โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

การอบรมหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

วันนี้ผมขอแนะนำหลักสูตรสำหรับผู้ที่รักในสิ่งพิมพ์หรือหนังสือนะครับ
หลักสูตรนี้ คือ หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

book-binding

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ
วันและเวลาที่จัดการอบรม : 19 – 20 ตุลาคม 2552
สถานที่จัดการอบรม : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้จัดงานอบรม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

บางคนอาจจะบอกว่าการเย็บเล่มหนังสือเป็นเรื่องง่าย
แต่คุณรู้มั้ยว่าการเย็บเล่มหนังสือให้ใช้งานได้นานๆ เป็นอย่างไร
ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง ต้องเย็บด้วยอะไร …..

วิธีการเย็บเล่ม และการซ่อมบำรุงหนังสือ ถือว่าเป็นงานทุกคนควรจะรู้ ไม่ใช่เพียงแต่บรรณารักษ์นะครับ
การที่เรารู้เรื่องการเย็บเล่ม และซ่อมบำรุงหนังสือ บางทีเราอาจจะออกมาทำธุรกิจทางด้านนี้ก็ได้นะครับ

การอบรมครั้งนี้นอกจากทฤษฎีที่เพื่อนๆ จะได้รู้แล้ว
ยังมีการฝึกปฏิบัติในการซ่อมหนังสือ และเย็บเล่มหนังสือจริงๆ ด้วย

สำหรับหัวข้อในการอบรม ประกอบด้วย
– หลักการและวิธีการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การบริหารจัดการ? วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– วิธีเข้าเล่มทำปก และซ่อมหนังสือ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 2,500 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 2,800 บาทครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถโหลดใบสมัครได้ที่
ใบสมัครหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

คุณรู้จักบล็อก Libraryhub ของผมได้อย่างไร

เปิดบล็อกนี้มาเกือยสี่เดือนแล้วนะครับ สมาชิกที่เข้ามาดูก็เพิ่มขึ้นมาก
วันนี้ผมก็เลยขอสำรวจเพื่อนๆ ดูหน่อยว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบล็อกของผม
“รู้จักบล็อกนี้ได้อย่างไร ใครแนะนำมา หรือว่าบังเอิญผ่านมาเจอ”

referer

ผมขอความร่วมมือจากทุกๆ คนด้วยนะครับ ช่วยกันตอบคำถามผมหน่อย

[poll id=”10″]

การสำรวจในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์บล็อกด้วยนะครับ
บางครั้งคนทำบล็อกก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนที่เข้ามาที่บล็อกของเรา
รู้จักบล็อกของเราได้จากที่ไหนบ้าง แล้วทำไมถึงเข้ามาบล็อกของเราถูก

เอาไว้ว่างๆ วันหลัง ผมจะเขียนสูตรการเรียกคนเข้าบล็อกห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และศึกษาไว้ใช้งานสำหรับห้องสมุดของเพื่อนๆ นะครับ

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น (NDC)

เพื่อนๆ หลายคนคงจะรู้จักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดแบบต่างๆ มามากพอแล้ว
เช่น ระบบเลขทศนิยมแบบดิวอี้, ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา, ระบบห้องสมุดการแพทย์ ฯลฯ
วันนี้ผมขอแนะนำการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดตามแบบประเทศญี่ปุ่นบ้างนะครับ

savepic

เนื่องจากที่รู้ๆ กันว่าผมเคยฝึกงานที่ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ดังนั้นจึงทำให้ผมรู้จักกับการจัดหมวดหมู่แบบนี้
ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบญี่ปุ่นนี้มีความแตกต่างจากการจัดหนังสือที่ผมเคยเรียนมาอย่างสิ้นเชิง

ผมขอเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ ถึงที่มาของการจัดหมวดหมู่แบบนี้

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น
หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Nippon Decimal Classification (NDC)
เป็นการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน
โดยมีแนวความคิดและเผยแพร่โดย Japan Library Association ในปี 1956
ซึ่งเป็นการนำระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (Dewey Decimal System) มาประยุกต์ในรูปแบบใหม่
โดยใช้เลขหมวดหมู่ใหญ่ คือ 000 ? 900 เหมือนแบบดิวอี้ แต่ต่างกันที่รายละเอียดนะครับ

หมวดหมู่ใหญ่ ของการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น มีดังนี้
000 ? หมวดทั่วไป
100 ? หมวดปรัชญา
200 ? หมวดประวัติศาสตร์
300 ? หมวดสังคมศาสตร์
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
500 ? หมวดเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
600 ? หมวดอุตสาหกรรม และการพาณิชย์
700 ? หมวดศิลปะ
800 ? หมวดภาษา
900 ? หมวดวรรณกรรม

ดูๆ ไปก็คล้ายๆ ดิวอี้นะครับ ต่างกันที่หมวด 200, 400, 500, 800, 900

ส่วนการแบ่งหมวดหมู่ย่อยในลำดับที่สองยังคงใช้ concept เหมือนดิวอี้อีกนั่นแหละครับ
ผมขอยกตัวอย่าง หมวด 400 มาให้ดูถึงเลขหมู่ย่อยนะครับ
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
410 ? คณิตศาสตร์
420 ? ฟิสิกต์
430 ? เคมี
440 ? ดาราศาสตร์
450 ? โลก
460 ? ชีววิทยา
470 ? พฤกษศาสตร์
480 ? สัตววิทยา
490 ? เภสัชศาสตร์

เป็นไงกันบ้างครับ กับการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดญี่ปุ่น
“แปลกตาไปบ้างหรือปล่าวครับ”
ก็ขอให้เพื่อนๆ คิดซะว่านี่ก็เป็นการจัดหมวดหมู่หนังสืออีกประเภทหนึ่งนั้นเอง แหละครับ

จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย และบรรณารักษ์สามารถทำงานได้สะดวก

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nippon_Decimal_Classification
http://wsv.library.osaka-u.ac.jp/riyo/ndc9e.htm
http://weblib.ce.nihon-u.ac.jp/opac/help/Class_Eng.html

ประมวลภาพห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

เมื่อสักครู่นี้ ผมได้เขียนบล็อกเรื่อง “เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?
ในบล็อกเรื่องนี้ผมขอเน้นข้อมูลอื่นๆ ของห้องสมุดแห่งนี้แล้วกันนะครับ

jfbkk

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
สถานที่ : ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ที่อยู่ : เจแปน ฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร 159 สุขุมวิท 21, กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 0 2260 8560-4 แฟกซ์ : 0 2260 8565
เว็บไซต์ : http://www.jfbkk.or.th/library/library_th.html

ในห้องสมุดแห่งนี้มีบริการคล้ายๆ กับห้องสมุดอื่นๆ นั่นแหละครับ
เพียงแต่เน้นที่เรื่องของ collection ที่ให้บริการในห้องสมุดนั่นแหละครับ

หนังสือที่ให้บริการมีมากมายโดยเน้นไปที่หนังสือภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก
แต่ก็ยังพอมีหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้บริการบ้างนะครับ

จุดเด่นของห้องสมุดแห่งนี้
เช่น
– หนังสือ วารสาร นิตยสารภาษาญี่ปุ่นมากมาย ทั้งเรื่องแฟชั่น เทคโนโลยี วารสารวิชาการ
– หนังสือแนวข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
– วีดีโอ และสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นมากมาย
– การ์ตูนต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
– ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นภาษาญี่ปุ่น
– นิทรรศการวันสำคัญของญี่ปุ่นในโอกาสต่างๆ
– รายการข่าวสาร สารคดี จาก NHK

นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะครับ
ถ้าเพื่อนๆ อยากเห็นมากกว่านี้ผมก็แนะนำว่าให้เพื่อนๆ ไปชมกันเองน่าจะดีกว่านะครับ

ปล.ภาพที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ ชมนี้เป็นภาพเมื่อหลายปีก่อนนะครับ
อาจจะไม่เหมือนอย่างในปัจจุบันนะครับ เพราะว่าในปัจจุบันห้องสมุดมีการปรับโฉมใหม่แล้วนะครับ


ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

[nggallery id=13]

เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

วันนี้ผมขอย้อนวันวานไปสักตอนที่ผมยังเรียนปริญญาตรีก่อนแล้วกัน
ในตอนนั้นผมฝึกงานครั้งแรกของการเรียนบรรณารักษ์ โดยผมเลือกที่จะฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

dsc00017 Read more

Projectlib interview CEO Ijigg.com

Everyday I must be listen music from Ijigg.com
And you? Where do you listen music?

Open Ijigg – Search music – Push play – Listen it
Very simple to listen music – Ijigg.com

In this week Mr. Shadab Farooqui (CEO Ijigg.com) Live in Bangkok.
I want to meet and Interview him. Thus I appointment him at Sunday.
Today I have got a good chance from Mr. Shadab Farooqui (CEO Ijigg.com)

Mr. Shadab Farooqui and Y Projectlib
Mr. Shadab Farooqui and Y Projectlib

Let?s Start Interview

—————————————————————————————————–

Projectlib : I want to you Introduction yourself.
Ijigg.com : I?m Shadab Farooqui, an entrepreneur and co-founder of iJigg.com. I got my education in United States at Purdue University in Business Management. I grew up in Bombay, India and have been living in USA for 13 years. I am a big fan of music, especially small independent artists who may not have the resources to promote themselves in the crowded music space.

Projectlib : ?Ijigg? what does it mean?
Ijigg.com : Jigg is a popular dance from the 70?s. You may remember the? famous song ?Getting Jiggy with it?. That?s how we got the name. Jigg does not have a meaning. It?s just a cool and easy name to remember.

Projectlib : Please tell me about concept in Ijigg?
Ijigg.com : We were having a hard time filtering good independent artists. There were too many small artists in USA. We wanted to have a singular destination for all people to come, and simply enjoy great music by independent artists. The community ?Jiggs? or votes on the songs that they like. Depending on that and other variables, iJigg becomes a chart of the best independent music. It involves the community to decide which song should get the maximum exposure to the people to visit iJigg. Asia has a growing independent music scene that is in its infancy. There are not many websites that can simple allow an artist to promote its music, or for fans to listen to music. We make promoting and listening to music simple, and a great experience. We will also be introducing ?Music Blogging?, writing about your favorite music.

Website Ijigg.com

Projectlib : OK I see ?. Please tell me simply about How to Ijigg work?
Ijigg.com : You go to www.iJigg.com You will see a bunch of music players, each with a song by itself. You can play the song, vote or ?Jigg? it if you like it, share it with friends, embed on your blog etc. For bands, they can upload their song, email it to their fans and mailing list, ask them to vote so that they can come on the front page and get more exposure.

Projectlib : What?s primary goal of iJigg?
Ijigg.com : I believe that every music artist should have the opportunity to become big, regardless of marketing budget.

Projectlib : How many people in Ijigg?s team?
Ijigg.com : We are three brothers working on iJigg, simply for the passion of Music. I manage the Business, Zaid Farooqui is the programmer and Bilal Farooqui (part time) manages the Hardware and Infrastructure.

Projectlib : Nowaday, How many member in Ijigg (user who register)
Ijigg.com : We have over 1 Million registered users.

Projectlib : very much? Do you have partnership? how many? In Usa only?
Ijigg.com : We work with small record labels and Bands from USA to give them exposure to SE Asia fans.

Projectlib : First time Ijigg, When
Ijigg.com : iJigg was launched in January 2007. iJigg will celebrate its second birthday in a few months. We are very happy that it has grown to such a large community and are very happy about it. We started working on it full time only for last 6 months. I saved up some money from my previous full time job and put it all into iJigg. We are happy to serve the bands and the fans of iJigg.

Projectlib : In thailand, music on web is fix cause licene and law, Ijigg is care about it?
Ijigg.com : iJigg is compliant with all DMCA laws in the United States. The goal of iJigg is to promote independent artists. Most record labels do not mind their music on iJigg as their artists get exposure to a wide audience. Plus we do not let people download the music. If any record label or band has a problem with their music on iJigg, we are happy to remove it as long as we can get a written notice of the songs that they would like to be removed.

Projectlib : What next in ijigg? Ijigg in the future?.
Ijigg.com : iJigg will be a community of ?Influencers? and ?Followers?. Not just for music, but for everything with regards to entertainment. We will introduce Music blogging and diary, where people can write about the artists that they like, and influence their friends to listen to that music. Our philosophy is to do little, but to do it in the BEST way possible. That?s why you don?t see too much stuff on iJigg, as it becomes hard to manage. We plan on adding small features slowly. New iJigg with ?Friend Feed? style features is coming soon. cancel hard to manage. It confuses the people who visit ijigg.

Projectlib : please take message for thai ijigg user and thai community?
Ijigg.com : First of all, I want to say that I love the Thai community. Everyone is very friendly and welcoming. It is a pleasure to be a part of this community. I want everyone to continue using iJigg, and tell their friends about it. We will listen to what the community wants, and hopefully implement it. For all the independent artists, I encourage them to put their music on iJigg. We become very happy when we get email from Bands that tell us their success story through iJigg.

Projectlib : Thank you for great interview and meeting at today.

—————————————————————————————————–

The last, I wanna say thank you to Mr.Shadab Farooqui
for meeting and this interview. I hope I will see you again.

เมื่อผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์เจ้าของ Ijigg.com

บันทึกเรื่องเก่าๆ (ผมเคยเขียนที่ projectlib แล้ว)

ทุกๆ วันผมต้องนั่งฟังเพลงจาก Ijigg.com
แล้วพวกคุณหล่ะฟังเพลงจากไหนกันบ้าง ?

ijigg

ขั้นตอนง่ายในการฟังเพลงของผม คือ
เปิด Ijigg.com ? หาเพลงที่อยากฟัง ? กดปุ่มเล่นเพลง ? แล้วก็ฟัง

ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาหลายๆ คนที่ติดตามข่าวจากผมใน Twitter จะรู้ว่ามีเจ้าของเว็บไซต์แห่งหนึ่งมาเมืองไทย
ซึ่งนั่นก็คือ Mr.Shadab Farooqui ซึ่งเป็น CEO ของเว็บไซต์ Ijigg.com
ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอนัดเจอ และสัมภาษณ์เขา เพื่อนำมาให้เราเป็นกรณีศึกษาของเว็บไซต์ Ijigg.com

ตอนแรกผมว่าจะแปลบทสัมภาษณ์แบบเป็นข้อๆ
แต่ผมกลัวว่าเพื่อนๆ อาจจะสับสนกับประเด็นที่ผมสัมภาษณ์
เอาเป็นว่าผมเลยขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญน่าจะดีกว่า
เพราะผมเชื่อว่าคนที่อ่านบทสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษไม่ยากเกินความเข้าใจ

———————————————–

สรุปประเด็นที่น่าสนใจของ Ijigg.com

– Mr.Shadab Farooqui เป็นคนอินเดียแต่ไปใช้ชีวิตที่อเมริกาเป็นเวลา 13 ปี
– Ijigg มีที่มาจากเพลงๆ นึงในสมัยยุด 70 คือ ?Getting Jiggy with it? ซึ่งคำว่า Jigg ไม่มีความหมาย แต่มันเป็นชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ
– กลุ่มศิลปินวงเล็กๆ ที่ตั้งกันเองในอเมริกามีเยอะมาก ดังนั้นเขาก็ต้องการโปรโมทเพลงของเขาจึงได้หันหน้าเข้าหาเว็บไซต์ต่างๆ
– สามารถโหวตให้เพลงต่างๆ ได้ด้วย (เรียกว่า Jigg)
– ทีมงานของ Ijigg ประกอบด้วย 3 พี่น้องตระกูล Farooqui คือ Mr.Shadab ดูแลเรื่องธุรกิจ, Mr.Zaid เป็นโปรแกรมเมอร์, Mr.Bilal ดูแลเครื่องมือต่างๆ
– ตอนนี้ Ijigg มีคนสมัครเป็นสมาชิกมากกว่า 1 ล้านคน
– Ijigg กำลังขยายฐานเศรษฐกิจจาก USA เข้าสู่ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
– Ijigg เปิดครั้งแรกในเดือนมกราคม 2007
– เรื่องกฎหมาย Ijigg เน้นการโปรโมทเพลงให้ศิลปินกลุ่มเล็กๆ แต่คนที่นำมาโพสมาครั้งเป็นเพลงที่มีลิขสิทธิ์ หากมีการแจ้งเตือน Ijigg จะทำการลบให้ทันที
– ในอนาคต Ijigg จะมุ่งสู่การสร้างชุมชนด้านความบันเทิง ไม่เน้นเพลงอย่างเดียว จะมีบริการเขียนบล็อก, ฟีดบล็อก, โปรโมทเพลง ฯลฯ
– สิ่งที่เขาฝากให้คนไทย คือ อยากให้คนไทยใช้ Ijigg เยอะๆ สำหรับศิลปินก็สามารถนำเพลงของคุณมาโปรโมทได้ที่นี่เช่นกัน

———————————————–

ปล. บล็อกเรื่องนี้ผมขอเก็บไว้ในความทรงจำของผมนะครับ
เพราะถือว่าเป็นความประทับใจครั้งใหญ่ที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับเว็บมาสเตอร์ระดับอินเตอร์
วันที่ผมสัมภาษณ์เจ้าของ ijigg คือวันที่ 12 ตุลาคม 2551

หนูกำลังอ่านหนังสือในห้องสมุดนะค่ะ

วันนี้ผมเจอภาพขำๆ รูปนึง เลยเอามาฝากให้เพื่อนได้ชมแก้เครียดๆ กัน
ภาพนี้มีหนูน้อยคนนึงเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยนะครับ

babyinlibrary

จริงๆ แล้วผมเข้าใจว่าคนถ่ายอาจจะต้องการแค่ถ่ายภาพเล่นๆ เท่านั้นนะครับ
แต่ผมจะเอาไอเดียนี้แหละมาใช้เป็นสื่อในแง่ของ ข้อปฏิบัติในห้องสมุดสักหน่อยก็แล้วกัน

จากภาพด้านบนเพื่อนๆ ดูแล้วรู้สึกเป็นไงบ้างหล่ะครับ อายเด็กกันมั้ย ขนาดเด็กยังรู้เลยว่าห้องสมุดต้องเงียบ
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเด็ก ก็ขอความกรุณาเงียบสักนิดนะครับ
อ่านหนังสือในใจไม่ต้องออกเสียง เพราะว่ามันจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ นะ

อะไรบ้างที่ทำให้เกิดเสียงในห้องสมุด
– มีเพื่อนมาด้วย เลยขอคุยสักนิด แต่คุยไปคุยมาติดลมกัน ก็เลยสร้างเสียงขึ้นมา
– มีโทรศัพท์เข้าครับ อาจจะเพราะว่างานด่วน หรืออะไรก็ตามที่ต้องคุย
– หลับ จริงๆ ถ้าหลับก็ไม่ทำให้เกิดเสียงหรอกครับ แต่ถ้าหลับแล้วกรน อันนี้สาหัสหน่อย

และยังมีอีกหลายๆ สาเหตุที่ไม่ขอกล่าวถึง เพราะว่าเพื่อนๆ คงรู้ว่าการส่งเสียงทำได้ง่ายมาก

ดังนั้นวิธีนึงที่ผมเสนอกับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น
หามุมๆ หนึ่ง หรือเปิด section พิเศษสำหรับที่อ่านที่สามารถใช้เสียงได้ด้วย
หรือจะหามุมสำหรับคุยโทรศัพท์ด้วยก็ดีครับ เพราะเข้าใจว่าทุกคนย่อมมีธุระเป็นของตัวเอง
หรือจะเอามุมกาแฟมาแก้ง่วงดีมั้ยครับ จะได้ไม่ต้องหลับ

เอาเป็นว่าทำไง คุณก็คิดๆ กันนะครับ
แต่ขออย่างเดียวอย่าเอาเสียงของคุณ ไปรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นเลยเถอะ
เพราะว่าบางคนคงต้องใช้สมาธิในการอ่านหนังสือมากๆ

สุดท้ายนี้บรรณารักษ์คนไหนดูรูปนี้แล้วมีแรงบันดาลใจอยากทำป้ายแบบนี้ก็ไม่ยากครับ
ไปหาเด็กมาสักคนจับทำหน้าปากจู๋ แล้วก็ถ่ายเอามาแปะเป็นป้ายเตือนในห้องสมุดก็ได้ครับ

ที่มาของรูปนี้ : http://farm4.static.flickr.com/3209/2928948144_bd32ba10d1.jpg