เรียนอย่างไรให้…(เก่ง…ดี) มีความสุข

วันนี้ผมมีข่าวกิจกรรมมาประชาสัมพันธ์ครับ
เป็นงานเสวนาวันเสาร์ หัวข้อเรื่อง “เรียนอย่างไรให้…(เก่ง…ดี) มีความสุข”

seminar-news

งานนี้จัดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 14.00-16.30 น.
จัดโดย สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ประเด็นที่น่าสนใจของการเสวนาในครั้งนี้ คือ
– เทคนิคการเรียน / การเตรียมตัวก่อนสอบ
– เคล็ด (ไม่) ลับการบริหารเวลาระหว่างเรียน ? กิจกรรม

ผู้ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ คือ
– นักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม AFS จากประเทศเยอรมนี
– นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1

เอาเป็นว่างานนี้ผมถือว่าน่าสนใจมากนะครับ
ผมว่าเหมาะสำหรับนักเรียนในช่วง ม.ปลายมากๆ ครับ
เพราะว่าอย่างน้อยเรื่องการเรียนแบบไม่เครียดผมเห็นว่ามันสำคัญมากๆ

นักเรียนหลายๆ คนอาจจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการบริหารเวลาของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำกิจกรรม การใช้ชีวิต ฯลฯ
หลายๆ สิ่งทำให้ผมแน่ใจว่า ถ้าเด็กไทยรู้จักและเข้าใจเรื่องการบริหารเวลา
ผมเชื่อครับว่า เด็กไทยจะโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพได้มากเลยทีเดียว

หากเพื่อนๆ สนใจเกี่ยวกับงานเสวนาครั้งนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์สอบถามที่ 0-2201-7270 (คุณพรทิพย์) หรือ 0-2201-7254 (คุณจอย)
หรือสำรองที่นั่งได้ที่โทรสารหมายเลข 0-2201-7265
Website : siweb.dss.go.th

ก่อนจากกันวันนี้ผมขอฝากคำพูดสักประโยคนึงให้เพื่อนๆ แล้วกัน
“คนเราไม่ว่าจะรวย จะจน แต่ทุกคนก็มีสิ่งหนึ่งที่เท่ากัน นั่นคือ เวลา
ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้”

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”

คุณอ่านบล็อกผมกันบ้างหรือปล่าว

หลังจากเปิดบล็อกใหม่ (Libraryhub.in.th) มาเกือบ 15 วันแล้ว
วันนี้ผมมีเรื่องจะมาถามเพื่อนๆ อีกแล้วหล่ะครับ

read-projectlib

เพราะว่าผมไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ ได้อ่านเรื่องในบล็อกใหม่ผมบ้างหรือปล่าว
(แต่ละเรื่องไม่ค่อยมีคอมเม้นต์เลย จึงทำให้ไม่แน่ใจว่าอ่านกันบ้างหรือปล่าว)

วันนี้ผมเลยขอตั้งแบบสำรวจอย่างง่ายๆ ว่า
“คุณอ่านเรื่องใน Libraryhub กันหรือปล่าว”

[poll id=”4″]

ถึงแม้ว่าเพื่อนๆ จะไม่คอมเม้นต์ให้ แต่ขอให้เลือกคำตอบแบบสอบถามกันบ้างนะครับ
อย่างน้อยผมจะได้รู้ว่าเพื่อนๆ ยังอ่านบล็อกผมกันอยู่
อิอิ

ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

วันนี้เป็นวันเปิดการทดลองใช้งานวันแรกของสถานีรถไฟฟ้าในฝั่งธนทั้งสองสถานี
นั่นก็คือ สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี และสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

bts012

เมื่อเช้าผมได้มีโอกาสใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
ก็เลยขอเอามาเล่าให้อ่านผ่านบล็อกส่วนตัวของผมแล้วกัน

bts015

สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ ชื่อก็บอกว่า “วงเวียนใหญ่”
แต่จริงๆ แล้วสถานีไม่ได้ตั้งอยู่ที่วงเวียนใหญ่เหมือนที่คิดไว้หรอกนะครับ
แถมถ้าจะให้เดินจากวงเวียนใหญ่มาก็คงไม่สามารถเช่นกัน
เพราะว่าจาก “วงเวียนใหญ่” กับ “สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่” มันห่างกันพอควรเลยครับ
เห็นหลายๆ คนบอกว่าห่างกันถึง 1 กิโลเมตรเลยด้วยซ้ำครับ

สถานีแห่งนี้จริงๆ แล้วสิ่งอำนวยความสะดวกภายในก็มีเหมือนกับทุกสถานีรถไฟฟ้านั่นแหละ เช่น
– ลิฟต์สำหรับผู้พิการ (แต่คนปกติก็ชอบแอบใช้บริการ)
– บันไดเลื่อน (ที่เลื่อนขึ้นเท่านั้นไม่เลื่อนลง)
– จุดจอดรถ shuttle bus

ส่วนด้านในสถานีก็เหมือนเดิมแหละครับ เช่น
– ตู้จำหน่ายบัตร
– เคาน์เตอร์แลกเหรียญ / ซื้อบัตรโดยสาร
– ประตูทางเข้าออก

อ๋อ ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการทดลองการใช้งาน จึงให้บริการฟรี 3 สถานี
ตรงนี้อ่านดีๆ นะครับ เพราะหลายคนเข้าใจผิดว่าขึ้นรถไฟฟ้าฟรีทุกเส้นทาง
ผู้ที่จะเดินทางแค่ 3 สถานีนี้ไม่ต้องเสียเงินครับ
นั่นคือ สถานีสะพานตากสิน สถานีธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ เท่านั้น

หากเพื่อนๆ ต้องการไปลงที่อื่นที่เกินจากสถานีสะพานตากสิน
เพื่อนๆ ก็ต้องเสียค่าบริการเหลือเดิมนะครับ เช่น จากสะพานตากสินไปสยาม ราคา 30 บาท
หากขึ้นที่สถานีวงเวียนใหญ่แล้วไปสยามก็จะคิด 30 บาทเหมือนกันครับ

เรื่องค่าบริการกรุณาศึกษาดีๆ ก็แล้วกันนะ
สถานีทดลองใช้ฟรีตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม 2552 นะครับ

เอาเป็นว่ามาดูรูปบนสถานีรถไฟฟ้ากันหน่อยดีกว่า
วันนี้วันแรกอยากจะบอกว่าคนแน่นชานชาลามากๆ เลยครับ ไม่เชื่อลองดูรูปนี้

people-bts

ส่วนรูปต่อไปเป็นรูปเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ทำให้คนนึกถึงรถไฟฟ้าครับ
นั่นคือ เส้นสีเหลือง เพราะถ้าคุณเหยียบคุณจะได้ยินเสียงนกหวีด แน่นอนครับ

yellowline-bts

ภาพชุดต่อมาเป็นโครงสร้างทั่วไปของสถานีรถไฟฟ้านะครับ

station-bts

เป็นยังไงบ้างครับกับการเยี่ยมชม และใช้บริการครั้งแรกของผม
หวังว่าเพื่อนๆ จะมีโอกาสได้ลองใช้บริการดูบ้างนะครับ

SCG Experience Library รับสมัครนักศึกษาทำงาน/ฝึกงาน

มีข่าวมาประชาสัมพันธ์ให้น้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ได้รับทราบ
เนื่องจากขณะนี้ SCG Experience Library
ต้องการรับสมัครนักศึกษาทำงาน Part Time จำนวน 3 ตำแหน่ง

scg

หากน้องๆ สนใจ กรุณาคุณสมบัติก่อนนะครับ ซึ่งมีดังนี้
– มีบุคลิกดี มุ่งมั่นในงานบริการ กระตือลือร้น กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์
– เพศ ชาย/หญิง
– นักศึกษาชั้นปีที่ 3 -4 ระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
(หากศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียรู้/ฝึกงานมากขึ้น)
– รักงานบริการ และชอบร่วมทำงานกับผู้อื่น
– มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
– Microsoft Oficce เช่น Excel, Word, Power Point และ อื่นๆ

รายละเอียดของงาน มีดังนี้
– ช่วยงานเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ศูนย์ SCG Experience
– เวลางาน สามารถเข้ามาทำงานตั้งแต่ เวลา 09.30 ? 20.30 (ทั้ง 3 คนต้องสลับกะเข้างาน) เรื่องเวลางานสามารถตกลงกันได้
– ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือและนิตยสาร (จัดเก็บเข้าชั้น , ซ่อมแซมหนังสือและนิตยสาร)
– ช่วยงานด้านการบริการต่างๆที่มีในห้องสมุด

สถานที่ในการทำงาน
บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด
เลขที่ 1444 ซอยลาดพร้าว 87 (จันทราสุข)
แขวง คลองจั่น เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
(ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เยื้อง The Crystal Park)

ที่สำคัญของการทำงานครั้งนี้ น้องๆ จะได้รับความรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน
นอกจากนี้ยังได้ค่าตอบแทนในการทำงาน โดยคิดเป็นรายชั่วโมงด้วยนะครับ

หากน้องๆ คนไหนสนใจ และอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อกลับมาที่ พี่กุ๊กกิ๊ก โทรศัพท์ 02-1019900 ต่อ 2004

ปล. ขอขอบคุณทาง SCG ที่ส่งข่าวมาให้ประกาศนะครับ
และหากหน่วยงานไหนต้องการประชาสัมพันธ์เรื่องงาน ท่านสามารถส่งข่าวมาให้ผมได้นะครับ

ฟรี ฟรี ฟรี มีที่ห้องสมุด

เพื่อนๆ ชอบของฟรีกันหรือเปล่าครับ

ถ้าเพื่อนๆ ชอบของฟรี ผมขอแนะนำของฟรีๆ แบบนี้
– ซีดี และ ดีวีดี ฟรี!!!!!
– ดูหนัง ฟรี!!!!!
– ฟังเพลง ฟรี!!!!!
– อินเทอร์เน็ต ฟรี!!!!!
– อ่านเรื่องใหม่ๆ ฟรี!!!!!

ของฟรี!!!!! แบบนี้มีที่ห้องสมุดจริงๆ นะ

ไม่เชื่อไปดูการ์ตูนสิครับ

nancy

เป็นไงหล่ะของฟรีมีที่ห้องสมุดจริงๆ ด้วย

เอาหล่ะทีนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า
“สิ่งที่การ์ตูนนำเสนอนี้ หากนำมาเทียบกับห้องสมุดเมืองไทยจะฟรีจริงหรือเปล่า”

เริ่มจาก Free CDs & DVD
เขาบอกว่าซีดีและดีวีดีฟรี จริงๆ แล้วมันก็ฟรีจริงๆ หล่ะครับ
เพียงแต่มีระยะเวลากำหนด นั่นคือการยืมคืนสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง
จริงๆ แล้วบางที่อาจจะให้ยืม แต่บางที่ก็ให้ใช้แค่ภายในห้องสมุดเท่านั้น
แต่สรุปว่ายังไงก็ถือว่า ฟรี แล้วกัน ไม่เชื่อดูรูปนี้เลย

cd-free

ต่อมา Watch free movies & Listen to free music
ดูหนังฟรี และเพลงฟรีในห้องสมุดจะมีมุมมัลติมีเดีย
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกภาพยนตร์และเพลงที่ถูกใจ แล้วนำมาดูและฟังได้ที่จุดบริการนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าให้บริการดูหนังแบบฟรีๆ และฟังเพลงแบบฟรีๆ แล้วนะครับ

ต่อมา Get free internet
ประเด็นนี้อาจจะเป็นที่ถกเถียงของเพื่อนๆ ว่า อาจจะไม่ฟรีอย่างที่คิด
ห้องสมุดบางที่อาจจะนำแผนธุรกิจเข้ามาใช้ (Internet cafe)
บางที่ก็ให้ใช้ฟรีแต่ต้องลงทะเบียน ประเด็นผมจึงขอบอกได้แค่ว่า “ฟรีเป็นบางที่”

wifi-free

ประเด็นสุดท้าย Read the latest graphic novels free
เรื่องการอ่านหนังสือในห้องสมุด ถ้าต้องเสียเงินอันนี้ก็คงแปลกมากนะครับ
เพราะห้องสมุดเกือบทั้งหมดให้อ่านหนังสือได้ฟรีแน่นอนอยู่แล้ว
ดังนั้นฟันธงไปเลยว่า “ฟรีจริงๆ”

สำหรับเงื่อนไขของห้องสมุดที่ให้บริการแบบฟรีๆ เช่น
– ต้องเป็นสมาชิกของห้องสมุดก่อนถึงจะใช้บริการเหล่านี้ได้ (ค่าสมาชิกอาจจะไม่ฟรี)
– บางห้องสมุดให้ยืมซีดี ดีวีดี หรือหนังสือได้ แต่ต้องวางเงินมัดจำ (อันนี้เข้าข่ายว่าฟรีหรือปล่าว)
– บางครั้งจะใช้ของฟรีอาจจะต้องรอ เพราะว่าต้องมีการจองคิว

ก่อนจากกันวันนี้ขอเชิญชวนว่า “วันนี้คุณใช้บริการฟรีๆ ในห้องสมุดแล้วหรือยัง”

ภาพการ์ตูนจาก http://comics.com/nancy/2009-04-19/

งานวิจัยเรื่องนโยบายการอ่านหนังสือของประเทศไทย

วันนี้ผมมีเรื่องจะมารบกวนเพื่อนๆ อีกแล้วครับ (มีคนฝากแบบสอบถามมาอ่ะ)
จริงๆ แล้วก็ไม่เกี่ยวกับผมโดยตรงหรอกครับ แต่ถือว่าช่วยๆ กันก็แล้วกันนะ

reading-in-thai

Read more

รับสมัครอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาฯ

LibraryHub ช่วยหางานวันนี้ผมขอแนะนำ
ตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

chula

ลองอ่านรายละเอียดตามไฟล์ด้านล่างนี้นะครับ
ไฟล์รับสมัครอาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

ผู้สนใจตำแหน่งนี้กรุณาติดต่อที่
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันและเวลาการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง 29 พฤษภาคม 2552
เวลา 8.30 – 15.00 น.

การสอบคัดเลือก ประกอบด้วย
– สอบวิชาเฉพาะ
– สอบสอน
– สอบความสามารถในการใช้ภาษาไทย
– สอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดกันดูนะครับ
ยังมีเวลาพอที่จะได้เตรียมตัวอยู่บ้าง ยังไงก็สู้ๆ นะครับ

อยากรู้มั้ยว่าผม คือ ใคร

วันนี้ผมขอมาแนะนำตัวเองนะครับ
เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้จักกับผมมากกว่าที่เป็นอยู่

my-portfolio

ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ : เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์
ชื่อเล่น : วาย
วันเดือนปีเกิด : 29 กันยายน 2525
บ้านเกิด : กรุงเทพฯ

ข้อมูลการติดต่อ
ที่อยู่ : 55/37 หมู่ 1 ซ.เพชรเกษม 94 ถ.เพชรเกษม บางแคเหนือ บางแค กทม 10160
เบอร์โทรศัพท์บ้าน : (ไม่บอกได้มั้ย)
เบอร์โทรมือถือ : 0850564062
อีเมล์ : dcy_4430323@hotmail.com หรือ libraryhub@hotmail.com

ข้อมูลการศึกษา
อนุบาล : อนุบาลเด่นหล้า
ระถมศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
มัธยมศึกษาต้น : โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
มัธยมศึกษาปลาย : โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี สายศิลป์-คำนวณ
ปริญญาตรี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกบรรณฯ
ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูลการทำงาน

ฝึกงาน 1
สถานที่ : ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น (Library, Japan Foundation)
ตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ระยะเวลาในการฝึกงาน : 2 เดือน

ฝึกงาน 2
สถานที่ : โครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center) 2 เดือน
ตำแหน่ง : นักพัฒนา web content, ผู้ประสานงานโครงการ
ระยะเวลาในการฝึกงาน : 2 เดือน

ทำงาน 1
สถานที่ : โครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center) 2 เดือน
ตำแหน่ง : นักพัฒนา web content, ผู้ประสานงานโครงการ
ระยะเวลาในการฝึกงาน : 2 เดือน

ทำงาน 2
สถานที่ : บริษัท แกรนด์มีเดียเน็ตเวิร์ค จำกัด (ในเครือฐานเศรษฐกิจ)
ตำแหน่ง : Graphic Designer
ระยะเวลาในการทำงาน : 1 ปี 3 เดือน

ทำงาน 3
สถานที่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ตำแหน่ง : บรรณารักษ์ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระยะเวลาในการทำงาน : 1 ปี 3 เดือน

ทำงาน 4
สถานที่ : บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด (www.sanook.com)
ตำแหน่ง : Search specialist
ระยะเวลาในการทำงาน : 1 ปี 3 เดือน

ที่ทำงานปัจจุบัน
สถานที่ : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD)
ตำแหน่ง : นักพัฒนาระบบห้องสมุด

ผลงานการบรรยาย
– ผู้ร่วมเสวนาเรื่อง “3S กับการจัดการความรู้ของวศ.? จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ วันที่ 7 กรกฎาคม 2551
– ผู้ร่วมเสวนาเรื่อง “การสร้าง การค้น การอ่าน การแลกเปลี่ยน” จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ และห้องสมุดมารวย วันที่ 29 สิงหาคม 2551
– ผู้ร่วมบรรยายเรื่อง “มาใช้เวลาว่างเขียน Blog เพิ่มรายได้กันเถอะ” จัดโดย www.dekads.com วันที่ 8 มกราคม 2552
– ผู้บรรยายเรื่อง “ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด” ในงาน THINKCamp#1 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
– ผู้บรรยายเรื่อง “Projectlib กับการจัดการ Community” ในงาน LibCamp#1 วันที่ 30 เมษายน 2552

การจัดการชุมชนบรรณารักษ์
– บล็อก 1 : http://projectlib.wordpress.com
– บล็อก 2 : http://www.projectlib.in.th
– บล็อก 3 : http://www.libraryhub.in.th
– Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand
– MSN ตอบคำถาม : dcy_4430323@hotmail.com
– Skype ตอบคำถาม : Projectlib
– Flickr รูปห้องสมุด : http://www.flickr.com/photos/38091988@N04/

ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้จักผม เพื่อนๆ ก็สามารถแอด MSN มาคุยกับผมได้นะครับ
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นข้อมูลแบบคร่าวๆ ของผม สำหรับวันนี้ก็ไปหล่ะ อิอิ

แนะนำหนังสือที่บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรอ่าน

หนังสือทั้ง 3 เล่มที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้
ผมได้อ่านไปแล้วบางส่วน แต่ยังอ่านไม่ครบหรอกนะครับ
แต่รู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้างดีสำหรับบรรณารักษ์รุ่นใหม่ๆ อย่างพวกเรา

book-suggest

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปหากันดูนะครับ

Read more