วันเปิดทำการหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี ถือว่า เป็นวันฉัตรมงคล
แต่หากเราย้อนกลับไปวันที่ 5 พฤษภาคม 2509
เราจะพบว่ามีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์นึง นั่นคือ
การเปิดทำการ ของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นั่นเอง

nlt-begin

ในขณะนั้นหอสมุดแห่งชาติเป็นเพียงอาคารทรงไทย 5 ชั้น ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 17 ไร่
แต่ตอนมาได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติมจนกลายเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

Read more

LibCamp#1 : Digital Library for Thailand

ผู้ที่ออกมาพูดคนสุดท้ายของงาน LibCamp#1
คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ ตัวแทนจาก Change Fusion
ซึ่งมาพูดเกี่ยวกับโครงการ Digital Library for Thailand

Presentation เรื่อง Digital Library for Thailand

Read more

LibCamp#1 : Creative Common Story

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่หกของงาน LibCamp#1
คือ คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ผู้ประสานงานเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย
ซึ่งมาเล่าเกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ในประเทศไทย

สไลด์นำเสนอเรื่อง Creative Common ดูต่อได้ที่
http://docs.google.com/Present?docid=dd7qsnpx_43pdcdpqdz&skipauth=true

เรื่องของ Creative Common เกิดจากโลกที่มีอยู่ 2 ขั้ว นั่นคือ
โลกแห่งการสงวนสิทธิ์ และ โลกแห่งการสละสิทธิ์

Read more

LibCamp#1 : Thai OCR Technology Topic

หลังจากพักทานอาหารว่างกันแล้วงาน LibCamp#1 ก็ดำเนินต่อไป

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่ห้าของงาน LibCamp#1
คือ คุณวศิน สินธุภิญโญ จาก สวทช.
ซึ่งมาเล่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีไทยโอซีอาร์ (Thai OCR Technology)

thai-ocr

OCR ย่อมาจาก Optical character recognition
การทำงานของ OCR คือ นำไฟล์เอกสารที่อยู่ในรูปแบบของภาพ
นำมาผ่านโปรแกรมเพื่อถอดข้อความที่เป็นตัวอักษรออกมา

Read more

LibCamp#1 : Story from ATIZ (Book Scan Product)

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่สี่ของงาน LibCamp#1
คือ คุณสารสิน บุพพานนท์ จากบริษัท เอทิซ อินโนเวชั่น จำกัด
ซึ่งมาเล่าเกี่ยวกับที่มาของบริษัท และอุปกรณ์ที่ใช้สแกนหนังสือระดับโลก

atiz


การบรรยายเริ่มต้นจากการให้ชมวีดีโอแนะนำเครื่องสแกนหนังสือจากบริษัทต่างๆ ก่อน
ตามด้วยการกล่าวถึงข้อจำกัดของเครื่องสแกนหนังสือแบบต่างๆ

Read more

LibCamp#1 : Share idea from Openbase.in.th

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่สามของงาน LibCamp#1
คือ คุณวินย์ เมฆไตรภพ ซึ่งเป็นตัวแทนจากเครือข่ายจิตอาสา
ซึ่งมาพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้จากการทำ Openbase.in.th

openbase

Openbase.in.th คือ คลังข้อมูล ที่รวมเอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวกับประเทศไทย
หรือเราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นฐานข้อมูลแบบเปิดของประเทศไทยก็ได้

Read more

LibCamp#1 : STKS Digital Library

ผู้ที่ออกมาพูดคนที่สองของงาน LibCamp#1
คือ คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก สวทช. นั่นเอง
ซึ่งหัวข้อที่นำมาพูด คือ การสร้างห้องสมุดดิจิทัล โดย STKS

Presentation ของ STKS

Read more

LibCamp#1 : How to Projectlib Community

ผู้ที่ออกมาพูดคนแรกของงาน LibCamp#1
คือ คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) เจ้าของบล็อก Projectlib
ซึ่งได้พูดเรื่อง แนะนำ projectlib และการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์

Presentation ของ Projectlib

Read more

ทำความรู้จักกับงาน LibCamp#1

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว LibraryHub

เมื่อวานนี้ผมก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Libcamp (30 เมษายน 2552)
โดยประเด็นหลักของงาน Libcamp ในครั้งนี้
ได้เน้นประเด็นเรื่อง ?Book Digitization?
หรือแปลเป็นไทยว่า ?การสแกนหนังสือให้เป็นฟอร์แมตดิจิทัล?

logo-libcamp

งาน LibCamp ครั้งที่ 1 นี้ ดูเหมือนว่าคนจะเข้าร่วมมากกว่าที่คาดไว้นิดนึง
ตอนแรกผมเองก็คิดแค่ว่าอาจจะมีคนมาร่วมงานน้อยกว่านี้
เนื่องจากเป็นวันทำงานของหลายๆ คน แต่สำหรับผมงานครั้งแรกจัดได้ก็ถือว่าโอเคแล้วครับ

Read more

ผมเริ่มเขียนบล็อกห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่

จำกันได้มั้ย…
KM_library (Gotoknow) – 2549
Thailibnetwork (Blogspot) – 2550
Projectlib (wordpress.com) – 2550
Projectlib.in.th – 2551
และบัดนี้ LibraryHub.in.th – 2552

my-first-blog

เรื่องที่ผมเขียนผ่านมา หากนำบทความต่างๆ มารวมกัน
ตอนนี้ผมคงเขียนเรื่องได้สัก 700 กว่าเรื่องแล้วมั้ง
ผมว่าเรื่องที่ผมเขียน มันยังคงน้อยกว่าเรื่องห้องสมุดที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหล่ะมั้ง

เท่าที่ได้อ่านข่าวบรรณารักษ์ และห้องสมุด
ทุกวันผมได้อ่านประมาณอย่างน้อย 10 กว่าเรื่อง
หากคำนวณเป็นรายปี คงจะได้ปีละ 3650 เรื่องละมั้ง

เรื่องห้องสมุดทั่วโลก 1 ปี / เรื่องที่ผมเขียน 3 ปี
3650 / 700

เรื่องจำนวนของการเขียนอย่าไปใส่ใจเลยดีกว่าครับ
ตอนนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า บล็อกห้องสมุดที่ผมได้เขียนในแต่ละที่มีที่มาอย่างไร

เริ่มจากในปี 2549 หลังจากผมทำงานได้สักระยะนึง
ช่วงนั้น การจัดการองค์ความรู้กำลังเป็นที่นิยม และหนึ่งในนั้นคือ Gotoknow
หลังจากที่ได้เข้าไปอ่านความรู้ใน?Gotoknow บ่อยๆ ผมก็เริ่มอยากเขียนบ้าง

gotoknow

จึงลองสมัครดู โดยตอนนั้นผมได้ใช้ user = Km_library
เพราะต้องการให้อ่านแล้วสื่อถึงการจัดการความรู้ในห้องสมุด

แต่พอเขียนไปสักระยะอาการเขียนไม่ออกก็เริ่มเกิดขึ้น
“เรื่องห้องสมุดจะให้เขียนทุกวันได้ยังไง ไม่เห็นมีอะไรให้เขียนเลย” ผมคิด
ดังนั้นอาการดองบล็อกก็เกิดขึ้น จนหยุดเขียนในที่สุด

ต่อมาในช่วงปิดเทอมใหญ่ของนักศึกษาปี 2550
ช่วงที่ได้พักอยู่บ้านทำให้ผมเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่าย วันๆ ไม่มีอะไรจะทำ
ก็เลยหาของเล่นจากอินเทอร์เน็ตแก้เซ็ง จนไปเจอ Blogspot

blogger

ทำให้ความรู้สึกว่าอยากเขียนบล็อกเริ่มกลับมาอีกครั้ง
โดยในช่วงแรกที่เขียน Blogspot ก็อาศัยบทความจากเพื่อนๆ ใน Gotoknow
นำมาวิเคราะห์ในภาษาของเราเอง แล้วจึงนำมาเขียนนั่นเอง

ใน?Blogspot ความคาดหวังของผมคือ
การตั้งกลุ่มชมรมบรรณารักษ์เขียนบล็อกในประเทศไทย
จากการสืบค้นทำให้รู้จักรุ่นพี่คนนึง นั่นก็คือ พี่โต (iteau)
ซึ่งเป็นคนที่เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดได้เก่งมาก
จึงเริ่มขอคำปรึกษา และได้พูดคุยกันจนทำให้ผมอยากเขียนบล็อกห้องสมุด

ต่อมาจากข้อจำกัดของ?Blogspot ที่มีลูกเล่นที่ค่อนข้างใช้ยาก
ทำให้ผมต้องหาทางออกด้วยการเปลี่ยนเครื่องมือในการเขียน
และตอนนั้นที่เห็นบล็อกของพี่โต (iteau)
ทำให้สงสัยว่า wordpress คืออะไร และได้คำแนะนำจากพี่โต จนผมเรื่องสมัคร wordpress

wordpress

ณ ตอนนั้นที่ทำงานของผมมอบหมายให้ผมเขียนโครงงานห้องสมุดมากมายๆ
ผมจึงตั้งใจว่าจะนำโครงการเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยใช้ชื่อว่า projectlib
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ปัญหากัน

และเพื่อให้มีแรงกระตุ้นในการเขียน
ผมจึงให้สัญญากับทุกคนว่า จะเขียนเรื่องให้ได้วันละ 1 เรื่อง
(My Library in 365 days)

projectlibwordpress

ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เขียนทุกวันหรอกครับ
บางวันเก็หยุดเขียน บางวันก็เขียนเกิน

ผลสรุป 1 ปี บทความ 400 กว่าเรื่อง
ก็เป็นคำตอบว่าผมสามารถทำได้เกินเป้าหมายอีก

ในขณะนั้นเองความต้องการขยาย projectlib ก็เกิดขึ้น
จึงสมัคร Domain และ Host ของตัวเอง
ซึ่งต่อมาก็ได้โดเมนว่า http://www.projectlib.in.th นั่นเอง

projectlibinthai

การเขียนบล็อกก็ยังคงราบรื่นไป จนกระทั่ง มีนาคม 2552
การทำ Index ของ Google มีลักษณะที่แปลกๆ
ทำให้ผมเจอปัญหาคือ google ไม่อัพเดทบล็อกให้ projectlib
นอกจากนั้นยังลดค่า Pagerank จนเหลือ 0 อีก

อัตราการเข้าชมจากเดือนปกติ 19,000 คน
อัตราการเข้าชมของเดือนเมษายนที่ผ่านมา 1,900 คน
จำนวนลดลงจนน่าใจหายอย่างมาก

การตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ Projectlib เข้ามาอยู่ในสมองของผม
เพื่อให้ชื่อของบล็อกมีแนวทางที่กว้างกว่า Projectlib

ผมจึงตัดสินใจใช้ชื่อ LibraryHub โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
– จัดเก็บเรื่องราวที่ผมเคยเขียนมาให้เป็นสัดส่วนมากกว่านี้
– หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดในลักษณะเดียวกับ Projectlib
– เป็นพื้นที่สำหรับห้องสมุด และบรรณารักษ์อย่างแท้จริง

ซึ่ง?LibraryHub จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2552 (งาน Barcampbangkok3)
โดยในระหว่างนี้ผมก็ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้สักระยะแล้วครับ
เพียงแต่ก็จะเขียนเรื่องสะสมไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมครับ

นี่ก็เป็นเพียงที่มาของ LibraryHub ที่ผมเขียนอยู่ในตอนนี้