สัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 : บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ เข้ามาถามเรื่องการจัดกิจกรรมสำหรับงานสัปดาห์ห้องสมุดแห่งประเทศไทยเยอะมาก
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ตอบผ่านบล็อกของผมเพื่อเป็นแนวให้ทุกๆ คนเลยนะครับ

library-week

ปีนี้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 ในเดือนสิงหาคม
โดยใช้หัวข้อในการจัดงานของปีนี้ คือ “บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ”
สถานที่ในการจัดงาน คือ ห้องสมุดทุกประเภท ทั่วประเทศ (ทุกห้องสมุดรับนโยบาย)

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ? และพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. จัดแสดงสินค้าที่ประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชน จัดทำขึ้น? ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
3. จัดการบรรยาย / อภิปราย / เสวนา / เรื่องอาชีพต่างๆ ที่ บุคคล / ครอบครัว จะจัดทำ และจำหน่ายเป็นรายได้
4. จัดนำชมห้องสมุด

หลังจากที่ดูจากกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยแล้ว
ผมก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิดนึงนะครับ

1. เรื่องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติอันนี้แน่นอนครับเดือนสิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ เพื่อนๆ ควรจะต้องจัดกิจกรรมสัปดาห์วันแม่แห่งชาติอยู่แล้ว

2. การนำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
อันนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยที่นะครับ แต่เพื่อให้เข้ากับธีมของงานก็อาจจะทำได้เช่นกัน

3. การบรรยายเรื่องอาชีพในห้องสมุดอันนี้ก็โอเคนะครับ
จะให้ดีห้องสมุดควรลองประสานงานกับวิสาหกิจชุมชนดูสิครับ แล้วจะได้วิทยากรมาบรรยาย

4. นำชมห้องสมุด อันนี้แม้ว่าจะไม่ใช่สัปดาห์ห้องสมุดก็ต้องจัดอยู่แล้วครับ

และในฐานะที่ผมเป็นบล็อกเกอร์ของชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์
ผมก็ขอร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดกับเขาด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ของผมจะจัดกิจกรรมบนบล็อกและเวทีสาธารณะด้านนอกแล้วกันนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดที่จะจัดโดย Libraryhub (ในเดือนสิงหาคม)
– จัดงาน Libcamp#2 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยใช้ธีมเกี่ยวกับ บรรณารักษ์บล็อกเกอร์กับการพัฒนางานห้องสมุด
-เชิญผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ มาสัมภาษณ์ถึงความสำเร็จ และประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด (4 คน : 4 วัน)
– พาทัวร์ห้องสมุดชุมชนที่มีส่วนต่อการพัฒนาอาชีพ และพาทัวร์ห้องสมุดขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
– กิจกรรมคลิ๊กนี้เพื่อแม่ (ในช่วงวันแม่) จะให้ช่วยกันคลิกถวายพระพร
– สำรวจหนังสือเล่มโปรดของเพื่อนๆ

เอาเป็นว่าเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า แต่ผมรับรองว่าในเดือนสิงหาคม
Libraryhub ในธีมของงานสัปดาห์ห้องสมุด
จะต้องทำให้เพื่อนๆ ได้ไอเดียในการจัดกิจกรรมอีกเยอะเลยทีเดียว

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552 โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดได้ที่ – เอกสารจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552

สำหรับวันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมดีๆ แล้วกันนะครับ
หากต้องการคำปรึกษาก็อีเมล์มาถามได้ หรือ MSN ถ้าสะดวกผมจะตอบทันที
เตรียมนับถอยหลังงานสัปดาห์ห้องสมุดได้แล้วนะครับ บ๊ายบาย

งานเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

งานนี้ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงเสวนาด้วย เลยขอเอามาประชาสัมพันธ์สักหน่อยดีกว่า
งานนี้หลักๆ ก็คือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

speciallibrarystandard

ข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : โครงการ “การเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันศุกร์ที่? 31 กรกฎาคม? พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมหอสมุดและจดหมายเหตุ? ธนาคารแห่งประเทศไทย
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

งานนี้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์? สารสนเทศศาสตร์? และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 70 คน
มาเพื่อ พิจารณา (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะนำไปประกาศและเผยแพร่ต่อไป

กำหนดการของงานเสวนาในครั้งนี้ มีดังนี้
ช่วงเช้า – การเสวนาและวิพากษ์? เรื่อง? บทบาทมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะของประเทศไทย
โดย ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ, รองศาสตราจารย์ดร.เอื้อน? ปิ่นเงิน
และมีผู้ดำเนินรายการ คือ ผศ. วรางคณา อินทรพิณทุวัฒน์

ช่วงบ่าย – ประชุมกลุ่มย่อย? พิจารณาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย ก่อนจบรายการในวันนั้น

เอาเป็นว่าผลของการเสวนาในวันนั้น ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็แล้วกันนะครับว่า
“ผลสุดท้ายแล้วหน้าตาของมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 จะออกมาเป็นอย่างไร”
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ผมขอเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ.2552 สักหน่อยดีกว่า

สรุป (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 ซึ่งประกอบด้วย 9 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์
หมวดที่ 2 การบริหาร
หมวดที่ 3 งบประมาณ
หมวดที่ 4 บุคลากร
หมวดที่ 5 ทรัพยากรสารสนเทศ
หมวดที่ 6 อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
หมวดที่ 7 การบริการ
หมวดที่ 8 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หมวดที่ 9 การประเมินคุณภาพห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลักษณะหน้าตาของหมวดต่างๆ จะคล้ายๆ กับมาตรฐานของห้องสมุดประชาน 2550 เลยนะครับ
แต่ต่างกันตรงที่ข้อสุดท้ายนั่นเอง คือ เรื่องของ “การประเมินคุณภาพห้องสมุด” ประเด็นนี้สิครับน่าสนใจ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะขอเอาประเด็นนี้มาเล่าต่อแล้วกันนะครับ
สำหรับคนที่ได้ไปงานนี้ก็เจอกันในงานนะครับ

สรุปผลโหวตการจัดงาน Libcamp#2

จากวันก่อนที่ผมเปิดให้โหวตเรื่องวันและเวลาในการจัดงาน Libcamp#2
และผมก็ได้กำหนดการสิ้นสุดการโหวตเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

libcamp2-date-time

ผลของการโหวตก็มีดังนี้
– วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 จำนวน 57%
– วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงเช้า 8.00 – 12.00 จำนวน 29%
– วันทำงานปกติ (จันทร์-ศุกร์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 จำนวน 14%

การโหวตในครั้งนี้จำนวนคนที่โหวตน้อยมาก
ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ ให้ความสนใจในการโหวตเรื่องนี้กันจริงแค่ไหนนะครับ

แต่สุดท้ายผมคงต้องยึดถือการโหวตครั้งนี้แน่นอน ถึงแม้ว่าจำนวนคนที่โหวตจะเป็นเช่นไร
สรุปแล้ววันและเวลาที่เหมาะสมต่อการจัดงาน Libcamp#2 มากที่สุด คือ
ในช่วง “วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00”

จากการที่คุยกับทางทีมงานผู้ร่วมจัดงาน
วันที่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็คงจะได้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 นะครับ
เรื่องสถานที่ขอผมประสานงานดูอีกทีนะครับ แล้วจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

หัวข้อและธีมของงานอย่างที่เคยเล่าให้ฟังแล้วนะครับ
ว่าคราวนี้เราจะจัดธีมเกี่ยวกับเรื่องของบรรณารักษ์บล็อกเกอร์
เอาไว้ได้ข้อสรุปมากกว่านี้แล้วผมจะนำมาประกาศในบล็อกนี้อีกทีนะครับ

ยาอะไรบ้างเนี้ย…เยอะจัง

ก่อนอื่นต้องขออภัยเพื่อนๆ ที่เมื่อวานผมไม่ได้อัพบล็อก
สาเหตุเกิดจากเมื่อวานช่วงเย็น ผมไม่สบายหนักมากจนต้องเข้าโรงพยาบาล

medical

อาการของผมเมื่อวานนี้
– ตัวร้อน มีไข้
– ปวดหัว เวียนศรีษะ
– อาหารไม่ย่อย อาเจียน

ตอนแรกก็ลุ้นอยู่นะครับว่าจะติดไข้หวัด 2009 หรือปล่าว
แต่หมอก็คอนเฟิมมาว่า ไม่ได้เป็นหรอก เพราะว่าไม่มีอาการไอ หรือจาม

จากการที่ตรวจหมอสรุปว่า
– เป็นไข้หวัดธรรมดา
– อาหารเป็นพิษ
– พักผ่อนไม่เพียงพอ

หลังจากที่ตรวจเสร็จ หมอก็จ่ายยามาโดยมียาดังต่อไปนี้
– ยาแก้วิงเวียน
– ยาขยายหลอดเลือด
– ยาแก้ปวด (พารา)
– วิตามินซี ขนาด 500 มิลลิกรัม
– ผงเกลือแร่

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนบล็อกแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ
ขอตัวไปพักผ่อนก่อน เพราะขณะที่ผมเขียนตอนนี้ก็ยังคงมึนศรีษะอยู่

ปล. ขอเกริ่นไว้ก่อนเลยดีกว่าว่าพรุ่งนี้ผมอาจจะขออนุญาติงดอัพบล็อกอีกวันนะครับ

หลักสูตรปริญญาโทด้านห้องสมุดดิจิทัลมีแล้ว…

ผมได้ติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนด้านห้องสมุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผมเองก็ไม่เคยเห็นหลักสูตรไหนที่ทันสมัยเท่ากับหลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้

ait-digital-library Read more

แบบสอบถามเรื่องโปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

วันนี้ผมได้รับแบบสอบถามมาชิ้นนึงจาก อีเมล์กลุ่มของบรรณารักษ์ทั่วโลก
แบบสอบถามดังกล่าวได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

oss4lib Read more

ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน

ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด

seattle_library_philipperuault_oma_270307

จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้

คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ

– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์


– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร

ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?

ตามหาศีล 5 ในห้องสมุด

เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง นั่นก็คือ “วันอาสาฬหบูชา”
ผมจึงขอเขียนเรื่องห้องสมุดที่สอดคล้องกับแง่คิดในศาสนาพุทธสักหน่อยแล้วกันนะครับ

dhamma

ธรรมะที่ผมจะนำมาเขียนในวันนี้
เป็นธรรมะที่ทุกคนต้องรู้จักกันดี นั่นก็คือ “การรักษาศีล 5” นั่นเอง

มาทบทวนกันหน่อยดีกว่า ว่าศีล 5 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. งดเว้นจากการลักทรัพย์
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. งดเว้นจากการพูดปด
5. งดเว้นจากการเสพของมึนเมา

เอาเป็นว่าเมื่อเพื่อนๆ รู้จักความหมายและส่วนประกอบของคำว่า “ศีล5” แล้ว
ทีนี้ผมก็อยากจะลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ในห้องสมุดบ้าง
อยากจะรู้เหมือนกันว่าผมจะได้หนังสือเล่มไหนไว้อ่านบ้าง

search

เริ่มแรกผมเข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากนั้นผมก็ค้นคำว่า “ศีล 5” ในหน้า OPAC ของห้องสมุด
โดยผมใช้ตัวเลือกในการค้นว่า ให้ค้นจาก Keyword

ผลที่ออกมาก็ทำให้ผมได้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” มากมาย
แต่ผมขอเลือกนำมาให้เพื่อนๆ อ่านแค่ 8 เรื่องนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำ 8 เล่ม มีดังนี้

1. การพัฒนางาน?ด้วย?ระบบ? RE-ENGINEERING, AIC, QC, ?ฯลฯ? ?และ?ประยุกต์มรรคมีองค์? 8 ?ของพระพุทธเจ้า? ?คุณธรรม? ?รักเหนือรัก? ?หรื่อ? ?คุณธรรม? ?สาราณียธรรม? 6 ?เพื่อพุทธพจน์? 7 ?และ?ระบบบุญนิยม? ?ใน?ระดับ? ?ศีล? 5 ?ของศาสนาพุทธ? ?เพื่อการบริหารงาน?ให้?ประสบผลสำ?เร็จ

2. รวมธรรมะ

3. ?อานิสงส์ศีล? 5?

4. อนุสรณ์ฌาปนกิจศพ? ?พระครูศีลสารวิมล? (ล้วน? ?สีลรา?โม)?4-5 ?เมษายน? 2535.

5. มลทินของใจ?กับ?ศีล? 5 ?คือสมบัติของมนุษย์

6. พระราชปุจฉา? ?ใน?ชั้นกรุงรัตนโกสินทร์? ?ตั้งแต่รัชกาลที่? 1 ? ?รัชกาลที่? 5

7. รายงานการวิจัยอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู? ?การไปวัด? ?การรักษาศีล? 5 ?และ?การนั่งสมาธิ? ?ต่อ?ความ?กตัญญูกตเวที

8. กฎแห่งกรรม?กับ?ศีล? 5

สรุปวันนี้ผมก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ไว้สำหรับอ่านแล้ว
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีหนังสือที่เกี่ยวกับ ศีล5″ ไว้อ่านหรือยัง
ลองทำตามที่ผมบอกแล้วเอาชื่อเรื่องมาอวดกันบ้างนะครับ

สุดท้ายนี้ผมก็ขออนุโมทนาสาธุกับเพื่อนๆ ทุกคนที่รักษาศีล 5 ในวันนี้ครับ

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน…

บางครั้งการทำงานของผมมันก็มีอุปสรรคและเรื่องที่ทำให้ท้อมากมาย
แต่ทุกครั้งที่ได้ฟังเพลงนี้ผมจะมีกำลังใจและต่อสู้กับอุปสรรคเหล่านั้นได้

live-and-learn Read more

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 4

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 4
ออกในเดือนมิถุนายน 2552

libmag24

ผ่านมาปีครึ่งแล้วนะครับ นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวจนถึงวันนี้
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์แห่งนี้ก็มีการนำเสนอเรื่องราวของวงการอย่างต่อเนื่อง
ฉบับนี้ก็เช่นเดียวกัน คอลัมน์พาเที่ยว สัมภาษณ์ และบทความแปล ยังคงน่าสนใจเหมือนปกติ
เราไปดูกันเลยดีกว่าว่านิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ประกอบไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้
มีดังนี้

เรื่องจากปก – หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

เรื่องจากปก – ระบบหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร

พาเที่ยว – เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศเกาหลีใต้

พาเที่ยว – The journey of next generation library in CONSAL

พาเที่ยว – การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Workshop) ให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดในกรุงเวียงจันทน์

บทสัมภาษณ์ – การรับบรรณารักษ์แลกเปลี่ยนในโครงการ ALP training attachment programme

เรื่องแปล – บรรณารักษ์คิดบวก

เรื่องแปล – ไวรัสไอเฟรม ฝันร้ายของคนทำเว็บ !

เรื่องเล่า – เมื่อข้าพเจ้าได้ไปอบรมกรรมฐาน ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร

เรื่องเล่า – สุสานโฮจิมินห์ที่ไม่ควรพลาดชม

เรื่องเล่า – พิพิธภัณฑ์รองเท้าที่เมืองมาริกีน่า

และนี่ก็เป็นเพียงเนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ปี 2 ฉบับที่ 4 นะครับ
ผมก็ขอตัวไปอ่านเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ก่อนนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 4 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO4/index.html