หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ
ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู
ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ
เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1
– วิชา Use of libraries and study skill
วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง
ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center
วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย
ปี 2 เทอม 1
– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology
เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system
วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์
ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology
เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library
เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ
ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science
4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์
เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ
เย้ยยยย รูปฉันไปไหน อิอิ
วิชาก็คล้ายๆกันแตกต่างตรงที่เกรดเธอดีกว่าฉันนะวาย กร๊ากกกกกกกกก
ชอบวิชาพับลิชชิ่งอ่ะ เหนื่อยมาก สนุกมาก ได้อะไรหลายๆอย่างกับวิชานี้ กินนอนด้วยกันทั้งวันทั้งคืนกับเพื่อนเอกก็วิชานี้แหละ สุดๆ
อีกวิชาที่ชอบก็คือ Information resource in the humanities ได้เที่ยว ได้ประสบการณ์ ได้เจออะไรแปลกใหม่ซึ่งหาจากห้องเรียนไม่ได้ อิอิ ……แล้วมันคืออะไรล่ะ แป่ววววววววววว
ส่วนใหญ่จะจำไม่ค่อยได้ว่าเรียนอะไรไปบ้าง (เพราะมันนานมากกกกแล้ว)
แต่จะจำได้ว่า เรียนกับอาจารย์ท่านใดบ้าง ทุกวันนี้ยังใจได้ติดตาตรึงใจอยู่ (ทั้งเรื่องดีและไม่ค่อยดี)
ไฮโซ ทีเดียว เรียน แต่วิชาชื่อภาษาอังกฤษ
เราไฮโซกว่าเรียนแต่วิชาชื่อภาษาไทย
-ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
-การพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
-บริการอ้างอิงและสารนิเทศ
-การจัดหมู่
-การทำรายการ
-ความรู้พื้นฐานทางวรรณกรรม
-การจัดเก็บและค้นคืนสารนิเทศ
-ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารนิเทศ
-เทคนิคการอ่าน
-โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบงานห้องสมุด
-โสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์
-บรรณานุกรม ดรรชนี และสาระสังเขป
-การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน
-สารนิเทศเพื่อสิ่งแวดล้อม
-การวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์
-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารนิเทศ
-การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโนโลยีสารนิเทศ
-การจัดการฐานข้อมูล
-แหล่งสารนิเทศชุมชน
-วารสารและหนังสือพิมพ์
-ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
-สารนิเทศทางมนุษยศาสตร์
-สารนิเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-สิ่งพิมพ์รัฐบาลและจดหมายเหตุ
-การศึกษาเอกเทศด้านบรรณารักษศาสตร์
-โปรแกรมสำเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งาน
-การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ
-การฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ
ไม่รู้เรียนไปได้ไง เยอะแยะ
จบมาได้ใช้ไม่กี่วิชา
หรือบางที ไม่ได้ใช้เลย อาศัย วิทยายุทธส่วนตัว
คนที่เรียนอยู่ตั้งใจเรียนนะครับ
เพราะเกรดมันแก้ไขไมได้แล้วนะ
สู้ๆ
โหแบบว่าเรียนกันเต็มแบบนี้เลยหรอครับ สุโค่ยยยยยยยย มากครับ
เราควรต้องเรียนวิชาเหล่านี้เหมือนกัน…แต่ก็นะเรียนก็เหมือนไม่ได้เรียน…เพราะ…
จำได้ว่าได้ A กับเขานิดเดียว วิชาที่ชอบน่ะ วรรณกรรมเด็ก แล้วก็วิชาไรน่ะ ที่อ.ธิดา ให้ไปออกกำลังกายหน่ะ 555+
บทความนี้มีประโยชน์สำหรับน้องๆที่กำลังเลือกเส้นทางชีวิตอยู่ครับ
ผมขออนุญาตเจ้าของบล็อกประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจากโลหิตหน่อยนะครับ คือผมเพิ่งไปบริจากมาเลยทำให้ได้ความรู้มาอยางนึง ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่รู้เช่นกัน ทราบหรือเปล่าครับว่าคนเราที่จริงแล้วมีเลือดส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ คือปกติร่างกายเราต้องการเพียง 15-16 แก้ว แต่เรามีมากถึง 17-18 แก้ว นั่นก็คือมีเลือดส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ครับ แล้วส่วนเกินนี้ปกติมันจะไปที่ไหนครับ ก็ถูกขับทิ้งออกมาทางปัสวะนั่นเอง ดังนั้นอย่าให้มันเสียเปล่าเลยครับ ไปบริจากให้คนที่เค้าต้องการดีกว่า ขอขอบคุณท่านเจ้าของบล็อกมากครับ การช่วยเผยแพร่ข้อมูลก็ถือเป็นบุญกุศลอย่างมากเลยครับ
อยากจะได้เมลพี่ๆเอกบรรณารักษ์อะค่า หนูอยากจะคุยกะพี่ๆอะค่ะ คือหนูติดที่ราชภัฏสวนสุนันทาอะค่ะ เอกบรรณารักษ์ ก็เลยอยากจะได้เพื่อนคุยด้วยอะค่ะ
อยากทาบว่าจบบรรณารักษ์ไปแล้ทำงานเกี่ยวกับอะไรได้มั่งอ่ะ คือว่าหนูก็ติดบรรณารักษ์ที่สวนสุนันทาเหมือนกันนะคะยังไงก็รบกวนพี่ส่ง mail ไปบอกหนูด้วยนะคะ thank you ขอบคุณล่วงหน้าคะ