LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 2
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2552

libmag22

แม้ว่าในฉบับนี้จะมีหัวข้อให้อ่านน้อยหน่อย
แต่ทุกเรื่องก็ยังคงมีเนื้อหาที่น่าสนใจเช่นกันนะครับ
ลองดูได้จากสารบัญของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ด้านล่างนี้นะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – หนังสือสวย ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง

เรื่องพิเศษ – ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?

พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง

พาเที่ยวห้องสมุด – “รางวัลแด่คนช่างฝัน: ล้านของเล่นของอาจารย์เกริก”

บทสัมภาษณ์ – คุณสารภี สีสุข บรรณารักษ์ ฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทความและเรื่องแปล – ห้องสมุดแบบโปร่งใส: เครื่องมือวัดความเงียบ

บทความและเรื่องแปล – Google และ Amazon ทำหนังสือผ่านบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

บทความและเรื่องแปล – การค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งยุโรป (Europeanlibrary)

หนังสือใหม่เดือนนี้ – แนะนำหนังสือใหม่ปี 2552 สำหรับห้องสมุดโรงเรียน

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – พระราชอารมณ์ขันของในหลวง

เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – มิวเซียมสยาม

สุดยอดเลยใช่มั้ยครับฉบับนี้ ใครจะรู้บ้างว่าห้องสมุดเทศบาลสามารถทำอะไรได้มากขนาดนี้
ส่วนอีกเรื่องที่ทำให้ผมต้องรีบอ่านคือ ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?
ใครยังอ่านก็ลองอ่านดูนะครับ รับรองว่ามีประโยชน์จิงๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 2 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO2/index.html

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 1 ออกในเดือนมกราคม 2552
ฉบับนี้เป็นฉบับเริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์นะครับ

libmag21

เริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย
ทั้งในวงการห้องสมุดและวงการบรรณารักษ์อีกแล้วนะครับ

เปิดต้นฉบับด้วยศูนย์ข้อมูลของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
แม้ว่าจะไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดแบบตรงๆ
แต่อย่างน้อยศูนย์ข้อมูล ก็ถือว่าเป็นพี่น้องในวงการห้องสมุดอยู่ดีนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – ศูนย์ข้อมูลเทป สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3

เรื่องพิเศษ – รวมภาพงานประชุมวิชาการ เรื่อง? “เสริมสร้างสังคมการเรียนรู้ : การเข้าถึงสภาพที่แตกต่างของสังคม”

เรื่องพิเศษ – เยี่ยมบ้าน รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน

พาเที่ยวห้องสมุด – สถาบันไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ

พาเที่ยวห้องสมุด – เส้นทางพาชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

บทความและเรื่องแปล – มาทำดีกับลูกน้องกันเถอะ

บทความและเรื่องแปล – STRONG PASSWORD

ท่องเที่ยว ดูงาน? – จากมหาวิทยาลัยทางด้านศาสนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งเกาะฮ่องกง

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ปราสาทพระวิหาร: เทวสถานแห่งความทรงจำ? มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอนจบ)

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ประสบการณ์จากการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน (ILC)

เรื่องสั้น – บรรณารักษ์ป้ายแดง

เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – หิ้วกล้องท่องพิพิธภัณฑ์สิงค์โปร์

เป็นยังไงกันบ้างครับกับฉบับปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
นิตยสารออนไลน์ที่ยังคงมีอุดมการณ์ในการนำเสนอข้อมูลด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อไป
ยังไงซะ ผมก็ยังคงติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO1/index.html

Koha – Open Source for ILS

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติฉบับ Open Source ตัวนึงที่ผมจะแนะนำก็คือ KOHA
ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีหลายๆ ที่เริ่มนำเข้ามาใช้กันมากขึ้นแล้ว
วันนี้ผมจึงขอแนะนำโปรแกรมตัวนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักกัน

koha

เริ่มจากความเป็นมาของโปรแกรมตัวนี้

Koha ถูกพัฒนาโดยบริษัท Katipo Communications ในปี 1999
การพัฒนาครั้งนี้ทางบริษัทตั้งใจจะพัฒนาให้ Koha กับ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
และทำการติดตั้งโปรแกรมครั้งแรกในปี 2000
ในปี 2001 ระบบ Koha สามารถรองรับการทำงานในหลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส จีน อาหรับ ฯลฯ
และในปี 2002 Koha ได้มีการพัฒนาให้เข้าสู่วงการมาตรฐานมากขึ้น
ด้วยการสนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น MARC และ Z39.50
จนในปี 2005 บริษัท Liblime ได้เข้ามาสนับสนุนในการพัฒนามากขึ้น
จนสามารถพัฒนาระบบ Koha ให้สามารถเชื่อมโยงการจัดทำดรรชนี และการพัฒนาการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปวิวัฒนาการของโปรแกรม
1999 – ออกแบบและสร้างโปรแกรม Koha
2000 – ติดตั้งครั้งแรกที่ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
2001 – พัฒนาให้รองรับหลายภาษา
2002 – พัฒนาให้การทำงานสนับสนุนมาตรฐาน MARC และ Z39.50
2005 – ปรับปรุงระบบให้เข้ากับโปรแกรม Zebra (ระบบการจัดทำ Index)

ความสามารถของ Koha
1. ระบบบริหารจัดการ (Administration)
– ระบบควบคุมโปรแกรม (Global System Preferences)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เบื้องต้น (Basic Parameters)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานบริการยืมคืนและสมาชิก (Patrons and Circulation)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานวิเคราะห์ (Catalog Administration)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เพิ่มเติม (Additional Parameters)

2. เครื่องมือใน Koha (Tool)
– การจัดพิมพ์ป้ายติดสันหนังสือ ป้ายลาเบล
– การแสดงความคิดเห็น
– ปฏิทินกิจกรรม
– จัดเก็บ log file

3. ระบบผู้ใช้ (Patrons)
– เพิ่มบัญชีผู้ใช้
– แก้ไขข้อมูลผู้ใช้
– กำหนดระดับผู้ใช้

4. การยืมคืน (Circulation)
– ยืม
– คืน
– จอง
– ต่ออายุ
– ปรับ

5. การทำรายการ / วิเคราะห์รายการ (Cataloging)
– สร้างระเบียน
– แก้ไขระเบียน
– นำเข้าระเบียน

6. ระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)
– บอกรับสมาชิก
– ตรวจสอบการบอกรับ
– ทำดัชนี

7. ระบบงานจัดซื้อ จัดหา (Acquisitions)
– ติดต่อกับเวนเดอร์
– เสนอแนะรายการทรัพยากรสารสนเทศ
– สั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
– ควบคุมงบประมาณ

8. รายงาน (Reports)
– ออกแบบรายงานได้
– สถิติข้อมูลต่างๆ ในระบบ

9. ระบบสืบค้นออนไลน์ (OPAC)
– สืบค้นสารสนเทศออนไลน์
– ส่งข้อมูลออกได้หลายรูปแบบ เช่น RSS
– ใส่ข้อมูล TAG

10. ระบบสืบค้น (Searching)
– ค้นแบบง่าย (basic search)
– ค้นแบบขั้นสูง (advance search)
– ค้นแบบเงื่อนไข (Boolean Search)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสามารถแบบเล็กๆ น้อยๆ นะครับ
จริงๆ แล้ว KOHA ทำอะไรได้มากกว่านี้อีก
เพื่อนๆ อาจจะอ่านได้จาก http://koha.org/documentation/manual/3.0

เอาเป็นว่าลองเข้าไปทดลองเล่นระบบนี้ดูนะครับที่ http://koha.org/showcase/

สำหรับเมืองไทยเพื่อนๆ ลองเข้าไปเล่นดูที่
– ห้องสมุดศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://158.108.80.10:8000/cgi-bin/koha/opac-main.pl

เป็นไงกันบ้างครับกับโปรแกรมดีๆ ที่ผมแนะนำ
วันหลังผมจะเขามาแนะนำวิธีการติดตั้งแบบ step by step เลยนะครับ

เว็บไซต์ทางการของ Kohahttp://koha.org

http://koha.org/download

คุณอยากให้ห้องสมุดเงียบหรือปล่าว

ต่างคน ต่างความคิด เกี่ยวกับเรื่องความเงียบสงบในห้องสมุด
บางคนอยากให้ห้องสมุดเงียบ บางคนอยากให้ห้องสมุดมีเสียงเพลงเบาๆ

quiet

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเลยตั้ง poll เรื่องนี้มาถามเพื่อนๆ ดูแล้วกัน

กรุณาตอบแบบสอบถามก่อนอ่านเรื่องด้านล่างนะครับ อิอิ

[poll id=”7″]

เจตนารมณ์ของห้องสมุดแน่นอนครับว่าเป็นที่อ่านหนังสือ
แต่กฎของห้องสมุดเรื่องที่ว่าห้องสมุดต้องเงียบอันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นกฎข้อบังคับเลยหรือเปล่า

แต่ที่รู้ๆ คือห้องสมุดควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการอ่าน
แต่ความเงียบนี่เป็นคำตอบของการสร้างบรรยากาศหรือปล่าว อันนี้คงต้องถามเพื่อนๆ ดูนะ

ห้องสมุดบางที่บอกว่าการสร้างบรรยากาศในการอ่านหนังสือ คือ
– การทำให้สถานที่นั้นๆ เงียบ จะได้อ่านอย่างมีสมาธิ
– การมีเพลง หรือดนตรีคลอเบาๆ จะช่วยให้การอ่านหนังสือดีขึ้น
– การเปิดโอกาสให้คนคุยกันในห้องสมุด ปรึกษากันในห้องสมุด จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้

แล้วตกลงห้องสมุดควรจะเงียบ หรือ มีเสียงเพลง หรือ เปิดโอกาสให้คุยกันดีหล่ะครับ

สำหรับผมขอแนะนำว่าห้องสมุดควรจัดพื้นที่ให้รองรับบรรยากาศการอ่านหลายๆ รูปแบบนะครับ
เช่น พื้นที่ด้านล่างเปิดเพลงคลอเบาๆ พื้นช่วยในการอ่าน พื้นที่ด้านบนเป็นพื้นที่อ่านแบบเงียบๆ
นอกจากนี้ยังต้องจัดห้องสำหรับอ่านเป็นกลุ่ม และเปิดโอกาสให้พูดคุยกันได้

แค่นี้ห้องสมุดก็มีบรรยากาสสำหรับการอ่านครบทุกรูปแบบแล้วครับ

เรื่องของเรื่อง “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ”

หลังจากที่อ่านบทความ “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ” แล้ว
ผมรู้สึกว่า ผมมีความเห็นที่แย้งกับบทความนี้ และยังมองต่างมุมกับบทความนี้อยู่
เลยจำเป็นต้องเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนึง

? Read more

เกณฑ์การเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

มีคนขอคำปรึกษาเรื่องเกณฑ์ในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากมาย
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ หลายๆ คนฟัง

ils-for-library

จากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มา ผมจึงขอเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ
การตั้งเกณฑ์ของการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ เรื่องนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฟังค์ชั่นการใช้งาน และส่วนเสริมต่างๆ

ด้านฟังค์ชั่นการใช้งาน ผมเคยเขียนเกณฑ์แบบคร่าวๆ ดังนี้
(เวอร์ชั่นนี้อาจจะต้องปรับปรุบเยอะหน่อยนะครับ เพราะว่าเป็นสเปคที่เขียนไว้เมื่อสามปีที่แล้ว)

library-automation

1. ระบบงานจัดหา (Acquisition)
1.1 สามารถจัดการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ ทวงถามศูนย์หนังสือได้
1.2 จัดการ ควบคุมรายการและติดต่อสื่อสารผู้จำหน่ายร้านค้า
1.3 สามารถตรวจสอบรายการสั่งซื้อโดยการแก้ไขได้ก่อนการสั่งซื้อ
1.4 จัดการเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน
1.5 สามารถสร้างระบบความปลอดภัยในโมดูลได้
1.6 กำหนดสิทธิ์และอนุญาตให้เฉพาะบุคคลได้


2. ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ (Cataloging)

2.1 บันทึกรายการบรรณานุกรมได้ในรูป MARC และ Non- MARC
2.2 สามารถเพิ่ม ลด แก้ไข Tag, Subfield ใน MARC ได้
2.3 เชื่อมต่อกับระบบ Thesauri ได้จากหน้าจอ Catalog
2.4 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ MARC มาตรฐานได้
2.5 จัดเก็บรายละเอียดสารสนเทศฉบับสมบูรณ์ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ฯ
2.6 สามารถป้อนข้อมูลจากสื่อต่าง/สื่ออิเล็คทรอนิกส์มาอยู่ในรูปแบบ MARC
2.7 มีระบบ Authority Control ตรวจสอบรายการผู้แต่ง หัวเรื่องให้เป็นมาตรฐาน


3. ระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

3.1 สามารถกำหนดระเบียบการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดได้ตามประเภทสมาชิก
3.2 สามารถกำหนดเวลาการยืมวัสดุแต่ละประเภทได้
3.3 สามารถเก็บประวัติรายละเอียดการยืมของสมาชิกแต่ละคนได้
3.4 สามารถดูรายการยืมและรายการจองของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
3.5 สามารถกำหนดปฎิทิน เพื่อจัดการเรื่องกำหนดวันส่งได้
3.6 สามารถจัดการเกี่ยวกับค่าปรับ
3.7 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืมวัสดุห้องสมุดในช่วงเวลาสั้นได้
3.8 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนวารสารในลักษณะ In-House-Use
3.9 สามารถพิมพ์รายงานและสถิติได้ตามความต้องการ
คุณลักษณะของระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

1) กลุ่มผู้ใช้เป็นทั้งแบบ National และ Local
2) สามารถทำการยืม-คืน โดยใช้ระบบบาร์โค้ดหรือเลข ID ของสมาชิกห้องสมุด
3) สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดของผู้ใช้บริการได้
4) สามารถทำการคำนวณเงินค่าปรับได้โดยอัตโนมัติ

4. ระบบงานวารสารและเอกสาร (Serial Control)
4.1 สามารถใช้ข้อมูล Vendor ร่วมกัน
4.2 สามารถสร้างรายการ Holding วารสารและให้แสดงผลที่ OPAC
4.3 สามารถตรวจสอบสถานะของวารสารแต่ละรายชื่ออยู่ในสถานะใด
4.4 สามารถจัดระบบควบคุมและคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าบอกรับวารสาร ทำบัญชีวารสาร
4.5 สามารถออกจดหมายทวงวารสาร ไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนได้

5. ระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากร (Online Public Access Catalog)
5.1 สนับสนุนการทำงานแบบ Internet Web Clients
5.2 สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยค้นจากชื่อผู้แต่ง นิติบุคคล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือและคำสำคัญ
5.3 สามารถสืบค้นแบบเทคนิคตรรกบูลีน
5.4 สามารถสืบค้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรียง ลำดับอักษรตามพจนานุกรม
5.5 สนับสนุนการสืบค้นผ่านมาตรฐานโปรโตคอล Z39.50

ที่กล่าวมานี่ก็เป็นเพียงการทำงานเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ควรจะเป็นเท่านั้นนะครับ
ส่วนที่เป็นองค์ประกอบเสริมก็มีอีก เช่น การรองรับข้อมูลในอนาคต ฐานข้อมูลที่ใช้ ระบบเครือข่าย ฯลฯ

นอกจากนี้ผมได้ลองมานั่งคิดๆ ดู และลองจัดกลุ่มดู
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรอีกบ้าง
– มาตรฐาน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรจะรองรับเรื่องมาตรฐานอีกมากมาย
เช่น MARC21, ISO2709, Z39.50 ฯลฯ

– ออนไลน์ ระบบห้องสมุดอัตโนมัตที่ดีควรทำงานได้ในระบบออนไลน์ ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์
เช่น สืบค้นออนไลน์ จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ต่ออายุการยืมออนไลน์

– บริหารจัดการระบบที่ดี ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีระบบที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลภายในได้ที
ทั้งในเง่ของการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้ เช่น สถิติการใช้งาน รายงานการใช้งาน และเก็บข้อมูลการเข้าใช้งาน

– การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีฟังค์ชั่นที่รองรับในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับห้องสมุดอื่นๆ

– อนาคต ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีในอนาคตด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะลองนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีอยู่ในท้องตลาดมาวิจารณ์ให้อ่านแล้วกัน

ปล. หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากกว่านี้
สามารถเสนอความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

พฤติกรรมของคนบางประเภทบนรถเมล์

ทุกๆ วันไม่ว่าผมจะเดินทางไปไหน ผมมักจะเลือกใช้บริการของรถเมล์เป็นหลัก
และทุกๆ ครั้งที่ผมใช้บริการบนรถเมล์ ผมก็มักจะเจอพฤติกรรมแปลกๆ มากมาย

ภาพรถเมล์จาก http://news.sanook.com/story_picture/picture/news/300823/2-2/2/
ภาพรถเมล์จาก http://news.sanook.com/story_picture/picture/news/300823/2-2/2/

เรื่องที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผม
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนพันธุ์นี้อยู่บนโลก

เรื่องมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่ผมเดินทางกลับบ้านวันนี้
บนรถเมล์ที่มีคนจำนวนพอสมควรยืนกันบ้างนิดหน่อย

รถเมล์ขับไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีชายแก่คนนึงและชายตาบอดเดินขึ้นมา
ชายทั้งคู่เดินขึ้นมาบนรถเมล์โดยที่ไม่มีใครสนใจและไม่มีใครมีน้ำใจลุกให้นั่งเลย

ผมสงสัยมากกว่าสังคมนี้เป็นไรไปแล้วเนี้ย
ทั้งๆ ที่คนที่นั่งแถวนั้นก็วัยรุ่นชายทั้งนั้น
แต่ไม่มีใครแสดงความเสียสละในการลุกเลย

ผมเองวันนี้ก็ไม่ค่อยสบาย รู้สึกปวดหัวอยู่นิดหน่อย
จึงต้องลุกเพื่อแสดงความเสียสละแทน

แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ทำให้ผมสะเทือนใจเท่ากับเหตุการณ์ต่อจากนี้
นั่นคือ ผมต้องยืนจนเกือบถึงบ้านผม ซึ่งอีกไม่กี่ป้ายก็ถึงบ้าน
ทันใดนั้น ผมก็ได้ยินคำพูดของชายสองคนสนทนากันว่า

?ดูสิคนที่ลุกให้คนตาบอดนั่น มันยืนตลอดทางเลย?
?เออ สมน้ำหน้ามัน ดันอยากลุกให้เขานั่งเองนี่ ช่วยไม่ได้?

ผมซึ้งและประทับใจกับคำพูดของคนที่ไร้น้ำใจคนนั้นมาก
น้ำใจคุณไม่มีแล้วจิตใจยังสกปรกอีก
แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ผมว่าไอ้คนพันธุ์นี้มันคงพิการทางใจ หรือสมองแน่ๆ

แต่ช่างเหอะครับ สักวันถ้าเขาแก่ลง หรือวันใดที่เขาพิการ
ผมก็หวังว่ากรรมคงตามสนองเขาบ้างนะ

ปล. วันนี้ขอคิดในด้านมืดสักวันนะครับ ทนไม่ได้จิงๆ

คู่มือเพื่อเตรียมสอบบรรณารักษ์อาชีพ

วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือคู่มือเตรียมสอบบรรณารักษ์แล้วกันนะครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายคนกำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน

librarianbook Read more

ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ

วันนี้มีงานฝึกอบรมงานนึงที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
งานจัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

skill

ข้อมูลทั่วไปของงานฝึกอบรม
ชื่องานภาษาไทย : ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : New Age Skills for Information Professionals
วันที่จัดงาน : วันที่ 30 มิถุนายน 2552
เวลาการจัดงาน : 8.30-16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ณ ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
จัดโดย ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่อยากเป็นนักสารสนเทศยุคใหม่
เนื่องจากในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหัวข้อที่เน้นทางด้าน web 2.0 ด้วย

ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า
– การบริหารความเปลี่ยนแปลงกับทักษะทันสมัยสำหรับนักสารสนเทศ
– Social web… การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์

ทักาะเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นต่อวงการวิชาชีพเราอย่างยิ่ง
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในต่อนี้
เพราะการทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีแผนการบริหารความเสี่ยง
พอเกิดวิกฤตกับเรา เราก็อาจจะคิดหรือแก้ปัญหาไม่ได้

ส่วนทักษะทางด้าน Social web ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลยครับ
เพราะว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างชุมชนออนไลน์ต่างๆ ด้วย

การอบรมในครั้งนี้วิทยากรของงานนี้คือ
– รศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
– น.ส. ประดิษฐา ศิริพันธ์

ค่าอบรมในครั้งนี้ก็ 1400 บาทเท่านั้นเองครับ
ถ้าเทียบกับความรู้ที่ได้ก็คุ้มค่าเหมือนกันนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/IPskill-training_20090630.pdf

Commart X’Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว

งานไอทีสุดยิ่งใหญ่ช่วงกลางปี ใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ
นั่นคือ งาน Commart X’Gen 2009

logo-commart

ข้อมูลทั่วไป
ชื่องานภาษาไทย : คอมมาร์ท เอ็กซ์เจน 2009
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Commart X’Gen 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 2-5 กรกฎาคม 2552
สถานที่ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

มหกรรมสินค้าไอทีระดับประเทศอีกงานที่ผมไม่อยากให้หลายๆ คนพลาด
งานนี้เป็นงานที่รวบรวมสินค้าไอทีราคาถูก และโปรโมชั่นมากมาย
แถมยังมีร้านค้ามากมายมาให้เราได้เทียบราคา เพื่อตัดสินใจในการเลือกซื้อได้อีกด้วย

ไปดูสปอตโฆษณาของงาน Commart X’Gen 2009 กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=J9swvBwosxE[/youtube]

นอกจากการจำหน่ายสินค้าไอทีแล้ว ในงานนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
– การประมูลสินค้าไอที
– การเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่
– กิจกรรมการอบรมสัมมนาในหัวข้อต่างๆ
– การให้คำปรึกษาการซื้อสินค้าไอที
ฯลฯ

งานนี้มี Free Work shop ที่น่าสนใจมากมายเลยนะครับ
– Hack iPhone ใช้ได้ ซ่อมเป็น
– Hack Google ปฎิบัติการตามล่าหาของฟรี
– Advanced Wireless Network เปิดโลกไร้สายง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณเอง
– Blog Marketing สร้างรายได้ผ่านบล็อก รวยได้แค่ปลายนิ้วคลิก

เอาเป็นว่างานดีๆ แบบนี้ผมก็ไม่อยากให้เพื่อนๆ พลาดหรอกนะครับ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานนี้ อ่านได้ที่ http://www.commartthailand.com/