ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ

วันนี้ผมพาเพื่อนๆ กลับมาเที่ยวที่เชียงใหม่กันอีกรอบนะครับ
แต่ก่อนที่ผมจะพาไปเที่ยวห้องสมุด ผมขอแนะนำหอจดหมายเหตุก่อนนะครับ
หอจดหมายเหตุที่ผมจะพาไปเที่ยว คือ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ นะครับ

archives-payap

ข้อมูลทั่วไปของหอจดหมายเหตุแห่งนี้
สถานที่ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3
เว็บไซต์ : http://archives.payap.ac.th

การดูงานของผมเริ่มจากการฟังคำอธิบายประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
ซึ่งทำให้รู้ว่าเดิมทีแล้ว หอจดหมายเหตุแห่งนี้เน้นการจัดเก็บเอกสารของสภาคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์
รวมถึงมีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยด้วย

เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า จดหมายเหตุคืออะไร
ผมจึงขอนำความหมายและคำอธิบายของ จดหมายเหตุ มาลงให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

?เอกสารจดหมายเหตุ? หมายถึง เอกสารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนใด ๆ ซึ่งถูกประเมินแล้วว่ามีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้อย่างถาวร เพื่อการอ้างอิงและวิจัย และถูกเก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานจดหมายเหตุ

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับคำว่า ?เอกสารจดหมายเหตุ? แล้ว
ผมก้อยากให้เพื่อนๆ ลองอ่านปณิธานของหอจดหมายเหตุแห่งนี้ดูนะครับ

“มุ่งสู่ความเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนโดยเน้น ข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัยพายัพ และคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดรวมทั้ง ความเป็นผู้นำในงานจดหมายเหตุเอกชนของประเทศ”

เห็นหรือยังครับว่า เขาเป็นที่หนึ่งในเรื่องของเอกสารจดหมายเหตุด้านศาสนาคริสต์ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด

ารจัดการส่วนงานต่างๆ ในหอจดหมายเหตุ แบ่งการดูแลเป็น 5 ส่วนงาน คือ
– งานบริหารสำนักงาน
– งานจัดเก็บเอกสาร
– งานให้บริการ
– งานอนุรักษ์ และบำรุงรักษา
– งานพิพิธภัณฑ์

archives01 archives11 archives12

นอกจากนี้ผมยังได้ถามขึ้นขั้นตอนในการให้บริการกับผู้ใช้บริการอีกด้วย โดยขั้นตอนมีดังนี้
1. ผู้ใช้มาขอใช้บริการ
2. เจ้าหน้าที่จะมาให้คำแนะนำในการใช้ศูนย์
3. เลือกหัวข้อได้จากเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น บัตรรายการ, แฟ้มหัวเรื่อง
4. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการในหัวเรื่องที่สนใจ
5. บรรณารักษ์ขึ้นไปหยิบแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุ
6. ก่อนจะหยิบลงมาให้ผู้ใช้บรรณารักษ์ต้องตรวจสอบจำนวนหน้า และความสมบูรณ์ของเอกสาร
7. นำลงมาให้ผู้ใช้บริการ
8. ผู้ใช้บริการใช้เสร็จก็แจ้งเจ้าหน้าที่
9. บรรณารักษืตรวจสอบจำนวนหน้า และตรวจสอบสภาพ
10. นำขึ้นไปเก็บเข้าที่เดิม

นี่ก็เป็นขั้นตอนแบบคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ

ส่วนต่อมาคือการนำชมห้องที่เก็บเอกสารจดหมายเหตุ โดยภายในแบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ คือ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภาคริสตจักร
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภามหาวิทยาลัยพายัพ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุทั่วไป

archives05 archives04 archives06

หลังจากนั้นก็ได้ไปชมวิธีการอนุรักษ์และการบำรุงรักษาเอกสารจดหมายเหตุ

archives14 archives15 archives16

เสียดายที่เวลาเรามีจำกัดเลยได้ดูเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การเดินทางมาดูงานในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์แก่ผมอย่างมาก
เนื่องจากตอนเรียนเรื่องจดหมายเหตุผมก็รู้ในเรื่องที่เป็นทฤษฎีเท่านั้น
แต่พอมาดูที่นี่มันต่างจากที่เรียนไปบ้าง เพราะทฤษฎีเป็นข้อมูลที่ใช้เพียงแค่การทำงานเบื้องต้น
แต่เวลาทำงานจริงๆ มันมีองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างที่ไม่อยู่ในทฤษฎีนั่นเอง

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ว่างหรือต้องการศึกษาข้อมูลด้านจดหมายเหตุ
ผมก็ขอแนะนำที่นี่นะครับ ลองทำเรื่องมาดูงานกัน
แล้วจะรู้ว่าเรื่องของการดูแลรักษาจดหมายเหตุไม่ได้ง่ายเหมือนที่ทุกคนคิด

ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของหอจดหมายเหตุ

[nggallery id=8]

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. ดูภาพแล้วคิดถึงลุงเสถียร กะ ลุงประภาส จังเลยยย อิอิ

  2. ขอบใจที่เอาwebนี้มาเผยแพร่ มีแต่ลุง ลุง ไม่เห็นมี ป้า ป้า เลย หุ หุ

  3. ขอบใจที่นำwebนี้มาเผยแพร่ มีแต่ลุง ลุง ไม่เห็นมี ป้า ป้า บ้างเลย หุ หุ

1 Trackback / Pingback

  1. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ |

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*