การสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อ

คำถามนี้เป็นคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมาให้ผมช่วยตอบเมื่อหลายเดือนก่อน
จริงๆ แล้วผมก็ตอบคำถามนี้ไปแล้วนะครับ
แต่วันนี้ผมขอนำเหตุการณ์นี้มาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันหน่อยดีกว่า

medialibrary

กรณีศึกษา : ขอคำแนะนำในการสร้างและจัดการห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อมัลติมีเดีย
เกริ่นนำ : บริษัทผลิตสื่อโทรทัศน์มีความประสงค์ที่จะสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บเทปถ่ายทำรายการ (footage)
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

จากโจทย์ที่ได้รับมาจะสังเกตได้ชัดว่า ห้องสมุดที่ต้องการสร้างเป็นห้องสมุดที่มีลักษณะเฉพาะ
นั่นคือ ห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่ใช้จัดเก็บสื่อมีเดียต่างๆ
หากดูเรื่องสื่อที่มีการจัดเก็บ นั่นคือ เทปบันทึกภาพ วีดีดี ดีวีดี ฯลฯ

แนวทางในการตอบโจทย์เรื่องนี้
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำตอบ 1 : การจัดเก็บสื่อตามที่โจทย์ให้มาอาจจะแยกได้ 2 กรณี นั่นคือ

1.1 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหา

ผมก็ขอเสนอแนวทางในการจัดเก็บสื่อมีเดียแบบตามหลักสากล เช่น
จัดตามหมวดหมู่ดิวอี้, จัดตามหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน(LC)
เพราะจะช่วยให้เนื้อหาและหมวดหมู่ของสื่อมีเดียกระจายเป็นส่วนๆ ง่ายต่อการค้นหา

1.2 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีเนื้อหาในแนวเดียวกัน

เช่น เทปถ่ายทำรายการอาหาร, เทปถ่ายทำรายการบันเทิง ฯลฯ
บรรณารักษ์อาจจะต้องมีการสร้างระบบการจัดการขึ้นมาเอง เช่น เรียงตามอักษร, เรียงตามวันถ่ายทำ
แล้วนำรายการเหล่านี้มาเขียนข้อมูลลงสมุดทะเบียนเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา

แต่ทั้งนี้การจัดหมวดหมู่ไม่ว่าจะจัดแบบไหนก็ตาม
เราจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการสืบค้นของผู้ใช้ด้วย
การจัดเก็บในช่วงเริ่มต้น บรรณารักษ์ควรทำคู่มือการจัดเก็บควบคู่ไปด้วย
เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลสำหรับอนาคตต่อไป

คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

คำตอบ 2 : โปรแกรมห้องสมุดทุกโปรแกรมสามารถรองรับกับการจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว
การเลือกโปรแกรมห้องสมุดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ งบประมาณ ฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ไม่ใหญ่มาก หรือ ไม่ซับซ้อนมาก
ก็เลือกโปรแกรมห้องสมุดแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ หรือไม่ก็เขียนเองเลยใช้ Access ก็ได้

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย
ก็อาจจะเลือกระบบห้องสมุดแบบกลางๆ ก็ได้

ในกรณีที่จำนวนสื่อมีไม่มาก และรองรับการทำงานในระดับปกติ
ผมขอแนะนำ โปรแกรม Library2000 น่าะเหมาะสมที่สุดครับ
เพราะราคาไม่แพง แถมเป็นโปรแกรมคนไทยด้วย

library2000

หากสนใจลองเข้าไปดูที่ http://www.library2000.net/ ครับ
ราคาแบบ lite verson เพียงแค่ 500 บาทเอง

สำหรับคำถามทั้งสองข้อ ผมก็ตอบได้ประมาณนี้นะครับ

ผมขอเสริมอีกสักเรื่องนะครับ เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสื่อมีเดีย
เรื่องนี้ผมว่าก็สำคัญไม่แพ้กับการจัดระบบหรือโปรแกรมในการจัดเก็บเลย
เพราะหากระบบจัดเก็บดี และโปรแกรมดี แต่สถานที่ใช้ไม่ได้ สื่อมีเดียก็อาจจะเสื่อมมูลค่าได้ครับ

สถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสื่อควรจะ
– มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น
– อุณหภูมิต้องไม่ร้อนจนเกินไป เพราะสื่ออาจจะเสียหายได้

และอื่นๆ อีกมากมาย

เอาเป็นว่ากรณีศึกษาวันนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ไปประยุกต์ใช้กันนะครับ

ปล. คำตอบและความคิดเห็นของผม อาจจะไม่ตรงใจกับอีกหลายๆ คนก็ได้นะครับ
ดังนั้นเพื่อให้คำตอบสมบูรณ์ ผมจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ

1 เดือนกับ 50 เรื่องใน Libraryhub

ผ่านไปหนึ่งเดือนแล้วนะครับสำหรับบล็อกใหม่ของผม Libraryhub
(บล็อกนี้เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552)

1month

ตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนบล็อกแบบไม่มีวันหยุดอีกแล้วครับท่าน
อุดมการณ์เดิมเริ่มดำเนินการต่อ นั่นคือ My Library in 365 days…

บทสรุปของเดือนที่แล้ว (เดือนพฤษภาคม 2552)
มเขียนบล็อกได้ครบ 31 วัน และจำนวนเรื่องที่เขียน 50 เรื่อง

เรื่องที่นำมาเขียนบางเรื่องเพื่อนๆ อาจจะคุ้นๆ
สาเหตุมาจากผมได้นำเอาเรื่องบางส่วนของ projectlib มา rewrite ใหม่นั่นเอง
เพื่อให้ภาษาน่าอ่านมากขึ้น รวมถึงอัพเดทข้อมูลของเรื่องมากขึ้นด้วย
เอาเป็นว่ารับรองว่าไม่ได้ copy ของเก่ามาแบบเต็มๆ ก็แล้วกัน

การเขียนบล็อกในเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมว่าเป้าหมายของการเขียนบล็อกว่า
ถ้า 1 เดือน ผมสามารถเขียนได้ 50 เรื่องแบบนี้
แสดงว่า 1 ปี ผมจะมีเรื่องในบล็อกนี้ 600 เรื่องเลยก็ว่าได้

แค่คิดนี้ก็แบบว่าน่าตื่นเต้นมากๆ ที่จะรอดูในวันครบรอบหนึ่งปีแล้ว
อุดมการณ์นี้จะน่าท้าทายมากๆ เลยเพื่อนๆ ว่ามั้ย???
เอาเป็นว่าทำได้หรือไม่ได้ ก็คงต้องรอดูกันไปนะครับ

สำหรับเดือนนี้ผมก็ดีใจมาก ที่ได้กลับมาทักทายและเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก
หวังว่าเพื่อนๆ จะตามอ่านเรื่องของผมต่อไปนะครับ