ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด
A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน
ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง
สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้
A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)
B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)
C ? Circulation (บริการยืมคืน)
D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)
E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)
F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))
G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)
H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)
I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)
J ? Journal (วารสารวิชาการ)
K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)
L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)
M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)
N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)
O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)
P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)
Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)
R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)
S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)
T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)
U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)
V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)
W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)
X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)
Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)
Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ