เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

วันนี้ผมขอย้อนวันวานไปสักตอนที่ผมยังเรียนปริญญาตรีก่อนแล้วกัน
ในตอนนั้นผมฝึกงานครั้งแรกของการเรียนบรรณารักษ์ โดยผมเลือกที่จะฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

ก่อนอื่นผมก็ต้องขอบอกขื่อหน่วยงานอย่างเป็นทางการซะก่อน
นั่นก็คือ ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation Library)
ห้องสมุดนี้เป็นของมูลนิธิญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ ชั้น 10 ของอาคารเสริมมิตร ถนนอโศก

ภายในห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือทั้งภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีภาษาญี่ปุ่นมากที่สุด และมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกือบทุกหมวดหมู่

การจัดหนังสือของที่นี่จะใช้วิธีการจัดหมวดหมู่แบบ NDC (Nippon Decimal Classification)
ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นคนญี่ปุ่น และคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก
นอกนั้นก็อาจจะมีพนักงานที่ทำงานอยู่ในอาคารนี้มานั่งอ่านหนังสือพิมพ์บ้างในตอนเที่ยง

Collection นึง ที่ผมประทับใจ และชอบมากๆ
ก็คือ
?คู่มือเตรียมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น และข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นย้อนหลัง?
Collection นี้ ได้รับความสนใจจาก นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นมากๆ
เพราะว่านอกจากหนังสือเตรียมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังมี เทปข้อสอบการฟังให้ยืมอีกด้วย

เอาเป็นว่าที่กล่าวมาคงจะแนะนำแบบคร่าวๆ แล้ว
ทีนี้เรามาดูกันว่า ในการฝึกงานของผม ผมต้องทำอะไรบ้าง

รายละเอียดการฝึกงาน

– เปิดรายการโทรทัศน์ NHK หน้าห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการนั่งดูได้ภายนอกห้องสมุด
– เตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยมีหนังสือพิมพ์ของภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น
– จัดเรียงหนังสือที่ผู้ใช้นำมาคืนขึ้นชั้นเพื่อให้บริการต่อไป
– นั่งโต๊ะเพื่อให้บริการงานห้องสมุดทั่วไป เช่น ยืมคืน, ถ่ายเอกสาร, ฝากของตู้ล็อกเกอร์, ตอบคำถามผู้ใช้บริการ
– งานสมาชิก รับสมัคร/ ทำบัตรใหม่ / ต่ออายุสมาชิก ให้กับผู้ใช้บริการที่สนใจจะยืมหนังสือจากห้องสมุด
– ห่อปกหนังสือด้วยสติ๊กเกอร์ใสทุกขนาด ทั้งหนังสือใหม่และหนังสือชำรุด
– ซ่อมแซมทรัพยากรสารนิเทศที่มีการชำรุด เช่น ปกหนังสือขาด หนังสือที่ยังไม่มีแถบแม่เหล็ก ฯลฯ
– จัดหนังสือพิมพ์เก่าๆ เข้าตู้เก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง 1 เดือน
– จัดทำสถิติการใช้บริการของห้องสมุด เช่น ผู้ใช้บริการ, สมาชิกที่มีการยืมหนังสือ, หนังสือในแต่ละประเภทที่ถูกยืม
– ฝึกใช้ฐานข้อมูล File Maker Pro ซึ่งดูแลข้อมูลภายในหน่วยงาน จัดเก็บรายชื่อสมาชิก, หนังสือ, วารสาร ฯลฯ
– ศึกษาและค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลหนังสือภาษาญี่ปุ่น
– จัดการหนังสือมาใหม่เพื่อเตรียมให้บริการผู้ใช้ เช่น ลงทะเบียนหนังสือ, ห่อปก, วิเคราะห์หมวดหมู่, พิมพ์สัน, ใส่แถบแม่เหล็ก, ประทับตรา, นำขึ้นชั้น
– ฝึกการพิมพ์ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น

นี่แหละครับ สิ่งที่ผมได้ฝึกงาน เป็นเวลา 2 เดือนเต็มๆ
ก็ถือเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะตอนนั้นผมถือว่าได้ฝึกงานครั้งแรกที่ตรงสายแบบสุดๆ
คือ ผมเรียนปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เอกบรรณารักษ์ โทภาษาญี่ปุ่น และเลือกเสรีภาษาเกาหลี


ฝึกงานแบบนี้ไม่ตรงก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว เพราะได้ทั้งวิชาบรรณารักษ์ และได้ฝึกพูดภาษาญี่ปุ่น

นี่แหละครับการฝึกงานที่น่าประทับใจของผมอีกครั้งหนึ่ง?

ปล. ขอบคุณพี่ๆ ที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น? นะครับที่ช่วยสอนงานผม ทั้งพี่หน่อง พี่นุ้ย พี่วุฒิ และคุณ noriko

Exit mobile version