ห้องสมุดสีเขียว(Green Library) คือ…

แนวโน้มของการพัฒนาห้องสมุดนอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว
จริงๆ ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ศัพท์ในวงการห้องสมุดจึงมีการนิยามของคำว่า Green Library ด้วย

green-library

ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) เป็นยังไง

Green Library ในภาษาไทยมีคนให้ความหมายที่หลากหลายมากๆ
เช่น ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? ?ห้องสมุดสีเขียว?

นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจกันในหลายรูปแบบด้วย เช่น
– ห้องสมุดที่มีต้นไม้เยอะๆ จะได้รู้สึกว่าเป็นสีเขียว
– ห้องสมุดที่มีการอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ?.
– ห้องสมุดที่ใส่ใจกับการอนุรักษ์พลังงาน เช่น ประหยัดไฟฟ้า?.
– ห้องสมุดที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ต่างคนต่างก็มีนิยาม และการจัดการของห้องสมุดสีเขียวที่ไม่เหมือนกัน
แต่โดยทั่วไป ผมว่า มันก็เข้ากับคำว่า Green library ทั้งหมด นั่นแหละ

green-library1

แต่ก็อย่างที่บอกหล่ะครับ ว่า มีหลายที่ให้คำจำกัดความกับการจัดรูปแบบที่หลากหลาย
ผมจะไม่บอกว่าที่ไหนถูก หรือ ผิด หรอกนะครับ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถูกหมดนั่นแหละ

ในต่างประเทศ คำว่า green library มีแนวคิด และหลักปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ

การก่อสร้างห้องสมุดโดยอาศัยปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมช่วย เช่น
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เป็นยังไงกันบ้างครับที่กล่าวมา พอเป็นแนวความคิดในการปรับปรุงห้องสมุดบ้างขึ้นหรือปล่าว
เอางี้งั้นขอนำข่าวมาเล่าให้ฟังอีกสักเรื่องดีกว่า
เกี่ยวกับ ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)?

emerald-city-300x195

ในอเมริกาตอนนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง
ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) มาก
ถึงขนาดว่า องค์กรที่ชื่อว่า Sustainable Living Library
ลงทุนไปสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องนี้ใน Second Life
โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์ นักศึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องสมุด และผู้ที่สนใจ
ให้ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)

หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องนี้ ผมก็ขอแนะนำให้อ่านรายละเอียดต่อได้ที่

http://www.schoollibraryjournal.com/article/CA6624892.html?nid=3269 (ภาษาอังกฤษ)

http://rezlibris.com/librarianship/16-librarianship/184-satori (ภาษาอังกฤษ)

http://forums.thaisecondlife.net/index.php/topic,633.msg5618.html#msg5618 (ภาษาไทย)

โลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
หากแต่เพียงทุกๆ คนต้องช่วยกัน รักษาสิ่งแวดล้อม พยายามปรับสมดุลย์ของโลกให้กลับมา
เท่านี้ผมว่าโลกก็คงน่าอยู่กว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอนครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับแนวความคิดเรื่อง ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)
เอาเป็นว่าในประเทศไทยเราคงต้องค่อยๆ เริ่มกันไป แล้วสักวันห้องสมุดของเราจะช่วยโลกได้บ้าง

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

2 Comments

  1. สวัสดีคะ คุณวาย ขอบคุณที่ช่วยเอาเรื่องรวดีๆมาฝากนะคะ
    หลินเองก็กำลังทำทีสิสเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่เคารพสิ่งแวดล้อมอยู่เช่นกัน
    แต่เจาะเฉพาะเรื่องการออกแบบเพื่อการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้นะคะ

    วันก่อนไปห้องสมุดวิลเลียมวอร์เรน แล้วรู้สึกดีมากคะ ออกแบบให้ใช้แผงกันแดด และลดพื้นที่ส่วนปรับอากาศเท่าที่จำเป็น อยากให้เด็กไทยได้มีห้องสมุดดีๆอีกเยอะๆคะ

    ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป มีที่ไหนที่พอจะแนะนำให้เป็นกรณีศึกษาก็จะขอบพระคุณมากคะ

    • ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู็ซอยพระนาง ผมว่าก็โอเคนะ การออกแบบดีมีพื้นที่ทำกิจกรรม การจัดสรรพื้นที่ต่างๆ ภายในทได้ดี

1 Trackback / Pingback

  1. GREEN LIBRARY – นโยบายห้องสมุดสีเขียว – STOU e-Library Blog!!!

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*