ชีวิตฝืนๆ กับสิ่งที่ต้องเรียนรู้

ช่วงนี้ทำอะไร “ฝืนใจ” ตัวเองไปเยอะเหมือนกัน
หลายๆ เรื่อง ไม่อยากคิดมากก็เลยเอามาเขียนบล็อกให้อ่านกันเล่นๆ ดีกว่า

try-it

อาการ “ฝืน” คือ การทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ หรือไม่อยากทำ
อาการ “ฝืน” คือ อาการที่ต้องทนทำอะไรบ้างอย่างที่รู้สึกว่ามันขัดกับตัวเอง
อาการ “ฝืน” คือ การทำในสิ่งที่เกินขอบเขตความสามารถของตัวเอง

บางครั้งเมื่อคนเราต้องทำอะไร “ฝืนๆ” ก็มักจะทำในสิ่งๆ นั้นได้ไม่ดี
แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ถ้าทั้งชีวิตมีความสุข ทำอะไรก็ราบรื่นไปซะหมด ชีวิตนี้ก็คงไม่มีคุณค่า

บางอย่างถ้าไม่เคยทำ หรือไม่ชอบทำ เราจะต้อง :-
– อดทน
– เรียนรู้
– ปรับตัว
– พลิกแพลง
– ยอมรับ
ฯลฯ

เอาเป็นว่า “ฝืน” ทนและทำต่อไป

วันนี้ผมก็เลยขอแถมด้วยเพลงๆ นี้ให้เพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ชื่อเพลง ฝืน ของ ลิปตา

ฟังเพลง ฝืน ของ ลิปตา

เนื้อเพลงฝืน ของ ลิปตา

คอยห้ามใจทีไรมันก็ยังทนไม่ไหว
ทุกครั้งที่เราใกล้ชิดกัน ฉันเพ้อฝันไปถึงไหน

* อย่าไปอยู่ใกล้เธอ เตือนหัวใจตัวเอง
อย่ามัวฝันถึงเธอ แล้วฉันจะทำได้ไหม
อย่าคอยส่งยิ้มให้เธอ เธอคงไม่สนใจฉันสักนิดเลย

** แล้วฉันจะฝืน ฝืนหัวใจตัวเองได้ไหม
แล้วฉันจะฝืนความรู้สึกของฉันได้ยังไง
ไม่อาจจะฝืนความรักที่มันเอ่อล้น
ฉันนั้นต้องฝืนทนกล้ำกลืน
อยู่กับความขื่นขมที่เธอมองว่าฉันไม่มีตัวตน
ถึงจะยากเย็นเพียงใด ฉันก็คงต้องฝืนต่อไป

(*)

แล้วฉันจะฝืน ฝืนหัวใจตัวเองได้ไหม
แล้วฉันจะฝืนความรู้สึกของฉันได้ยังไง
ไม่อาจจะฝืนความรักที่มันเอ่อล้น
ฉันนั้นต้องฝืนทนกล้ำกลืน
อยู่กับความขื่นขมที่เธอมองว่าฉันไม่มีตัวตน
ถึงจะยากเย็นเพียงใด ต่อให้ฉันต้องทำอย่างไร
ฉันต้องทำให้ได้ ฉันต้องฝืนหยุดรักเธอ

(**)

ถึงจะยากเย็นเพียงใด ฉันก็คงต้องฝืนต่อไป
แล้วฉันจะฝืนได้ไหม ฉันนั้นต้องฝืนต่อไป

เอาเพลงมาให้ฟังเชิงบันเทิงนะครับ อย่าคิดมากไปหล่ะ
เพราะขอบอกก่อนว่า ผมไม่ได้ “ฝืน” เรื่องความรักก็แล้วกัน

มหิดล รับสมัครบรรณารักษ์

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กำลังรับสมัครบรรณารักษ์พอดีเลย
ผมก็เลยขอนำข่าวนี้มาแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบ เผื่อว่ามีใครอยากไปสมัคร

cmmu

ก่อนอื่นผมขอแนะนำรายละเอียดและหน้าที่ของบรรณารักษ์ในตำแหน่งนี้ก่อนนะครับ
เพื่อนๆ จะได้พิจารณาถูกว่าต้องการจะทำในตำแหน่งนี้แน่นอนหรือปล่าว

รายละเอียดของงานในตำแหน่งบรรณารักษ์

– ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งในรูปสิ่งพิมพ์และออนไลน์
– ช่วยหาแหล่งข้อมูลเพื่องานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา
– จัดทำสื่อการเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆโดยใช้โปรแกรมด้าน IT
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of Congress
– ให้ความรู้ในการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลต่างประเทศแก่นักศึกษา

เป็นไงบ้างครับ หน้าที่ของตำแหน่งนี้จริงๆ ก็เกือบทำงานครบเลยนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นงานบริการ งานจัดทำสื่อ งานวิเคราะห์เลขหมู่ ฯลฯ

และก่อนที่เพื่อนๆ จะไปสมัครงานบรรณารักษ์ของที่นี่
ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้อ่านคุณสมบัติของตำแหน่งนี้กันก่อนนะครับ (อ่านดีๆ หล่ะ)

คุณสมบัติประจำตำแหน่งบรรณารักษ์
– เพศชาย
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์
– สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานการทำงานได้ เช่น MS Office

เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเป็นพิเศษ
– มีประสบการณ์ในการทำงานห้องสมุด
– ผ่านการทำงานด้านการจัดหมวดหมู่แบบ L.C.
– สามารถเริ่มงานได้ทันที

สถานที่ในการปฏิบัติงาน คือ ห้องสมุดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ครับ

หากเพื่อนๆ สนใจในตำแหน่งงานนี้ เพื่อนๆ สามารถติดต่อไปที่
Khun Pornpat Sridhanabutr (Senior HR Manager)
College of Management, Mahidol University
69 Viphavadee Rd., Samsennai, Phayatai, Bangkok 10400
Tel : 0-2206-2000 Ext. 2052, 2512 Fax : 0-2206-2090, 0-2206-2095
E-mail : Ucmpornpat@staff2.mahidol.ac.thU; cmpurich@mahidol.ac.th

วันนี้ผมขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.cmmu.mahidol.ac.th/Job/index_JOB_detail.asp?Job=JOB_HRJ_014_022009

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีทุกคนครับ

แนะนำแหล่งสารสนเทศออนไลน์

แหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่ให้บริการสารสนเทศฟรีมีมากมาย
วันนี้ผมจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
เพื่อว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในเรื่องบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้

onlineinformation

แหล่งสารสนเทศออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น
– สารานุกรมออนไลน์
– ฐานข้อมูลออนไลน์
– เว็บไซต์บริการตอบคำถาม (FAQ)
– วารสารวิชาการออนไลน์
– สารสนเทศชี้แหล่ง
– เว็บไซต์สารสนเทศเฉพาะด้านออนไลน์
– เว็บไซต์องค์กรวิชาชีพ

และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่องค์ความรู้

ลองไปดูกันนะครับ ว่าผมแนะนำเว็บไหนบ้าง

1 Encyclopedia Britannica – http://www.britannica.com

2 Encarta – http://www.encarta.msn.com

3 First Monday – http://firstmonday.org

4 IBM Technical Journals – http://www.almaden.ibm.com/journal

5 Chicago Journal of Theoretical Computer Science – http://www.cs.uchicago.edu/research/publications/cjtcs

6 FreePatentsOnline.com – http://www.freepatentsonline.com

7 HighWire — Free Online Full-text Articles – http://highwire.stanford.edu/lists/freeart.dtl

8 BUBL Information Service – http://bubl.ac.uk

9 ERIC – Education Resources Information Center – http://www.eric.ed.gov

10 W3Schools – http://www.w3schools.com

11 NECTEC Courseware – http://www.nectec.or.th/courseware

12 LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System – http://www.learnsquare.com/index.php?mod=Message&op=aboutus

13 IEEE / IEE Electronic Library (IEL) – http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/guesthome.jsp

14 Blackwell – http://www.blackwell-synergy.com/servlet/useragent?func=showHome

15 Institute of Physics – http://www.iop.org

16 Aardvark – http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome

17 Agricola – http://www.nal.usda.gov

18 Arxiv.org E-Print Archive – http://arxiv.org

19 DOAJ= Directory of Open Access Journals – http://www.doaj.org

20 Issues in science & Technology Librarianship – http://www.library.ucsb.edu/istl/?

21 iToc – http://dbonline.igroupnet.com/itoc

22 Librarian’s Index – http://lii.org/search

23 National Human Genome Research Institute – http://www.genome.gov

24 National Science Foundation – http://www.nsf.gov

25 scirus – http://www.scirus.com/srsapp

26 Thai Patents – http://www.ipic.moc.go.th

27 Computers in Libraries – http://www.infotoday.com/cilmag/default.shtml

28 D-Lib Magazine – http://www.dlib.org

29 ฐานข้อมูล NetLibrary – http://www.netlibrary.com

30 Cambridge Journals Online (CJO) – http://journals.cambridge.org/action/login

31 Energy Citations Database (ECD) – http://www.osti.gov/energycitations

32 FreeFullText.com – http://www.freefulltext.com

33 HIV/AIDS Information – http://sis.nlm.nih.gov/hiv.html

34 POPLINE – http://db.jhuccp.org/ics-wpd/popweb

35 J-STAGE? – http://www.jstage.jst.go.jp/browse

36 NASA Astrophysics Data System (ADS) – http://adswww.harvard.edu

37 Scitation – http://scitation.aip.org

38 Windows Live Academic – http://academic.live.com

39 Answers.com – http://www.answers.com

40 Infoplease – http://www.infoplease.com

41 Database Dev Zone – http://www.devx.com/dbzone

42 Religion Online – http://www.religion-online.org

43 UNESCO Documentation Resources – http://unesdoc.unesco.org/ulis/index.html

44 Free online periodicals in social and human sciences – Full text specialized articles? – http://www.unesco.org/shs/shsdc/journals/shsjournals.html

45 EContentMag.com – http://www.ecmag.net

46 International Monetary Fund (IMF) Publications – http://www.imf.org/external/pubind.htm

47 Documents & Reports – All Documents? World Bank – http://www-wds.worldbank.org

48 world bank e-Library – http://www.worldbank.catchword.org

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อเว็บไซต์ทั้ง 48 รายชื่อ
ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะนำเว็บไซต์เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานได้นะครับ

ถ้ามีเว็บไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มให้วันหลังนะครับ
และถ้าเพื่อนๆ อยากจะแนะนำก็สามารถโพสลงในคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้นะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

วันนี้ผมขอแนะนำคำศัพท์ใหม่ในวงการบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
จริงๆ จะบอกว่าใหม่ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว คำศัพท์นี้เพื่อนๆ คงอาจจะคุ้นๆ บ้างนั่นแหละ

cybrarian

คำศัพท์ที่จะแนะนำวันนี้ คือ “Cybrarian”

ที่มาของ Cybrarian = Cyber + Librarian

คำว่า Cyber เป็นคำที่ใช้แสดงความเป็นโลกยุคใหม่ โลกสารสนเทศ โลกคอมพิวเตอร์
คำว่า Librarian ตรงตัวเลยครับ คือ บรรณารักษ์

ดังนั้นการนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “Cybrarian” ย่อมมีความหมายว่า
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

ซึ่งอยากได้ความหมายแบบไหนเพื่อนๆ ก็นิยามกันได้เลยนะครับ

จริงๆ แล้วนอกจาก Cybrarian
เพื่อนๆ อาจะได้ยินคำว่า Cybrary อีกก็ได้ นั่นคือ Cyber + Library นั่นเอง
หรือที่หลายๆ คนจินตนาการว่า เป็นห้องสมุดแห่งโลกคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์

แล้ว Cybrarian กับ Librarian มีอะไรที่ต่างกันบ้างหรือปล่าว
หลังจากที่ผมนั่งคิด และพิจารณาถึงความหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ผมว่าลักษณะการทำงาน และความรู้ต่างๆ Cybrarian คงมีเหมือนกับ Librarian นั่นแหละ
เพียงแต่จะเพิ่มในเรื่องของความเป็นโลกสมัยใหม่ลงไป เช่น
– ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
– มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
– รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ 2.0

เป็นไงกันบ้างครับ ทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา
หวังว่าคงไม่ยากเกินกำลังของบรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างพวกเรานะครับ
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ฝึกกันไป สักวันพวกเราก็จะกลายเป็น Cybrarian อย่างเต็มตัว

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]

งานสัปดาห์หนังสือแห่งอุบลราชธานี

ถ้าพูดถึงงานสัปดาห์หนังสือ หลายๆ คนอาจจะนึกถึงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพียงแห่งเดียว
แต่จริงๆ แล้วงานสัปดาห์หนังสือได้มีการจัดในหลายๆ จังหวัดนะครับ
อย่างเช่น จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผมจะขอแนะนำในวันนี้

ubonbookfair

ข้อมูลทั่วไปของการจัดงาน
ชื่องาน : งานสัปดาห์หนังสือแห่งอุบลราชธานี 2552
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Ubonratchathani Book Fair 2009
วันที่จัดงาน : ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน ถึง 5 กรกฎาคม 2552
สถานที่จัดงาน : ชั้นใต้ดิน สุนีย์ทาวน์เวอร์ จังหวัดอุบลราชธานี

ปกติถ้าเป็นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจะจัดโดย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
แต่ในงานนี้เป็นการจัดโดยความร่วมมือขององค์กรต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
เช่น ชมรมลูกเสือชาวบ้าน, สโมสรไลออนส์ จังหวัดอุบลราชธานี, NEC รุ่น 2 ฯลฯ


ภายในงานนี้ก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย
เช่น
– สำนักพิมพ์มาเปิดบูธจำหน่ายหนังสือในราคาพิเศษ
– มุมหนังสือเล่มโปรดของคนดังในจังหวัดอุบลราชธานี
– E-learning แนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนโลก
– งานเสวนาเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ
– การบรรยายเรื่อง ถ้าฝันจะเป็นนักเขียนชื่อดัง จะทำอย่างไร
– การวิจารณ์การเมืองไทย โดยผ่านตัวละครสามก๊ก

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมเพียงเสี้ยวนึงที่น่าสนใจนะครับ

นอกจากการจัดงานสัปดาห์หนังสือแล้ว
ทางจังหวัดอุบลราชธานีมีโครงการส่งเสริมการรักการอ่าน
โดยกำหนดให้คนในจังหวัดทั้งจังหวัดได้ร่วมกันอ่านหนังสือ 5 นาที
ในวันที่ 26 มิ.ย.52 ระหว่างเวลา 10.30-10.35 น.

(คล้ายๆ กับการรณรงค์ปิดไฟเลยนะเนี้ย แต่ก็ถือว่าช่างคิดนะครับ)

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ดีกว่า
ที่เหลือก็อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ที่อยู่ใกล้ๆ และเพื่อนๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
เข้าร่วมชมงาน และทำกิจกรรมการรักการอ่านด้วยกันนะครับ

บรรณารักษ์สุดเซ็กซี่ก็มีนะครับ

หลายคนบอกผมว่า “บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้หญิงเรียบร้อยๆ ใส่แว่น แถมยังดุอีกต่างหาก”
วันนี้ผมจะขอปรับทัศนคติเหล่านี้ เพราะเรื่องดังกล่าวมันก็ไม่จริงเสมอหรอกนะครับ

sexy-librarian

บางครั้งการมองภาพบรรณารักษ์เรียบร้อยมากๆ
ก็อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ดูเป็นเช่นนั้น

วันนี้ผมเลยขอนำภาพบรรณารักษ์ในแนวสวยๆ งามๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกันบ้าง
เผื่อว่าอาจจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ลงได้บ้าง

ไปดูรูปกันก่อนเลยดีกว่า

sexy-librarian-1 sexy-librarian-2

sexy-librarian-3 sexy-librarian-4 sexy-librarian-5

เป็นไงบ้างครับรูปบรรณารักษ์สวยๆ งามๆ แบบนี้
พอจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ได้หรือปล่าวครับ

รูปเหล่านี้ผมสืบค้นจากเว็บไซต์แชร์ไฟล์รูปอย่าง Flickr ครับ
ผมใช้คำสืบค้น ว่า “Sexy Librarian
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมา ปรากฎว่าพบรูป “Sexy Librarian” จำนวน 676 ภาพ
ยังไงก็ลองเข้าไปดูกันนะครับที่ http://flickr.com/search/?q=sexy+librarian&m=text

หมายเหตุขอการเขียนบล็อกเรื่องนี้ ผมคงต้องประกาศเจตนารมณ์ไว้ก่อนนะครับว่า
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง (ดูแบบว่าขำขำนะ)
– สิ่งที่นำมาให้ดูมิได้เป็นการยั่วยุกิเลสของใครหลายๆ คน
– สิ่งที่นำมาให้ดูเป็นเพียงภาพซึ่งจริง หรือไม่จริงคงต้องไปพิสูจน์กันเอง
– สิ่งที่นำมาให้ดูไม่ได้ต้องการสร้างความแตกแยกในหมู่บรรณารักษ์
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพียงแค่ต้องการ ลบภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ลงบ้าง

ก็จากกันวันนี้ ผมก็ขอบอกกับเพื่อนๆ หลายคนว่า
“บรรณารักษ์แอบเซ็กซี่” ก็พอจะมีให้เห็นบ้างนะครับ อิอิ

งานสัมมนา eContent Management

วันนี้ผมมีงานสัมมนาดีๆ และฟรีๆ มาฝากเพื่อนๆ อีกแล้วครับ
เป็นงานสัมมนาด้านการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eContent)

oclc

ข้อมูลทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : eContent Management
งานนี้จัดโดย : Advanced Media Supplies Company (AMS)
วันและเวลาที่จัด : 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลายคนคงจะงงว่าผู้จัดงานนี้คือใคร? ทำไมถึงเกี่ยวกับการสัมมนาในครั้งนี้

ผมก็ขอเกริ่นๆ เรื่องราวของงานสัมมนาครั้งนี้สักนิดนะครับ
บริษัท AMS เป็นบริษัทที่ได้ประสานงานกับ OCLC และได้เป็นผู้แทนในการจัดการประชุมครั้งนี้ครับ
และทาง OCLC ก็ได้ส่ง Mr.Andrew Wang และ Miss Tsai Shu-En
เพื่อมาบรรยายแนวทางในการบริการ และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรห้องสมุดสมัยใหม่

หัวข้อที่น่าสนใจในการสัมมนาครั้งนี้


– One-stop Integrated OCLC Licensed eContent Management ประกอบด้วย First Search databases, ECO eJournals, NetLibrary eBooks, eAudiobooks, CAMIO ซึ่งจะอยู่บน Platform WorldCat.org เพียง platform เดียว

– Content DM – Digital Collection Management Software

– World Cat Local? -? the world’s richest database for discovery of materials held in libraries.

– Web Dewey ?? Online Decimal Classification (DDC) บน Internet

เห็นแค่หัวข้อแบบคร่าวๆ แล้วผมเองก็ชักจะสนใจจะไปงานนี้แล้วหล่ะครับ
หัวข้อที่ผมสนใจในครั้งนี้คือ การทำงานบน WorldCat.org
รวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ บน WorldCat.org

ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กันนั้นคือ Web Dewey
เป็นเรื่องของการจัดหมวดหมู่แบบตัวเลขทศนิยมบนสื่อออนไลน์

การสัมมนาครั้งนี้จริงๆ แล้วเขาจัด 3 วันนะครับ สะดวกวันไหน หรือสะดวกที่ไหนก็ลองติดต่อดูนะครับ

– วันพุธที่ 10 มิถุนายน? 2552 เวลา 9:00 น. ? 12:00 น.
ณ ห้องประชุม หอสมุดแห่งชาติ? (สำหรับบุคลากรห้องสมุดในองค์กร/สถาบัน/หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน)

– วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. -16.00 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารใหม่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(สำหรับบุคลากรห้องสมุดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ)

– วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำหรับบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัย)

เพื่อนๆ ที่สนใจงานสัมมนานี้ สามารถดาวน์โหลด จดหมายเชิญได้ที่นี่
— จดหมายเชิญ (ภาษาไทย) —
— จดหมายเชิญ (ภาษาอังกฤษ) —

นี่แหละครับ ห้องสมุดสมัยใหม่ตามแบบที่ผมอยากให้มีในเมืองไทย
ก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะมีองค์กรในไทยได้มีการจัดการข้อมูลในลักษณะนี้บ้างนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับกิจกรรมที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้
จะมีเพื่อนคนไหนไปบ้างน้า ผมจะได้ฝากเก็บเอกสารการสัมมนาครั้งนี้ให้ด้วย
เอาเป็นว่าใครจะไปก็ฝากบอกผมด้วยนะ จะขอบคุณมากมายเลย

เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) คือใคร

ช่วงนี้ในบล็อกผมมีคนค้นคำๆ นึงเยอะมากๆ
คำนั้นคือ คำว่า “Melvil Dewey คือใคร”
จึงเป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเขียนบล็อกในวันนี้

melvil

เมลวิล ดิวอี้ เป็นบุคคลที่สำคัญต่อวงการห้องสมุด และบรรณารักษ์
วันนี้ผมจะขอเล่าประวัติ และผลงานของบุคคลสำคัญท่านนี้

ประวัติส่วนตัวของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)

ชื่อเต็ม : Meville Louis Kossuth Deway
เกิดวันที่ : 10 ธันวาคม ค.ศ.1851
สถานที่เกิด : Jefferson County, New York

ประวัติการทำงานของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
1874 –> ผู้ช่วยบรรณารักษ์ที่ Amherst College (ปริญญาตรี)
1883-1888 –> หัวหน้าบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
1888-1906 –> ผู้อำนวยการห้องสมุดมลรัฐนิวยอร์ค
1890-1892 –> ประธานสมาคมห้องสมุดรัฐนิวยอร์ค (NYLA)
1888-1900 –> ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ค

ผลงานสำคัญของเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– ผู้คิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยม หรือ ระบบการจัดหมวดหมู่ดิวอี้
– ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA : American Library Association)
– ผู้จัดตั้งโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์แห่งแรก (มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนิวยอร์ก)
– ออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ฉบับแรก
– ผู้จัดตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งนิวยอร์ค (New York Library Association)
และกิจกรรมอื่นๆ ของวิชาชีพบรรณศาสตร์

เป็นยังไงกันบ้างครับผลงานแค่นี้บ่งบอกความยิ่งใหญ่ของบุคคลท่านนี้หรือเปล่า
ผมเองพอได้เขียนบทความเรื่องนี้ ทำให้ผมได้รู้จักผลงานในวงการบรรณารักษ์ของท่านมากขึ้น
นับว่าเป็นบุคคลที่ผมต้องขอคารวะแด่บุคคลท่านนี้เลย

ก่อนจากกันวันนี้ หวังว่าคงตอบคำถามเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนนะครับ
“Melvil Dewey คือใคร”
“Melvil Dewey คือ บุคคลที่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ถือว่าเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ครับ”

รวมเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– American Library Association -? http://www.ala.org
– Library Journa – http://www.libraryjournal.com
– New York Library Association – http://www.nyla.org

รวมเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/เมลวิล_ดิวอี้
http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=381255&Ntype=5
http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey

ฝึกงาน 4 : ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิต

วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในอีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นคือ การฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานองค์กร

training-library4

จริงๆ แล้วการฝึกงานชนิดนี้ ผมคิดว่าก็สำคัญไม่แพ้การฝึกงานแบบอื่นๆ เลยนะครับ
เนื่องจากเป็นการฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานในองค์กร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
การฝึกงานในลักษณะนี้ไม่ต้องอาศัยเนื้อหาที่เรียนมากนัก หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ใช้ความรู้ในตำรา

สรุปใจความสำคัญของการฝึกงานในลักษณะนี้คือ “ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในองค์กร”

พอกล่าวแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วฝึกแบบนี้เราจะได้อะไร

งั้นผมขอยกตัวอย่างสักกรณีให้เพื่อนๆ คิดแล้วกัน (บางคนอาจจะเจอกับตัวก็ได้)

“มีนักศึกษาจบใหม่มา เรียนเก่งมาก ฝึกงานในห้องสมุดก็ทำงานได้ดีมาก
แต่วันที่เขาจบออกมาแล้ว มีบริษัทแห่งหนึ่งรับเด็กคนนี้ไปทำงาน
ปรากฎว่า เด็กคนนี้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้
เช่น ชอบทำงานคนเดียว ตัดสินใจคนเดียว ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ฯลฯ
ทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความอึดอัด และงานที่ได้รับมอบหมายก็ทำได้ไม่เต็มที่”

เป็นไงบ้างหล่ะครับ พอเห็นภาพ หรือ เคยเจอบ้างมั้ย

ตอนนี้เท่าที่รู้มา หลายมหาวิทยาลัย ก็มีนโยบายให้เด็กไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้งานเหมือนกัน
เป็นการฝึกงานตามความต้องการของนักศึกษา ไม่จำเป็นต้องฝึกในสายที่เรียน
แบบนี้แหละครับที่ผมจะขอแนะนำว่า “ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตการทำงาน”

การฝึกงานในลักษณะนี้ ปกติเขาฝึกเพื่ออะไร
– กระบวนการในการติดต่อสื่อสาร
– การทำงานร่วมกันเป็นทีม
– การเสนอความคิดเห็น
– การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
– รู้จักการทำงานในองค์กรทั่วไป
– ฝึกระเบียบวินัยในการทำงาน
– การจัดการตารางเวลาของตนเอง

และอื่นๆ แล้วแต่เพื่อนๆ จะคิดได้อีก

โดยสรุปแล้ว การฝึกงานแบบนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องฝึกงานในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาเรียน
เช่น เด็กเอกบรรณารักษ์ไปฝึกงานการโรงแรมก็ได้ หรือ เด็กวิศวะแต่ไปฝึกบริษัทที่เกี่ยวกับสถาปัตย์ ก็ได้
เพราะว่าเราไม่ได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้ในการฝึก แต่เราเอาชีวิตไปฝึกเพื่อสร้างประสบการณ์มากกว่า

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. บริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น เครือซีพี, ปูนซีเมนต์ไทย,?
2. บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นคนต่างชาติ
3. สำนักงานใหญ่ขององค์กร เช่น ธนาคารกสิกรสาขาใหญ่,?

การฝึกงานในสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะไม่ใช่สายงานของเรา
แต่เราก็สามารถเรียนรู้หลักการ และนำสิ่งที่ได้จากการฝึกงานไปประยุกต์ใช้
มีคำกล่าวว่า ?ถ้าเราทำตัวเป็นน้ำ เราก็จะเข้ากับภาชนะได้ทุกรูปแบบ?
หรือ ?จงทำตัวเป็นแก้วน้ำ คอยรองรับน้ำ และอย่าทำให้แก้วของเราเต็ม?
ผมเชื่อว่านอกจากความรู้ในวิชาชีพแล้ว ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตก็เป็นอีกตัวแปรของความสำเร็จ เช่นกัน