บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

วันนี้ผมขอแนะนำคำศัพท์ใหม่ในวงการบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
จริงๆ จะบอกว่าใหม่ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว คำศัพท์นี้เพื่อนๆ คงอาจจะคุ้นๆ บ้างนั่นแหละ

cybrarian

คำศัพท์ที่จะแนะนำวันนี้ คือ “Cybrarian”

ที่มาของ Cybrarian = Cyber + Librarian

คำว่า Cyber เป็นคำที่ใช้แสดงความเป็นโลกยุคใหม่ โลกสารสนเทศ โลกคอมพิวเตอร์
คำว่า Librarian ตรงตัวเลยครับ คือ บรรณารักษ์

ดังนั้นการนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “Cybrarian” ย่อมมีความหมายว่า
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

ซึ่งอยากได้ความหมายแบบไหนเพื่อนๆ ก็นิยามกันได้เลยนะครับ

จริงๆ แล้วนอกจาก Cybrarian
เพื่อนๆ อาจะได้ยินคำว่า Cybrary อีกก็ได้ นั่นคือ Cyber + Library นั่นเอง
หรือที่หลายๆ คนจินตนาการว่า เป็นห้องสมุดแห่งโลกคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์

แล้ว Cybrarian กับ Librarian มีอะไรที่ต่างกันบ้างหรือปล่าว
หลังจากที่ผมนั่งคิด และพิจารณาถึงความหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ผมว่าลักษณะการทำงาน และความรู้ต่างๆ Cybrarian คงมีเหมือนกับ Librarian นั่นแหละ
เพียงแต่จะเพิ่มในเรื่องของความเป็นโลกสมัยใหม่ลงไป เช่น
– ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
– มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
– รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ 2.0

เป็นไงกันบ้างครับ ทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา
หวังว่าคงไม่ยากเกินกำลังของบรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างพวกเรานะครับ
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ฝึกกันไป สักวันพวกเราก็จะกลายเป็น Cybrarian อย่างเต็มตัว

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]