แวะมาดูศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ ใน ม.พายัพ

วันก่อนได้เล่าเรื่อง “ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ” ไปแล้ว
วันนี้ผมขอนำเสนอผลของการไปเยี่ยม ม.พายัพ อีกสักหน่อยแล้วกัน
ซึ่งหน่วยงานที่ผมได้ไปชมก็คือ “ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดห้องสมุดนั่นเอง

ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ข้อมูลภาคเหนือแห่งนี้
สถานที่ : ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ? สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแม่คาว
ถนนซูเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 0-5324-1255, 0-5385-1478
เว็บไซต์ : http://lib.payap.ac.th/ntic/

ผมขอเล่าข้อมูลคร่าวๆ ก่อนนะครับ เกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ
ที่นี่มีขอบเขตในการจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเหมือนกัน
โดยที่นี่เลือกเก็บข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ 8 จังหวัดเท่านั้น
ซึ่งต่างจาก ม.เชียงใหม่ ที่มีศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นและจัดเก็บ 17 จังหวัดภาคเหนือ

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ ได้ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ
โดยภายในห้องมีการจัดสัดส่วนที่ค่อนข้างลงตัว แยกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
– ส่วนแสดงนิทรรศการสารสนเทศท้องถิ่น
– ส่วนแสดงหนังสือสารสนเทศท้องถิ่น
– ส่วนแสดงสื่อมัลติมีเดียสารสนเทศท้องถิ่น

เรื่องการจัดการ Collection ข้อมูลท้องถิ่นในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ
มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับท้องถิ่น คือ รวมมาไว้ที่ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ


วิธีการจัดการ

1. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่น จะถูกจัดเก็บที่ศูนย์สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือ
2. ทรัพยากรสารสนเทศในศูนย์สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือ จะมีการจัดหมวดหมู่คือแบบดิวอี้ (หนังสือทั่วไป)
3. มีการจัดทำสารสนเทศท้องถิ่นขึ้นโดยอาศัยภาควิชาที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยคอยช่วย

นอกจากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศภายในศูนย์สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือแล้ว
ผมยังได้ความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ทางศูนย์สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือผลิตด้วย ในชื่อชุดว่า “Lanna Wisdom”
ซึ่งนับว่าเป็นการผลิตสื่อสารสนเทศด้านท้องถิ่นที่น่าสนใจมากอีกชุดหนึ่งของภาคเหนือ

“Lanna Wisdom” ภูมิปัญญาล้านนา
ประกอบด้วยองค์ความรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
(1) การแกะสลักไม้
(2) เครื่องจักรสาน
(3) เครื่องปั้นดินเผา ศิลาดล
(4) โคมและตุง
(5) กระดาษสา
(6) เครื่องเขิน
(7) เครื่องเงิน

นอกจากได้ดูสื่อสารสนเทศที่แสนจะมีประโยชน์แล้ว
เจ้าหน้าที่ของที่นี่ยังได้แนะนำเว็บไซต์ของศูนย์สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือด้วย
ซึ่งด้านในประกอบด้วยองค์ความรู้อีกมากมายที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ต่างๆ เช่น
– ข้อมูลอาหารพื้นเมือง
– ข้อมูลและเนื้อเพลงพื้นเมือง
– ไฟล์รูปภาพเก่าๆ ในท้องถิ่น
– บทความน่ารู้ที่เกี่ยวกับท้องถิ่น

แต่ไฟล์เหล่านี้สามารถเปิดได้ภายในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพเท่านั้นนะครับ (intranet)
แต่ถ้าเพื่อนๆ เข้าจากที่บ้าน หรือที่อื่นๆ ก็จะได้ข้อมูลเบื้องต้นของสารสนเทศท้องถิ่นเท่านั้นนะ

เอาเป็นว่าการพาชมของผมในครั้งนี้ ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ
คงจะเกิดไอเดียในการจัดการศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นของเพื่อนๆ บ้างนะครับ

สำหรับวันนี้ผมขอปิดบันทึกการเดินทางไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า
แล้วผมจะมาเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวห้องสมุดวันหลังอีกนะครับ

ชมภาพภายในศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพทั้งหมด

[nggallery id=10]

Exit mobile version