทคนิค
– งานบริการ
– การส่งเสริมการรักการอ่าน
3. ภาคพิจารณาความเหมาะสม
3.1 พิจารณาจากใบสมัคร
3.2 สัมภาษณ์
หากเพื่อนๆ ต้องการสมัครงานบรรณารักษ์ในตำแหน่งดังกล่าวนี้
กรุณาติดต่อขอรับใบสมัครและสมัครได้ที่ หอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ในวันและเวลาราชการ หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 0-2613-3507
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ -เอกสารการรับสมัคร-
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองสมัครกันดูก็แล้วกันนะครับ
ช่วงนี้งานบรรณารักษ์มีมากจัง เอาเป็นว่าผมจะถยอยๆ นำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านก็แล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ ที่ยังไม่มีงานก็ลองติดตามอ่านได้ที่นี่แล้วกันนะครับ
ผมก็เป็นกำลังใจ และยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคน
บรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าบุคคลสำคัญระดับโลกหลายๆ คนเคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน
บุคคลสำคัญระดับโลกที่เคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน เช่น Benjamin Franklin, Mao Zedong(เหมา เจ๋อตุง)
เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน
เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนกลายเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ผมจึงเริ่มวางหลักสูตรบรรณารักษ์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาเพื่อนๆ
รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์
ใครสนใจงานบรรณารักษ์หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ มาอ่านได้เลย
เพราะวันนี้เขารับสมัครพนักงานบรรณารักษ์ ทั้งแบบประจำ และแบบชั่วคราว
รายละเอียดของการรับสมัครงาน มีดังนี้
– รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย? จำนวน 2 อัตรา โดยแบ่งเป็น
1. ตำแหน่ง บรรณารักษ์(พนักงานประจำ) อัตราเงินเดือน ??? 10,788 บาท? จำนวน 1? อัตรา
2. ตำแหน่ง บรรณารักษ์(พนักงานชั่วคราว) อัตราเงินเดือน ??? 10,788 บาท? จำนวน 1? อัตรา
คุณสมบัติของผู้สมัคร
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
– สามารถทำงานล่วงเวลาและวันเสาร์-อาทิตย์ได้
– ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการศึกษา
ระยะเวลาในการรับสมัคร ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 12 มิถุนายน 2552
เพื่อนๆ อยากรู้หรือปล่าวว่าภาระหน้าที่ของงานบรรณารักษ์แต่ละตำแหน่งเป็นอย่างไร
ผมจะนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านดูนะครับ เพื่อที่จะพิจารณาได้ง่ายขึ้น
บรรณารักษ์(พนักงานประจำ) ภาระงานหลักมีดังนี้
1. บริการยืมทรัพยากรห้องสมุด
2. บริการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาในการใช้ห้องสมุด
3. บริการให้ยืมระหว่างหน่วยงานห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัย
4. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
5. บริการยืมหนังสือจอง
6. จัดทำระเบียนข้อมูลสมาชิกห้องสมุดและปรับปรุงทะเบียนสมาชิกเก่า
7. งานปฐมนิเทศสมาชิกใหม่เมื่อแรกเข้า
8. บริการผู้ใช้บริการประเภทบุคคลภายนอก
9. ดำเนินการจัดทำหนังสือหาย (lost) และหนังสือชำรุด (Damage)
10. งานบริการหนังสือ
11. บริการ Mobile Circulation
12. จัดเก็บสถิติงานบริการ
13. งานติดตามภาระหนี้สิน
14. งานส่งเสริมการใช้บริการ
15. ดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ประจำชั้น
16. เพิ่มจำนวนเล่ม (Serial Check In) วารสารภาษาภาษาไทย วารสารภาษาอังกฤษตามชื่อเรื่อง
17. สร้างและแก้ไขดรรชนีบทความภาษาไทย
บรรณารักษ์(พนักงานชั่วคราว) ภาระงานหลักมีดังนี้
1. บริการยืมทรัพยากรห้องสมุด (ปริญญานิพนธ์, หนังสือสำรอง, หนังสือ set corner, หนังสือมุมคุณธรรม และโสตทัศนวัสดุ)
2. บริการคืนทรัพยากรห้องสมุด
3. บริการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาในการใช้ห้องสมุด
4. บริการยืมระหว่างหน่วยงานห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัย (Inter-Campus Loan)
5. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
6. บริการยืมหนังสือจอง
7. บริการหนังสือสำรอง
8. จัดทำระเบียนข้อมูลสมาชิกห้องสมุดและปรับปรุงทะเบียนสมาชิกเก่า
9. งานปฐมนิเทศสมาชิกใหม่เมื่อแรกเข้า
10. บริการผู้ใช้บริการประเภทบุคคลภายนอก
11. ดำเนินการจัดทำหนังสือหาย (lost) และหนังสือชำรุด (Damage)
12. งานบริการหนังสือ
13. รายงานหนังสือ ส่งคืนประจำวัน (CKI Daily Report)
14. บริการ Mobile Circulation
15. สถิติงานบริการ
16. งานติดตามภาระหนี้สิน
17. งานส่งเสริมการใช้บริการ
18. ดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ประจำชั้น
19. การบริการหนังสือพิมพ์
20. สร้างและแก้ไขดรรชนีบทความภาษาไทย
21. ตรวจสอบความถูกต้องทางบรรณานุกรมของดรรชนีวารสาร (cataloging Complete)
สิทธิพิเศษที่จะได้รับ
– บิดา/มารดาสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้(พนักงานประจำ)
– มีเงินค่าล่วงเวลา
– มีที่พักให้ภายในมหาวิทยาลัย
หากเพื่อนๆ ต้องการสมัครงานบรรณารักษ์ในตำแหน่งดังกล่าวนี้
กรุณาติดต่อขอทราบรายละเอียด และยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น.
หรือส่งทางไปรษณีย์ ณ ชั้น 1 อาคารหอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 107 ถ.รังสิต-นครนายก อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
โทรศัพท์ 0-2649-5421-2, 037-322615
Email address : oklib@swu.ac.th
หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้กรุณาดูที่ http://oklib.swu.ac.th/
ดาวน์โหลดใบสมัครพนักงานประจำ ได้ที่นี่ -เอกสารใบสมัครงาน-
ดาวน์โหลดใบสมัครพนักงานชั่วคราว ได้ที่นี่ -เอกสารใบสมัครงาน-
อยากให้ทุกคนรู้สึกดี
ช่วงนี้ปัญหาได้ผ่านเข้ามาในชีวิตผมมากมาย
บางอย่างก็เกิดจากความคิดพลาดของผมเอง
บางอย่างก็เป็นเรื่องที่ไม่คิดว่าจะเกิด แต่มันก็เกิด
เฮ้อๆๆๆๆๆๆ (ถอนหายใจยาวๆ สักที)
วันนี้เลยขอเอาเพลงๆ นึงมาโพสให้บรรยากาศในบล็อกได้ผ่อนคลายแล้วกัน
โดยเพลงที่ผมจะนำมาเล่านั้นเป็น เพลงประกอบโฆษณา ของ DTAC ครับ
ชื่อเพลงว่า Feel good (รู้สึกดี) ? เหมาะจริงๆ เลย
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=PZoZYQOck4Y[/youtube]
ลองไปฟังเพลงนี้กันเลยที่ http://www.ijigg.com/songs/V2BBGAE4P
เนื้อเพลง Feel good
ทุกครั้งก็?ยัง?สงสัย? เมื่อทำ?อะ?ไรที่ดู?ไม่?มี?ความ?หมาย? ?โอ้ว
อยาก?จะ?ยืน? ?อยาก?จะ?นอน? ?อยาก?จะ?หลงทางบ้าง
อยาก?จะ?เชย?? ?อยาก?จะ?ลองรองเท้าคนละข้าง
อยาก?จะ?ขีด?จะ?เขียน?จะ?ผิด?จะ?เพี้ยนก็?เป็น?บางครั้ง?? ?ไม่??รู้ทำ?ไม
* ?ไม่?มี?เหตุผล? ?ไม่?มี?ความ?หมาย? ?แค่อยากทำ?อะ?ไรตามใจ? ก็?เท่า?นี้
ไม่?มี?เหตุผล? ?สบายใจ? ?ลัล? ?ลัล? ?ลา? ?ลา??.
ฮู้? ?ฮู? อยาก?จะ?ทำ?ก็ทำ?อย่า?ไปคิด?ให้?มากมาย? ?แค่นี้? ?ฉันสบายใจ
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับความหมายดีๆ ของเพลงนี้
ยิ่งได้อ่านก็รู้สึกว่า มันเข้ากับชีวิตของผมยังไงก็ไม่รู้
คงเป็นเพราะว่าอยากทำอะไรนอกกระแส และอยากเป็นตัวของตัวเอง
จึงทำให้ผมเป็น Libraryhub ที่สมบูรณ์ในวันนี้
ยังไงก็ฝากให้เนื้อเพลงให้ร้อง เพลงออนไลน์ให้ฟัง และ วีดีโอให้ชมเพลงนี้กันไปเลย
วีดีโอโฆษณาจาก http://www.youtube.com/watch?v=PZoZYQOck4Y
เพลงออนไลน์จาก http://www.ijigg.com/songs/V2BBGAE4P0
เนื้อเพลงจาก http://www.musicatm.com/view.php?No=9866
เที่ยวท่องห้องสมุดไทย
หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน
แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ
ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ
ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ
ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น
หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ
ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ
?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015
สรุปงานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ Walai AutoLIB
วันนี้ผมจะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาที่ผมเข้าร่วมวันนี้ นั่นคือ
“งานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB”
ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมเอเซีย
โดยงานสัมมนาเรื่องนี้ผมคงเข้าร่วมได้แค่วันเดียวนะครับ
แถมยังเข้าร่วมได้ไม่เต็มวันอีก แต่เอาเถอะครับ ผมจะสรุปประเด็นเท่าที่ผมได้ฟังก็แล้วกัน
ประเด็นที่ผมได้ฟัง
– ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
– แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
– สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
แค่สามประเด็นนี้ผมก็รู้สึกว่าได้รู้อะไรมากมายแล้วครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านเป็นหัวๆ แล้วกัน
—————————————————
ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
Introduction to Library automation in academic library
บรรยายโดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ซึ่งเป็น ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
– บทบาทของ UNINET ที่มีต่อวงการห้องสมุด คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุด
– ห้องสมุดอัตโนมัติ เริ่มมีบทบาทมากในปี 2530-2531
– สกอ. เกิดความคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย
เนื่องจากการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายที่สูง นอกจากนี้ค่าดูแลรักษาก็แพงเช่นกัน
– สกอ. จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โดยสกอ. ให้ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการในการพัฒนา และออกทุนสนับสนุนการพัฒนา มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ต้นแบบจาก VTLS
(2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ต้นแบบจาก Dynix และ Innopac
(3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้ต้นแบบจาก Innopac
– Walai AutoLIB พัฒนามาแล้ว 2-3 ปี ปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว 43 แห่ง
นับว่าเป็นระบบที่ใช้เวลาไม่นาน แต่คุณภาพไม่แพ้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนอื่น
– ประโยคที่ได้ใจวันนี้ “งานห้องสมุดเป็นงานที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง“
—————————————————
แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Walai Autolib development concept
บรรยายโดย รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์
– เดิมห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS
แต่ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาแพง
รวมถึงยังตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานไม่ครบถ้วน
– เริ่มการพัฒนา Walai autolib ในปี 2548
– ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ระยะเริ่มต้น
(1) ความซับซ้อนของระบบงานห้องสมุด
(2) ปัญหาด้านผู้ใช้ และการจัดการความเปลี่ยนแปลง
(3) ความน่าเชื่อถือของระบบที่พัฒนาโดยคนไทย
(4) Site reference
– มีคนกล่าวว่า “ถ้าใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ ก็จะสามารถพัฒนาระบบอื่นๆ ได้ง่าย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบห้องสมุดเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากๆ
– เรื่องของการจัดการความเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเราใช้อะไรจนชินแล้วจะให้เปลี่ยนคงต้องใช้เวลา
– คนไทยมีความสามารถในการพัฒนาระบบต่างๆ นะ น่าเชื่อถือด้วย แต่ขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่า
-ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(2) UNINET
(3) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(4) คณะทำงานโครงการ Walai Autolib
– เป้าหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ยึดหลักดังนี้
(1) สร้างระบบบริหารจัดการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
(2) สร้างมาตรฐานของงานห้องสมุด Marc21, Z39.5, ISO2709
(3) ประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ
– ระยะของการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
(ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับแนวคิดห้องสมุด 2.0)
– Library2.0 คือ แนวความคิดในการจัดการห้องสมุดยุคใหม่
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
– แผนงานในอนาคตของ Walai autolib เพื่อให้เป็น Library2.0
(1) Content Management System
(2) Dynamic Search System
(3) User Space
(4) Library Web Portal
(5) Helpdesk Online
– ก่อนจบ session นี้ ผมชอบประโยคนึงของการบรรยายครั้งนี้ นั่นคือ
“Libraries Changing the world” ห้องสมุดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
—————————————————
สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Demo Walai Autolib
บรรยายโดย อาจารย์ยุทธนา เจริญรื่น
เริ่มจากการสาธิตการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib เบื้องต้น ทั้ง 6 โมดูล ดังนี้
1) ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
2) ระบบการทำรายการ (Cataloging module)
3) ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
4) ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
5) ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
6) ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)
—————————————————
ประเด็นที่ผมสรุปมาอาจจะขาดไปในบางช่วงบางตอน
แต่เอาเป็นว่าถ้ามีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในบล็อกนี้อีกก็แล้วกัน
สำหรับคนที่พลาดงานนี้
ผมเชื่อว่าการแนะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อาจจะมีจัดอีก
ยังไงถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการจัดงานแบบนี้อีก ผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ รู้ทันที
รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร
รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)
เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง
L-I-B-R-A-R-Y =?
L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน
จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า
Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้
Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ
You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง
ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด
เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ