เพื่อนๆ หลายคนคงจะรู้จักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดแบบต่างๆ มามากพอแล้ว
เช่น ระบบเลขทศนิยมแบบดิวอี้, ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา, ระบบห้องสมุดการแพทย์ ฯลฯ
วันนี้ผมขอแนะนำการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดตามแบบประเทศญี่ปุ่นบ้างนะครับ
เนื่องจากที่รู้ๆ กันว่าผมเคยฝึกงานที่ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ดังนั้นจึงทำให้ผมรู้จักกับการจัดหมวดหมู่แบบนี้
ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบญี่ปุ่นนี้มีความแตกต่างจากการจัดหนังสือที่ผมเคยเรียนมาอย่างสิ้นเชิง
ผมขอเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ ถึงที่มาของการจัดหมวดหมู่แบบนี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น
หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Nippon Decimal Classification (NDC)
เป็นการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน
โดยมีแนวความคิดและเผยแพร่โดย Japan Library Association ในปี 1956
ซึ่งเป็นการนำระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (Dewey Decimal System) มาประยุกต์ในรูปแบบใหม่
โดยใช้เลขหมวดหมู่ใหญ่ คือ 000 ? 900 เหมือนแบบดิวอี้ แต่ต่างกันที่รายละเอียดนะครับ
หมวดหมู่ใหญ่ ของการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น มีดังนี้
000 ? หมวดทั่วไป
100 ? หมวดปรัชญา
200 ? หมวดประวัติศาสตร์
300 ? หมวดสังคมศาสตร์
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
500 ? หมวดเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
600 ? หมวดอุตสาหกรรม และการพาณิชย์
700 ? หมวดศิลปะ
800 ? หมวดภาษา
900 ? หมวดวรรณกรรม
ดูๆ ไปก็คล้ายๆ ดิวอี้นะครับ ต่างกันที่หมวด 200, 400, 500, 800, 900
ส่วนการแบ่งหมวดหมู่ย่อยในลำดับที่สองยังคงใช้ concept เหมือนดิวอี้อีกนั่นแหละครับ
ผมขอยกตัวอย่าง หมวด 400 มาให้ดูถึงเลขหมู่ย่อยนะครับ
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
410 ? คณิตศาสตร์
420 ? ฟิสิกต์
430 ? เคมี
440 ? ดาราศาสตร์
450 ? โลก
460 ? ชีววิทยา
470 ? พฤกษศาสตร์
480 ? สัตววิทยา
490 ? เภสัชศาสตร์
เป็นไงกันบ้างครับ กับการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดญี่ปุ่น
“แปลกตาไปบ้างหรือปล่าวครับ”
ก็ขอให้เพื่อนๆ คิดซะว่านี่ก็เป็นการจัดหมวดหมู่หนังสืออีกประเภทหนึ่งนั้นเอง แหละครับ
จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย และบรรณารักษ์สามารถทำงานได้สะดวก
สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nippon_Decimal_Classification
http://wsv.library.osaka-u.ac.jp/riyo/ndc9e.htm
http://weblib.ce.nihon-u.ac.jp/opac/help/Class_Eng.html