Twitter + Librarian = Twitterian

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร
เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน

twitter

Twitter คืออะไร (ผมขอยกความหมายมาจากหลายๆ ที่นะครับ)

พี่บอย จาก macroart ได้กล่าวถึงความหมายของ Twitter ว่า

“Twitter คือบริการที่ใช้สำหรับเขียนบล็อกแบบสั้นๆ หรือที่เรียกว่า Micro-blogging โดยที่ข้อความในแต่ละ entry จะมีความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ข้อความที่ผู้ใช้เขียนลงไปก็มักจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ?What are you doing?? หรือตอนนี้คุณกำลังทำอะไรอยู่?”

พี่ภาวุธ จาก Pawoot ได้กล่าวถึงความหมายของ Twitter ว่า

“Twitter ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือที่คอยบอกว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ ในขณะนั้น!? ซึ่งคุณสามารถบอกให้เพื่อนๆ หรือทั้งโลกรู้ได้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ณ.ตอนนั้นๆ เช่น กำลังกินข้าวอยู่ อ่านหนังสือพิมพ์อยู่ ซึ่งคุณสามารถ update หรือแจ้งข้อมูล เป็นข้อความสั้นๆ สูงสุดได้เต็มที่ 140 ตัวอักษร”

เมื่อได้เห็นนิยามที่คนอื่นๆ ให้เรียบร้อยแล้ว งั้นผมขอสรุปเลยแล้วกันว่า

“Twitter ก็คือบริการอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถส่งข้อความขนาดสั้นๆ ไปให้กับเพื่อนๆ หรือสมาชิก เพื่อบอกว่าตอนนี้กำลังทำอะไร หรือมีอะไรใหม่ๆ บ้าง จริงๆ แล้วลักษณะการส่งข้อความแบบนี้จะมีลักษณะเป็นการ broadcast ข้อความของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้นั่นเอง”

เอาหล่ะครับเมื่อเรารู้ความหมายของคำว่า Twitter แล้ว

อยากรู้ต่อมั้ยหล่ะครับว่าในฐานะที่เราเป็นบรรณารักษ์ หรือ ห้องสมุดเราสามารถนำเครื่องมือนี้มาใช้กับงานของเราได้อย่างไรบ้าง

twitterian-lib

ในความคิดของผม ผมมักจะใช้ twitter ในงานต่างๆ ดังนี้
– แจ้งข่าวสาร หรือบริการใหม่ๆ ในห้องสมุด
– ช่วยในบริการอ้างอิง และช่วยในการค้นคว้า
– ใช้ติดต่อ และพูดคุยกับสมาชิกห้องสมุด
– ใช้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างห้องสมุด
– ฯลฯ

เมื่อเครื่องมืออย่าง Twitter มาตกอยู่ในมือ บรรณารักษ์ (Librarian)
เราก็อาจจะเห็นคำศัพท์ใหม่ๆ ในวงการอีกว่า “Twitterian” นะครับ

ผมขอแนะนำบทความในต่างประเทศที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
ลองอ่านดูที่ An Open Letter to [Libraries] on Twitter

เทคนิคการใช้ Twitter อย่างถูกวิธี
1. Don?t use Twitter to spam me about visiting.
อย่าใช้ twitter ในการสแปมเรื่องการเยี่ยมชมของผู้ใช้บริการ

2. It?s okay if you start by just following.
มันจะโอเคมากเลย ถ้าเราไป follow คนอื่นๆ ด้วย

3. Once you decide to tweet, make it interesting.
ครั้งแรกในการ tweet ขอเป็นข้อความที่มันดูน่าสนใจ

4. Tell me something I can?t find on your homepage.
บอกผู้ใช้บริการถึงสิ่งที่ไม่มีในเว็บไซต์ของคุณ

5. Tell me who you are.

บอกผู้ใช้บริการด้วยว่าคุณคือใคร (จะในนามของบุคคล หรือ องค์กรก็ได้)

6. Respond to people.
โต้ตอบกับผู้ใช้บริการบ้าง ไม่ใช่ว่าจะ tweet อย่างเดียว

7. Give me content worthy of your institution.
บอกผู้ใช้เกี่ยวกับสิ่งที่มีค่าของสถาบันของคุณ

projectlib

ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ลองเข้าไปใช้บริการกันดู ที่ http://twitter.com
นี่ก็เป็นคำแนะนำแบบเบื้องต้นสำหรับห้องสมุดที่จะสมัคร twitter นะครับ
แล้วถ้าเพื่อนๆ สมัครกันแล้ว ก้อย่าลืมมา Follow ผมด้วยก็แล้วกันนะครับ ที่ http://twitter.com/projectlib

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*