วันนี้ผมเจอภาพขำๆ รูปนึง เลยเอามาฝากให้เพื่อนได้ชมแก้เครียดๆ กัน
ภาพนี้มีหนูน้อยคนนึงเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยนะครับ
จริงๆ แล้วผมเข้าใจว่าคนถ่ายอาจจะต้องการแค่ถ่ายภาพเล่นๆ เท่านั้นนะครับ
แต่ผมจะเอาไอเดียนี้แหละมาใช้เป็นสื่อในแง่ของ ข้อปฏิบัติในห้องสมุดสักหน่อยก็แล้วกัน
จากภาพด้านบนเพื่อนๆ ดูแล้วรู้สึกเป็นไงบ้างหล่ะครับ อายเด็กกันมั้ย ขนาดเด็กยังรู้เลยว่าห้องสมุดต้องเงียบ
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเด็ก ก็ขอความกรุณาเงียบสักนิดนะครับ
อ่านหนังสือในใจไม่ต้องออกเสียง เพราะว่ามันจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ นะ
อะไรบ้างที่ทำให้เกิดเสียงในห้องสมุด
– มีเพื่อนมาด้วย เลยขอคุยสักนิด แต่คุยไปคุยมาติดลมกัน ก็เลยสร้างเสียงขึ้นมา
– มีโทรศัพท์เข้าครับ อาจจะเพราะว่างานด่วน หรืออะไรก็ตามที่ต้องคุย
– หลับ จริงๆ ถ้าหลับก็ไม่ทำให้เกิดเสียงหรอกครับ แต่ถ้าหลับแล้วกรน อันนี้สาหัสหน่อย
และยังมีอีกหลายๆ สาเหตุที่ไม่ขอกล่าวถึง เพราะว่าเพื่อนๆ คงรู้ว่าการส่งเสียงทำได้ง่ายมาก
ดังนั้นวิธีนึงที่ผมเสนอกับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น
หามุมๆ หนึ่ง หรือเปิด section พิเศษสำหรับที่อ่านที่สามารถใช้เสียงได้ด้วย
หรือจะหามุมสำหรับคุยโทรศัพท์ด้วยก็ดีครับ เพราะเข้าใจว่าทุกคนย่อมมีธุระเป็นของตัวเอง
หรือจะเอามุมกาแฟมาแก้ง่วงดีมั้ยครับ จะได้ไม่ต้องหลับ
เอาเป็นว่าทำไง คุณก็คิดๆ กันนะครับ
แต่ขออย่างเดียวอย่าเอาเสียงของคุณ ไปรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นเลยเถอะ
เพราะว่าบางคนคงต้องใช้สมาธิในการอ่านหนังสือมากๆ
สุดท้ายนี้บรรณารักษ์คนไหนดูรูปนี้แล้วมีแรงบันดาลใจอยากทำป้ายแบบนี้ก็ไม่ยากครับ
ไปหาเด็กมาสักคนจับทำหน้าปากจู๋ แล้วก็ถ่ายเอามาแปะเป็นป้ายเตือนในห้องสมุดก็ได้ครับ
ที่มาของรูปนี้ : http://farm4.static.flickr.com/3209/2928948144_bd32ba10d1.jpg
เห็นด้วยกับความคิดของคุณวายนะครับ ที่เสนอแนะ บรรณารักษ์อื่นๆ ควรมีจัดพื้นที่เฉพาะ ให้บริการต่างๆ เช่น มุมอาหาร ขนม กาแฟ เครื่องดื่ม, มุมโทรศัพท์ หรือห้องเรียนรู้เป็นกลุ่ม (group study room) อย่างง่ายๆ ดีกว่า ครับ เราไปร้านอาหาร หรือที่ไหนๆ เขายังมีพื้นที่ต่างหากให้สูบบุหรี่ เลย ทั้งๆ ที่ รณรงค์ให้เลิกบุหรี่กันแทบตาย แต่ก็ยังจัดพื้นที่สูบบุหรี่ให้ แล้วห้องสมุดล่ะ ไหนๆ ผู้ใช้มาเยือนถึงถิ่น และเป็นสถานที่ๆ ดีมากๆ ก็น่าจะจัดบริการต่างๆ ให้เอื้อแก่ผู้ใช้ให้มากที่สุด จริงหรือไม่ครับ