วันนี้ผมมีงานอบรมดีๆ มาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ให้ทราบ
เกี่ยวกับการจัดการอบรมบรรณารักษ์ให้มีทักษะด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
Month: July 2009
แบบสอบถามการจัดงาน LibCamp#2
ประกาศรับสมัครบรรณารักษ์ ม.เกษตร
อย่างที่เคยบอกเพื่อนๆ ไปหล่ะครับว่าช่วงนี้งานบรรณารักษ์มีเยอะมากเลย
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งงานในวันนี้ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ไม่ว่าจะเป็นงานบรรณารักษ์ หรือ งานนักเอกสารสนเทศก็ตาม
คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
มาดูข้อมูลเบื้องต้นของการรับสมัครครั้งนี้กันก่อนนะครับ
ช่วงเวลาที่รับสมัคร : 24 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2552
(ยังเหลือเวลารับสมัครอีกครึ่งเดือนนะครับ)
ตำแหน่งที่รับสมัคร
– บรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายสารสนเทศ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
แต่เท่าที่ผมลองอ่านคุณสมบัติของตำแหน่งทั้งสามแล้ว
ผมว่าสองตำแหน่งด้านบนเขาจัดให้เพื่อคนที่จบบรรณารักษ์แบบตรงๆ นะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านบรรณฯ)
ส่วนในตำแหน่งที่สามเขาให้คนที่จบสาขาอื่นสมัครนะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านอื่นๆ)
เราลองมาดูทีละตำแหน่งดีกว่า ว่าเขาคาดหวังอะไรกันบ้าง
(ผมขอยกมาแค่สองตำแหน่งบนนะครับ ที่เหลือเพื่อนสามารถเปิดอ่านได้จาก link ด้านล่างนะ)
ตำแหน่งบรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และความสามารถในการบริการ
– มีความรู้และความสามารถในการวางแผนจัดกิจกรรม
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
ตำแหน่งนักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี (ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน)
– มีความสามารถในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษที่ดี
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
เป็นยังไงกันบ้างครับ แต่ละตำแหน่งไม่คาดหวังเกินไปใช่มั้ยครับ
ระดับปริญญาโทแล้วควรจะสามารถทำได้นะครับ
เกณฑ์ในการพิจารณาก็เหมือนกับทุกที่นั่นแหละครับ
คือสอบข้อเขียนในความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะด้าน และการสอบสัมภาษณ์
หากเพื่อนๆ สนใจ และอยากสมัครให้เพื่อนๆ ขอใบสมัครจากเจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ดาวน์โหลดใบสมัครแล้วนำมายื่นที่
งานการเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด ชั้น 4 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2942-8616 ต่อ 413 นะครับ
อ่านรายละเอียดการรับสมัครงานตำแหน่งนี้ได้ที่ : http://calendar.ku.ac.th/file/jun52.pdf
เว็บไซต์ของหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : http://www.lib.ku.ac.th
อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์
บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ
เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian”
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html
ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก
นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth
เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน
แนะนำหนังสือเรื่อง การจัดการห้องสมุด
เปลี่ยนบรรยากาศการเล่าเรื่องมาเป็นการแนะนำหนังสือบ้างดีกว่า
หนังสือที่ผมจะขอแนะนำในวันนี้เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้บริหารห้องสมุด