งานสัปดาห์หนังสือกลางปี 2552 ที่ไม่ควรพลาด

งานสัปดาห์หนังสือที่ยิ่งใหญ่กลางปีกำลังจะมาแล้ว
นั่นคือ งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7

book-fair

ข้อมูลทั่วไป
ชื่องานภาษาไทย : งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Book Festival for Young People 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 8 – 12 กรกฎาคม 2552
สถานที่ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งานนี้เป็นงานสัปดาห์หนังสือที่ผมแนะนำอีกงานหนึ่ง
ถึงแม้ว่าชื่องานจะเน้นไปในทางของหนังสือเด็ก
แต่ผมอยากจะบอกว่ารายละเอียดของกิจกรรม และนิทรรศการต่างๆ ที่จัด ไม่ได้เด็กอย่างที่คิดเลย

หนึ่งในโครงการที่ผมให้ความสนใจ คือ โครงการประกวดเล่าเรื่อง ?หนังสือคือแรงบันดาลใจ?
นี่แค่ชื่อโครงการ ก็ทำให้ผมขนลุกได้แล้วนะครับ
ผมเชื่อว่าหลายๆ คนมีหนังสือในดวงใจอยู่แล้ว และหนังสือเล่มนั้นเองอาจจะเป็นแรงใจของคนหลายๆ คน
กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในโครงการการรักการอ่านที่น่าจัดมากมาย
(หลายๆ องค์กรสามารถนำไปใช้ก็ได้นะครับ)

เรื่องราวของโครงการประกวดเล่าเรื่อง ?หนังสือคือแรงบันดาลใจ?
เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.thailandbookfair.com/bookfestival2009/images/project/project_bookfestival_2009.pdf

ภายในงานนี้ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ 3 โซนใหญ่ด้วยกัน คือ
– บริเวณโซนซี 1 ?กำเนิดจักรวาลความรู้?
– โซนเอเทรียม ?จากโลกล้านปีถึงอนาคต?
– โซนพลาซ่า ?หนังสือ : ประตูสู่จักรวาล?

ตัวอย่างกิจกรรมการสัมมนาที่จัดขึ้นในงานนี้
– ?เคล็ด (ไม่) ลับ ทำสื่อให้โดนใจเด็ก?
– เปิดตัวหนังสือ ชุด อีสปคำกลอน
– การใช้สื่อช่วยสอนในการสร้างคลังศัพท์ภาษาอังกฤษ
– Read Rally พลิกโฉมบันทึกรักการอ่าน
– ?ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2?
– ?เพาะพันธุ์นักอ่าน ขยายพันธุ์นักเขียน? ครั้งที่ 3
– การใช้นิทานเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
– KM ภูมิปัญญาสร้างสรรค์การจัดทำนวัตกรรมการศึกษา และการพัฒนาผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู
– ?สร้างโลกความรู้ด้วยความสนุก? กับ สำนักพิมพ์ E.Q.Plus สัมมนาเชิงปฏิบัติการ
– ?เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้กับเด็กวัยประถม?
– ?7 อุปนิสัยเด็กดีมีความสุขสร้างทัศนคติในมุมบวกเพื่อพัฒนาการเป็นผู้นำ?
– สู่โลกจินตนาการและความสุข กับ Thomas & Friends

เป็นยังไงกันบ้างครับกิจกรรมต่างๆ และโครงการการรักการอ่านแบบนี้
พอจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆ นำไปจัดกิจกรมในหน่วยงานของท่านได้หรือปล่าวครับ

สุดท้ายนี้ก็เชิญชวนให้ลองไปงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้กันนะครับ
แล้วผมจะเก็บบรรยากาศมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที ว่างานนี้มีอะไรที่น่าสนใจแค่ไหน

สำหรับเว็บไซต์ของงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7 – http://www.thailandbookfair.com/bookfestival2009/

นิด้า รับบรรณารักษ์ ป.โท 2 อัตรา

ช่วงนี้หลายองค์กรมีการรับสมัครบรรณารักษ์มากขึ้น
ดังนั้น Libraryhub จำเป็นต้องนำเสนอบ่อยขึ้น เพื่อนๆ ก็อย่าเพิ่งเบื่อแล้วกัน

nida-library

เรามาดูรายละเอียดเบื้องต้นของตำแหน่งงานนี้กันก่อนนะครับ

ข้อมูลทั่วไป
ตำแหน่งที่เปิดรับ : บรรณารักษ์
จำนวน : 2 อัตรา
วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท สาขาบรรณารักษ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อัตราเงินเดือน : 13,580 บาท

กำหนดการในการรับสมัครงานบรรณารักษ์ NIDA
เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 – 23 กรกฎาคม 2552 นะครับ
(ยังมีเวลาให้คิดอีกสักอาทิตย์นึง และยังพอเตรียมตัวทันสอบ)

เกณฑ์ในการสอบแข่งขันของที่นี่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ความรู้ทั่วไป (100 คะแนน)
2. ความรู้เฉพาะด้าน (แบ่งออกเป็นสอบข้อเขียน และสอบปฏิบัติ) (200 คะแนน)
3. สอบสัมภาษณ์ (100 คะแนน)

เห็นเกณฑ์การสอบแล้วก็ตกใจที่มีเกณฑ์ในการสอบปฏิบัติ
พอไปดูรายละเอียดการสอบปฏิบัติ?ผมก็ตกใจที่เห็นว่าเป็นการสอบคอมพิวเตอร์ (ในเรื่องทักษะการสืบค้น)
อิอิ แบบนี้นักท่องอินเทอร์เน็ตอาจจะได้เปรียบซะแล้ว อิอิ

หากสนใจก็ไปซื้อใบสมัครและก็ยื่นด้วยตนเองที่
กองบริหารทรัพยากรบุคคล ชั้น 3 อาคารจอดรถ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
โทรถามได้ที่ 0 2727 3401 ในเวลาราชการเท่านั้นนะครับ

วันนี้ผมก็ขอแนะนำไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
หากเพื่อนๆ อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://202.44.72.18/personel/home/images/notification/24-06-52.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีทุกคนครับ

ห้องสมุดสีเขียว(Green Library) คือ…

แนวโน้มของการพัฒนาห้องสมุดนอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว
จริงๆ ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ศัพท์ในวงการห้องสมุดจึงมีการนิยามของคำว่า Green Library ด้วย

green-library

ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) เป็นยังไง

Green Library ในภาษาไทยมีคนให้ความหมายที่หลากหลายมากๆ
เช่น ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? ?ห้องสมุดสีเขียว?

นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจกันในหลายรูปแบบด้วย เช่น
– ห้องสมุดที่มีต้นไม้เยอะๆ จะได้รู้สึกว่าเป็นสีเขียว
– ห้องสมุดที่มีการอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ?.
– ห้องสมุดที่ใส่ใจกับการอนุรักษ์พลังงาน เช่น ประหยัดไฟฟ้า?.
– ห้องสมุดที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ต่างคนต่างก็มีนิยาม และการจัดการของห้องสมุดสีเขียวที่ไม่เหมือนกัน
แต่โดยทั่วไป ผมว่า มันก็เข้ากับคำว่า Green library ทั้งหมด นั่นแหละ

green-library1

แต่ก็อย่างที่บอกหล่ะครับ ว่า มีหลายที่ให้คำจำกัดความกับการจัดรูปแบบที่หลากหลาย
ผมจะไม่บอกว่าที่ไหนถูก หรือ ผิด หรอกนะครับ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถูกหมดนั่นแหละ

ในต่างประเทศ คำว่า green library มีแนวคิด และหลักปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ

การก่อสร้างห้องสมุดโดยอาศัยปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมช่วย เช่น
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เป็นยังไงกันบ้างครับที่กล่าวมา พอเป็นแนวความคิดในการปรับปรุงห้องสมุดบ้างขึ้นหรือปล่าว
เอางี้งั้นขอนำข่าวมาเล่าให้ฟังอีกสักเรื่องดีกว่า
เกี่ยวกับ ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)?

emerald-city-300x195

ในอเมริกาตอนนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง
ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) มาก
ถึงขนาดว่า องค์กรที่ชื่อว่า Sustainable Living Library
ลงทุนไปสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องนี้ใน Second Life
โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์ นักศึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องสมุด และผู้ที่สนใจ
ให้ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)

หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องนี้ ผมก็ขอแนะนำให้อ่านรายละเอียดต่อได้ที่

http://www.schoollibraryjournal.com/article/CA6624892.html?nid=3269 (ภาษาอังกฤษ)

http://rezlibris.com/librarianship/16-librarianship/184-satori (ภาษาอังกฤษ)

http://forums.thaisecondlife.net/index.php/topic,633.msg5618.html#msg5618 (ภาษาไทย)

โลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
หากแต่เพียงทุกๆ คนต้องช่วยกัน รักษาสิ่งแวดล้อม พยายามปรับสมดุลย์ของโลกให้กลับมา
เท่านี้ผมว่าโลกก็คงน่าอยู่กว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอนครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับแนวความคิดเรื่อง ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)
เอาเป็นว่าในประเทศไทยเราคงต้องค่อยๆ เริ่มกันไป แล้วสักวันห้องสมุดของเราจะช่วยโลกได้บ้าง

ห้องสมุดอนุญาติให้นำของกินเข้ามาได้นะ แต่…

บางห้องสมุดก็อนุญาติให้นำของกินเข้ามากินในห้องสมุดได้
แต่ต้องขอบอกนะครับว่า ไม่ได้อนุญาติทุกอย่าง
ของกินบางอย่างห้องสมุดก็โอเครับได้ แต่บางอย่างห้องสมุดก็ไม่โอเคนะครับ

food-in-library

จากรูปด้านบนนี้ เป็นไอเดียจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (University of Queensland)
ซึ่งในรูปนี้ได้แบ่งประเภทของอาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติ และไม่อนุญาติให้นำเข้ามาในห้องสมุด

จากในรูปผมขอสรุปออกมาเป็น

อาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด
– แซนวิส (Sandwiches)
– ซูชิ (Sushi)
– เค้ก (Cake)
– เครื่องดื่มที่มีฝาปิด (Covered drink)


อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด

– แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่ง(Burger and Chips)
– พิชซ่า (Pizza)
– ก๋วยเตี๋ยว (Noodles)
– เครื่องดื่มแบบเปิด (Open drink)

ในรูปนี้ยังบอกพวกเราอีกว่า
?You may consume cold food and covered drinks?

นั่นก็หมายความว่าอาหารที่สามารถกินแบบเย็นๆ ได้ และเครื่องดื่มที่มีฝาปิดไม่ให้กลิ่นรบกวน
สามารถนำเข้ามารับประทานในห้องสมุดแห่งนี้ได้ทั้งหมด

ด้านล่างของรูปยังบอกอีกว่า
“but Please put all rubbish in the bins provided”
“กินเสร็จแล้วก็กรุณาทิ้งลงในถังที่ทางเราจัดเตรียมไว้ด้วยนะครับ”

สำหรับผม มองในเรื่องของการนำของกินมากินในห้องสมุดว่า
– ขนมคบเคี้ยวผมว่าก็น่าจะนำเข้าห้องสมุดได้
– ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต น่าจะเอามาได้ด้วย
– ถ้าไม่ใช่อาหารหนักมากๆ ก็น่าจะเอาเข้ามาทานได้
– เครื่องดื่มน่าจะได้ (แบบที่มีฝาปิดเหมือนที่เขาบอก)

สำหรับผมเพียงเท่านี้ก็ทำให้ผู้ใช้พอใจได้ในระดับหนึ่งครับ

แต่สิ่งที่ต้องระวัง และต้องควบคุมให้ดี คือ
– ถ้าผู้ใช้กินแล้วไม่รักษาความสะอาด เช่น ทำน้ำหวานหยด เศษขนมตกตามทาง
– กินขนมแล้วเคี้ยวเสียงดัง
– กินแล้วไม่ทิ้งลงถัง

ซึ่งจากสิ่งที่ต้องคำนึงเหล่านี้ ทำให้บรรณารักษ์หรือห้องสมุดหลายแห่งตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือ
?ไม่ให้นำอะไรก็ตามเข้ามากินในห้องสมุด (รวมถึงน้ำเปล่าด้วย)?

สุดท้ายนี้ก็คงต้องฝากเพื่อนๆ ให้ช่วยกันคิดเรื่องการนำของกินเข้ามาในห้องสมุดนะครับ ว่า
ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดได้ และ ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดไม่ได้
นอกจากนี้ยังต้องคิดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ขยะ กลิ่น เสียง และรบกวนผู้ใช้หรือไม่

ฝากไว้ให้คิดแต่เพียงเท่านี้นะครับ

ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด

A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน

atoz-in-the-library

ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง

สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้

A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)

B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)

C ? Circulation (บริการยืมคืน)

D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)

E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)

F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))

G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)

H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)

I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)

J ? Journal (วารสารวิชาการ)

K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)

L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)

M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)

N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)

O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)

P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)

Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)

R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)

S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)

T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)

U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)

V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)

W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)

X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)

Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)

Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ

สถิติ ความคืบหน้าของ Libraryhub

Libraryhub เปิดให้บริการมาเกือยสองเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะมารายงานความคืบหน้าและสถิติของบล็อกให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

libraryhubstat

สถิติที่น่าสนใจของบล็อก Libraryhub
– Visitors
May 2009 = 1430
June 2009 = 5425

– Pageviews
May 2009 = 26783
June 2009 = 68813


– Spiders

May 2009 = 3133
June 2009 = 9675


– Feeds

May 2009 = 249
June 2009 = 488

จะสังเกตุเห็นว่าสถิติของเดือนที่แล้ว และเดือนนี้ต่างกันมากเลยนะครับ
เดือนนี้มีสถิติที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100-200% เลย
นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆ เลย กำลังใจของผมก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

เมื่อกี้เป็นสถิติที่เกี่ยวกับผู้อ่าน และผู้ที่เข้ามาในบล็อก Libraryhub นะครับ
ในส่วนต่อไปผมจะขอนำสถิติที่เกิดจากการเขียนบล็อกของผมมากให้เพื่อนๆ ได้ดูบ้าง

จำนวนเรื่องที่ผมเขียน

May 2009 = 50 เรื่อง
June 2009 = 41 เรื่อง


เรื่องที่มีคนเข้ามาอ่านเยอะที่สุด 5 อันดับ

1. Commart X?Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว
2. รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ.
3. ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
4. รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์
5. บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

สถิติอีกอย่างที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นคือ
ค่า PageRank ของ Google ซึ่งตอนนี้ Libraryhub ได้ 4/10 แล้ว
ส่วนอันดับของ Libraryhub ใน Alexa คือ 2,159,199 ครับ

การเติบโตของ Libraryhub ในช่วงสองเดือนแรกนับว่าโตขึ้นแบบเกินความคาดหมายของผมเลยนะครับ
ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ผม และติดตามบล็อกของผมมาโดยตลอดนะครับ

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 3
ออกในเดือนเมษายน 2552

libmag23

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้เปลี่ยนลุ๊คไปมากเลยนะครับ
ในรูปแบบของการนำเสนอออกมาคล้ายนิตยสารมากขึ้น
มีการใช้คำว่า สารบัญ และจัดหน้าสารบัญคล้ายๆ นิตยสาร
ทำเอาผมตกใจอยู่เหมือนกันนะครับ

แต่เอาเหอะครับ เนื้อหาสาระก็ยังคงมีประโยชน์ต่อวงการเหมือนเดิม

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – IFLA ASIA & Oceania Mid-Conference Meeting

พาเที่ยว – Victoria University of Wellington Central library

เรื่องแปล – วิธีนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ

เรื่องแปล – ห้องสมุดมาร์กาเร็ด เฮอร์ริค (Margaret Herrick Library)

เรื่องแปล – หากนักศึกษาออกแบบห้องสมุดได้ เขาก็อยากจะมาใช้เองนั่นแหละ

บทความ – ท่องเว็บเก็บเกี่ยว KM ในห้องสมุด

บทความ – ประชาคมอาเซียนมีอะไรบ้างที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์และนักสารสนเทศต้องเตรียมรับมือ

Reflection Report – English for Information Professionals Training

เก็บมาฝาก – งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37

เป็นยังไงกันบ้างครับ เนื้อหาที่ยังคงน่าสนใจ และมีประโยชน์แบบนี้
ไม่บอกต่อคงไม่ได้แล้วนะ เพื่อนๆ ว่ามั้ย

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 3 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO3/index.html

อัพเดทข่าวสารห้องสมุดจากเว็บหนังสือพิมพ์

ข่าวสารของห้องสมุดจริงๆ แล้วก็มีให้อ่านมากมายเลยนะครับ
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอและสรุปข่าววงการห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้างนะครับ

newspaper-library

วันนี้มีโอกาสได้เปิดดูเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์มากมาย
เลยขอถือโอกาสค้นข่าวและบทความที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดขึ้นมาอ่านดูบ้าง
บางข่าวและบทความเพื่อนๆ คงอ่านแล้ว แต่บางข่าวและบทความก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่ก็ได้
ยังไงก็ลองอ่านๆ ดูกันนะครับ เก็บเป็นไอเดียรวมๆ กัน คงจะมีอะไรให้คิดเล่นๆ ดู

ผมขอนำเสนอข่าวและบทความห้องสมุดสัก 5 ข่าวนะครับ

1. “ทน.ขอนแก่น”สร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งความรู้เดลิเวอรี่กับโครงการบุ๊กไบค์
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลนครขอนแก่น จัดทำโครงการนำหนังสือสู่มือน้อง (Book Bike) โดยให้สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นผู้ดำเนินการ
– เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการโครงการ “รถนิทาน” ที่จัดทำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
– วิธีการ คือ เตรียมรถจักรยานยนต์บุ๊กไบค์ มาให้ 2 คันเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือไปแจกในชุมชน
– เป็นโครงการที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

2. ศธ.ปั้นห้องสมุด3ดีชูหนังสือ-บรรยากาศ-บรรณารักษ์เจ๋ง
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– โครงการห้องสมุด 3ดี ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และต้องมีบรรณารักษ์ดี
– ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในสถานศึกษา
– หนังสือดี = เน้นในการจัดหาหนังสือที่ดีให้กับเยาวชนมากๆ
– บรรยากาศดี = ปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ
– บรรณารักษ์ดี = บรรณารักษ์ที่ให้คำแนะนำดีๆ กับผู้ใช้บริการ

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

3. “อยากเห็นห้องสมุดมีชีวิต”ความห่วงใยในสมเด็จพระเทพฯ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– การมีนิตยสารสารคดีต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้มากมาย
– การมีห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องพยายามผลักดันให้ผู้ใช้มาใช้บริการมากๆ
– อย่าทำให้ห้องสมุดเป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

4. ห้องสมุดคือปัญญาดั่งยาแสนวิเศษ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– นอกจากห้องสมุดประชาชนจะต้องมีหนังสือบริการแล้ว ข้อมูลท้องถิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
– ห้องสมุดประชาชน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง
– ความรู้ท้องถิ่นจะต้องถูกสั่งสม และเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
– ห้องสมุดควรสนับสนุนกิจกรรม และสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับประชาชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

5. “อุทยานการเรียนรู้” เมืองอ่างทอง แหล่งศึกษาเรียนรู้ชุมชนตลอดชีพ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลเมืองอ่างทอง จัดสร้าง “อุทยานการเรียนรู้” เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน
– “ความรู้” ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
– มนุษย์ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก ยิ่งทำมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก เมื่ออ่านและทำตลอดเวลาก็จะมีความรู้และประสบการณ์ตลอดชีวิต
– อุทยานเรียนรู้ = ตลาดวิชา + ตลาดอาชีพ + ตลาดปัญญา

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างข่าวและบทความห้องสมุดที่ผมได้ยกมาให้อ่านนะครับ
หากเพื่อนๆ มีเวลาเปิดอ่านเรื่องแบบต้นฉบับ
ผมว่ามันก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการจัดทำ และการให้บริการในห้องสมุดมากขึ้นด้วย

เอาเป็นว่าผมขอตัวไปอ่านข่าวและบทความเหล่านี้ก่อนนะครับ
แล้วว่างๆ ผมจะกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที

ปล. ข่าวต่างๆ ที่ผมค้นมา มีที่มาจากเว็บไซต์ของ หนังสือพิมพ์ คอม ชัด ลึก นะครับ
เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ต่อได้ที่
http://www.komchadluek.net/search.php?search=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4

ม.อ. ตรัง รับบรรณารักษ์อยู่นะ

งานบรรณารักษ์มาแล้วจ้าาาาาาาา วันนี้ขอเอาใจคงต่างจังหวัดบ้างนะครับ
มีเพื่อนๆ บรรณารักษ์คนไหนอยากทำงานที่จังหวัดตรังบ้าง ลองอ่านเรื่องนี้ดูนะ

psujob

มีหลายคนเรียกร้องให้ผมเอางานบรรณารักษ์ในต่างจังหวัดมาลงให้บ้าง
วันนี้ผมก็เลยตามใจเพื่อนๆ สักหน่อยนะครับ คือเอาตำแหน่งบรรณารักษ์ว่าง ในต่างจังหวัดมาลง

ตำแหน่งบรรณารักษ์ที่ว่างนี้เป็นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
รับบรรณารักษ์จำนวน 1 ตำแหน่ง โดยเงินเดือนขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมานะครับ
ถ้าจบ ป.ตรี = 10,320 บาท หรือถ้าจบ ป.โท = 12,610 บาท ครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
คือ
– ให้บริการในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– จัดหาและพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– จัดหมวดหมู่ และจัดทำระบบสืบค้น
– พัฒนาเว็บไซต์ของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

เงินเดือนและภาระหน้าที่ช่างสอดคล้องดีจริงๆ เลยนะครับ
เงินเดือนระดับแบบนี้ แล้วต้องทำงานด้านไอทีของห้องสมุดควบไปด้วย
ดังนั้นขอเตือนสำหรับผู้ที่จะสมัครนะครับว่า ควรรู้ด้านไอทีบ้าง
เพราะหน้าที่ที่ต้องจัดทำเว็บไซต์นี้คงต้องใช้ความสามารถหน่อยแหล่ะ

หากเพื่อนๆ สนใจตำแหน่งนี้ ลองอ่านคุณสมบัติของผู้สมัครต่อเลยดีกว่า

คุณสมบัติของผู้สมัคร
– จบ ป.ตรี หรือ ป.โท ด้านห้องสมุด บรรณารักษศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ หรือวิชาที่เกี่ยวข้อง
– สามารถใช้งานโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ และตกแต่งภาพได้
– มีความรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่และทำรายการสืบค้น
– พูด อ่าน เขียนภาาาอังกฤษได้
– มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
– สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้
– มีทักษะในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์

กำหนดการในการรับสมัครนะครับ เริ่มตั้งแต่วันที่? 19 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2552

วิธีการในการคัดเลือก ที่นี่จะใช้การพิจารณา 3 ขั้น
คือ
1. พิจารณาจากใบสมัคร
2. พิจารณาจากการสอบข้อเขียน – บรรณารักษ์, ภาษาอังกฤษ, คอมพิวเตอร์
3. พิจารณาจากการสอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าหากอ่านมาจนถึงตอนนี้แล้ว ยังสนใจที่จะสมัครอีกก็ขอให้ติดต่อที่
งานบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้เลยนะครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอแนะนำเท่านี้ก่อนแล้วกัน
ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ที่อ่านบล็อกของผมจงสอบผ่านและได้ทำงานที่นี่นะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมของการรับสมัครงานในตำแหน่งนี้เพื่อนๆ สามารถดูได้จาก
http://eds.trang.psu.ac.th/ptw/news/uploaded_files/news_id_1884.pdf
หรือ http://www.trang.psu.ac.th

ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ

วันนี้ผมพาเพื่อนๆ กลับมาเที่ยวที่เชียงใหม่กันอีกรอบนะครับ
แต่ก่อนที่ผมจะพาไปเที่ยวห้องสมุด ผมขอแนะนำหอจดหมายเหตุก่อนนะครับ
หอจดหมายเหตุที่ผมจะพาไปเที่ยว คือ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ นะครับ

archives-payap

ข้อมูลทั่วไปของหอจดหมายเหตุแห่งนี้
สถานที่ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3
เว็บไซต์ : http://archives.payap.ac.th

การดูงานของผมเริ่มจากการฟังคำอธิบายประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
ซึ่งทำให้รู้ว่าเดิมทีแล้ว หอจดหมายเหตุแห่งนี้เน้นการจัดเก็บเอกสารของสภาคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์
รวมถึงมีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยด้วย

เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า จดหมายเหตุคืออะไร
ผมจึงขอนำความหมายและคำอธิบายของ จดหมายเหตุ มาลงให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

?เอกสารจดหมายเหตุ? หมายถึง เอกสารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนใด ๆ ซึ่งถูกประเมินแล้วว่ามีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้อย่างถาวร เพื่อการอ้างอิงและวิจัย และถูกเก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานจดหมายเหตุ

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับคำว่า ?เอกสารจดหมายเหตุ? แล้ว
ผมก้อยากให้เพื่อนๆ ลองอ่านปณิธานของหอจดหมายเหตุแห่งนี้ดูนะครับ

“มุ่งสู่ความเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนโดยเน้น ข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัยพายัพ และคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดรวมทั้ง ความเป็นผู้นำในงานจดหมายเหตุเอกชนของประเทศ”

เห็นหรือยังครับว่า เขาเป็นที่หนึ่งในเรื่องของเอกสารจดหมายเหตุด้านศาสนาคริสต์ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด

ารจัดการส่วนงานต่างๆ ในหอจดหมายเหตุ แบ่งการดูแลเป็น 5 ส่วนงาน คือ
– งานบริหารสำนักงาน
– งานจัดเก็บเอกสาร
– งานให้บริการ
– งานอนุรักษ์ และบำรุงรักษา
– งานพิพิธภัณฑ์

archives01 archives11 archives12

นอกจากนี้ผมยังได้ถามขึ้นขั้นตอนในการให้บริการกับผู้ใช้บริการอีกด้วย โดยขั้นตอนมีดังนี้
1. ผู้ใช้มาขอใช้บริการ
2. เจ้าหน้าที่จะมาให้คำแนะนำในการใช้ศูนย์
3. เลือกหัวข้อได้จากเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น บัตรรายการ, แฟ้มหัวเรื่อง
4. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการในหัวเรื่องที่สนใจ
5. บรรณารักษ์ขึ้นไปหยิบแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุ
6. ก่อนจะหยิบลงมาให้ผู้ใช้บรรณารักษ์ต้องตรวจสอบจำนวนหน้า และความสมบูรณ์ของเอกสาร
7. นำลงมาให้ผู้ใช้บริการ
8. ผู้ใช้บริการใช้เสร็จก็แจ้งเจ้าหน้าที่
9. บรรณารักษืตรวจสอบจำนวนหน้า และตรวจสอบสภาพ
10. นำขึ้นไปเก็บเข้าที่เดิม

นี่ก็เป็นขั้นตอนแบบคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ

ส่วนต่อมาคือการนำชมห้องที่เก็บเอกสารจดหมายเหตุ โดยภายในแบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ คือ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภาคริสตจักร
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภามหาวิทยาลัยพายัพ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุทั่วไป

archives05 archives04 archives06

หลังจากนั้นก็ได้ไปชมวิธีการอนุรักษ์และการบำรุงรักษาเอกสารจดหมายเหตุ

archives14 archives15 archives16

เสียดายที่เวลาเรามีจำกัดเลยได้ดูเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การเดินทางมาดูงานในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์แก่ผมอย่างมาก
เนื่องจากตอนเรียนเรื่องจดหมายเหตุผมก็รู้ในเรื่องที่เป็นทฤษฎีเท่านั้น
แต่พอมาดูที่นี่มันต่างจากที่เรียนไปบ้าง เพราะทฤษฎีเป็นข้อมูลที่ใช้เพียงแค่การทำงานเบื้องต้น
แต่เวลาทำงานจริงๆ มันมีองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างที่ไม่อยู่ในทฤษฎีนั่นเอง

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ว่างหรือต้องการศึกษาข้อมูลด้านจดหมายเหตุ
ผมก็ขอแนะนำที่นี่นะครับ ลองทำเรื่องมาดูงานกัน
แล้วจะรู้ว่าเรื่องของการดูแลรักษาจดหมายเหตุไม่ได้ง่ายเหมือนที่ทุกคนคิด

ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของหอจดหมายเหตุ

[nggallery id=8]