ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด

A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน

atoz-in-the-library

ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง

สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้

A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)

B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)

C ? Circulation (บริการยืมคืน)

D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)

E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)

F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))

G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)

H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)

I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)

J ? Journal (วารสารวิชาการ)

K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)

L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)

M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)

N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)

O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)

P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)

Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)

R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)

S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)

T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)

U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)

V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)

W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)

X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)

Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)

Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

6 Comments

  1. อยากจะเรียนถาม ความหมายของคำศัพท์คร่ะ
    – Union CataLogue of Books – CCF
    – Union List of Current Periodicals
    – Union Catalogue of Periodicals
    – Database of Periodical Articles
    – Union List of Video Recordings
    – Union List of Sound Recordings
    รบกวนช่วยตอบด้วยน่ะคร่ะ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
    Database of Theses and Dissertations

  2. รบกวนเวลาคุณวาย ช่วยดูให้หน่อยค่ะ ว่าดิฉันแปลถูกหรือเปล่า
    Union CataLogue of Books – CCF ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมของหนังสือ
    Union List of Current Periodicals รายการบรรณานุกรมของวารสาร
    Union Catalogue of Periodicals ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมของวารสาร
    Database of Periodical Articles ฐานข้อมูลบทความของวารสาร
    Union List of Video Recordings รายการบรรณานุกรมของวีดิโอ
    Union List of Sound Recordings รายการบรรณานุกรมของสื่อบันทึกเสียง
    Database of Theses and Dissertations ฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์

    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

  3. รบกวนช่วยตรวจสอบความหมายให้ด้วยน่ะค่ะ แง่วๆๆๆ ^^

    ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

    • Union CataLogue of Books ? CCF ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมของหนังสือ
      Union List of Current Periodicals รายการสหบรรณานุกรมของวารสารฉบับปัจจุบัน
      Union Catalogue of Periodicals ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมของวารสาร
      Database of Periodical Articles ฐานข้อมูลบทความของวารสาร
      Union List of Video Recordings รายการสหบรรณานุกรมของสื่อบันทึกวีดิโอ
      Union List of Sound Recordings รายการสหบรรณานุกรมของสื่อบันทึกเสียง
      Database of Theses and Dissertations ฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์

      น่าจะได้ประมาณนี้ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*