ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ @กาดสวนแก้ว

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีสาขาอยู่บนห้างสรรพสินค้าด้วยนะ
ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เป็นห้างที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ซะด้วย นั่นคือ “เซ็นทรัล กาดสวนแก้ว”

cm-kadsuankaew01

วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ มาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนที่อยู่บนห้างกัน
ดูสิว่าจะมีบริการที่สามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการกันได้หรือปล่าว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว
ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

ผมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ในเวลากลางวัน
โดยพอถึงบริเวณหน้าห้องสมุดก็จะพบกับป้ายแนะนำห้องสมุดว่า

“กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ
พอเดินเข้าไปนิดนึงก็จะพบกับบริเวณที่ให้บริการของห้องสมุด
ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่ผมเชื่อว่าก็ให้บริการได้ค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

ซึ่งผมขอสรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย
– บริการที่นั่งอ่านหนังสือ
– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น


นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย
เช่น
– การสอนวาดภาพ และระบายสี
– การเล่านิทาน
– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก
และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ให้บริการยืมคืน
ทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน
ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่านะครับ

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่หรอกครับ
สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู
เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้นนะครับ

รวมภาพบรรยากาศ “กาดสวนแก้ว Living Library”

[nggallery id=12]

เมื่อผมแอบมาเขียนบล็อกในห้องสมุดแห่งหนึ่ง

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการเขียนบล็อกที่บ้านมาเป็นเขียนบล็อกที่ห้องสมุดดีกว่า
ผมจึงได้ตัดสินใจกลับมาเยี่ยมห้องสมุดเก่าที่ผมเคยทำงานมา และกะว่าจะเขียนบล็อกที่นี่

my-library

ผมจึงเริ่มด้วยการเปิด notebook ของผมเพื่อเตรียมที่จะเขียนบล็อกให้ได้สักเรื่องนึง
หลังจากที่เปิด notebook มาเกือบสองชั่วโมง ผมก็ยังหาเรื่องที่จะเขียนบล็อกไม่ได้

ความรู้สึกง่วงของผมก็เกิดขึ้น

จริงสิ สมัยที่ผมทำงานอยู่ที่นี่ ปกติมันไม่ได้เงียบเหมือนกับตอนนี้นี่
เอ๊ะ ทำไม ห้องสมุดนี้เปลี่ยนไปขนาดนั้นเลยเหรอ
จากห้องสมุดที่มีแต่เสียงดัง บัดนี้กลายเป็นห้องสมุดแห่งความเงียบ

บรรยากาศที่ช่างเป็นใจ
– เงียบ
– อากาศเย็น
– กลิ่นไอหนังสือ

ทำให้ผมรู้สึกง่วงนอนได้ขนาดนี้จริงๆ หรือเนี้ย ไม่อยากจะเชื่อ
ผมจำได้ว่าช่วงก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนบล็อกเกี่ยวกับอาการง่วงในห้องสมุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน
ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยเชื่อมากหรอกครับ แต่พอโดนกับตัวเอง เชื่อเต็มที่เลย

แม้ว่าขณะที่ผมทำงานจะกินกาแฟไปด้วย เปิดคอมพิวเตอร์ไปด้วย
แต่ทำไมกาแฟถึงไม่ช่วยให้ความง่วงหายไปเลย?

แล้วแบบนี้ สิ่งจูงใจที่ทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนที่ไม่หลับในห้องสมุดมันมีอะไรบ้างนะ
– ผู้คนมากมาย (ยิ่งสาวสวยๆ อาจจะทำให้ไม่อยากหลับ)
– เสียงเพลง (แล้วแบบนี้จะมีสมาธิอ่านมั้ย)
– สีสันภายในห้องสมุด (จะทำให้เป็นห้องสมุดลูกกวาดหรือปล่าว)

คิดๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่น่าท้าทายไม่น้อยเลยนะครับ
ถ้าผมอยากจะสร้าง ?ห้องสมุดที่ไม่ทำให้ผู้ใช้ง่วงนอน?

เอาเป็นว่าใครมีไอเดียเจ๋งๆ ก็ช่วยกันเสนอหน่อยนะครับ
เผื่ออนาคตผมอยากเปิดห้องสมุดเอง จะได้นำเอาแนวคิดของเพื่อนๆ ไปใช้กัน

เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone

วันนี้มีโอกาสได้เดินเข้าไปในร้านหนังสือของ B2S ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เดินๆ อยู่ตาของผมก็ไปหยุดอยู่กับหนังสือเล่มนึง
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องคุ้นๆ มาก และเข้ากับวงการห้องสมุด
ผมจึงต้องขอเอามาเขียนแนะนำสักหน่อยดีกว่า

greenstone

หนังสือที่ผมจะแนะนำวันนี้เป็นหนังสือที่แนะนำการใช้โปรแกรม “Greenstone”

ข้อมูลหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone
ผู้เขียน : สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ISBN : 9789745988125
ราคา : 200 บาท


โปรแกรม “Greenstone”
คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคลังสื่อดิจิทัล หรือ ห้องสมุดดิจิทัล นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้อาจจะจัดได้ว่าเป็น หนังสือที่เกี่ยวกับ Opensource ของห้องสมุดเล่มแรก (หรือปล่าว) ในเมืองไทย

เราลองไปดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้กันดีกว่า
– ห้องสมุดดิจิทัล Greenstone
– การติดตั้ง Greenstone
– สำรวจ Greenstone Digital Library
– Greenstone Librarian Interface ผู้ช่วยสำหรับบรรณารักษ์
– หลักการออกแบบพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เริ่มสร้างคลังสื่อดิจิทัล
– เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นเอกสาร
– รู้จักกับเมทาดาทา
– ดับลินคอร์เมทาดาทา
– Collection เอกสาร HTML
ฯลฯ

พอได้ดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็ขอแยะประเด็นหลักๆ ของหนังสือเล่มนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. เกี่ยวกับโปรแกรม Greenstone : แนะนำการติดตั้ง และการใช้งาน
2. เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของห้องสมุดดิจิทัล
3. เกี่ยวกับข้อมูล เมทาดาทา (Meta data)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับห้องสมุดหลายๆ ที่เลยนะครับ
นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่อยากสร้างห้องสมุดดิจิทัลเองอีกด้วย

อย่างกรณีผมเอง ผมก็อยากสร้างคลังเอกสารดิจิทัลของผมเองเหมือนกัน
ข้อมูลต่างๆ ไฟล์งานต่างๆ ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเรียน
ผมก็อยากนำออกมาเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดู ได้อ่านเหมือนกัน

สงสัยผมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ แล้วทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้มากๆ
แล้วถึงตอนนั้นอาจจะมีห้องสมุดดิจิทัล Libraryhub ก็ได้นะ อิอิ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ลองเข้าไปดูที่
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789745988125&AspxAutoDetectCookieSupport=1

บทเรียนที่ทำให้ใจของเรารับรู้…

ช่วงนี้ผมมีเรื่องให้คิดมากมายหลายเรื่อง เครียดบ้าง ท้อบ้างเป็นเรื่องปกติ
มีคนหลายคนบอกกับผมว่า ?ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ?
ใช่ครับ!!! แน่นอนครับ เพราะถ้าโรยด้วยกลีบกุหลาบ ป่านนี้กุหลาบคงจะหมดโลกแล้วแน่ๆ

lessonsong

ในชีวิตของทุกๆ คน ก่อนที่จะมีความก้าวหน้า ก็จะต้องมีอุปสรรคมากมาย
สิ่งเหล่านี้ทำให้บางคนท้อต่อโชคชะตาของตัวเอง เช่นเดียวกับผม
บางเวลา บางปัญหา บางอุปสรรคมีอิทธิพลทำให้ผมไม่อยากทำอะไรเลย
แต่สิ่งที่ผมพยายามที่จะคิด และต้องสู้กับสิ่งนั้น นั่นก็คือ

“เราต้องสู้สิ ถ้าไม่สู้ก็ไม่รอดนะ”
“อุปสรรคมีไว้ให้ฝ่าฟัน และเมื่อฝ่าฟันได้เราจะพบกับรางวัลแห่งชีวิต”
“ปัญหา และอุปสรรค คือความท้าทาย และเป็นตัววัดประสิทธิภาพ และกำลังใจของเรา”

เอาเป็นว่าจริงๆ ยังมีคติให้ผมคิดอีกมากมายที่ใช้เวลาผมเจ็บ
ยิ่งช่วงนี้มีเพลงๆ นึงที่ฟังแล้วรู้สึกได้เลยว่ามีความหมายดีๆ ซ่อนอยู่

ผมเลยอบากให้เพื่อนๆ ลองฟังกันดูอ่ะครับ

เพลง LESSON (บทเรียน) ของ BOYdPod

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ygZeiOnB2XY[/youtube]

เนื้อเพลง LESSON (บทเรียน) ของ BOYdPod

เมื่อความคาดหวังของเรานั้นพังทลาย
เมื่อความเสียใจเกิดจากการพบความจริง
ทั้งที่เราได้ทุ่มเททำจนหมดทุกสิ่ง

เมื่อใจที่ครั้งนึงนั้นเคยยังมีแรง
กลับดูเหือดแห้งจนไม่เหลืออะไร
เมื่อฟางเส้นสุดท้ายกำลังจะขาดหายไป

ในเวลานั้นเรากำลังจะได้พบ บทเรียนสำคัญแค่ไหน รู้ไหม

* บทเรียนนี้ไม่มีสอน ต้องผ่านพ้นความทุกข์ร้อน เท่านั้นถึงเข้าใจได้
จะต้องเสียใจกี่ครั้งแต่ก็คุ้มเมื่อแลกกัน เพราะว่าหาเรียนไม่ได้จากที่ไหน

** บทเรียนที่ทำให้ใจของเรารับรู้ ว่าไม่มีอะไรคงอยู่เสมอไป
เป็นบทเรียนชีวตที่แสนจะยิ่งใหญ่ เมื่อใจของเรานั้นยอมรับมัน

เมื่อความพยายามนั้นกลายเป็นสิ่งที่ผิด
เมื่อความตั้งใจไม่มีค่าอะไร
เหมือนทางที่เคยเดินมาตลอด คือทางที่เลือกพลาดไป

ในช่วงเวลานั้นเรากำลังจะได้พบ บทเรียนสำคัญแค่ไหน รู้ไหม

( * , ** )

บทเรียนที่ทำให้ใจของเรารับรู้
ว่าไม่มีอะไรคงอยู่เสมอไป
เป็นบทเรียนชีวิตที่แสนจะยิ่งใหญ่
เมื่อใจของเรานั้นยอมรับมัน
ความผิดหวังจึงจะเปลี่ยนเป็นพลังได้
เมื่อใจของเรานั้นยอมรับมัน

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเพลงนี้ หวังว่าเพื่อนๆ คงจะมีแรงและกำลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคขึ้นบ้างนะครับ
นอกจากเพลงที่จะมอบให้แล้ว ก็ยังมีกำลังใจจากผมที่จะมอบให้ทุกคนๆ ด้วยนะครับ

สำหรับวันนี้ผมขอขอบคุณเพลงดีๆ จาก Ijigg และ เนื้อเพลงจาก Siamzone ครับ

สรุปรายชื่อ ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551

วันนี้ผมขอเอาเรื่องเก่าจากสมาคมห้องสมุดมาโพสให้อ่านกันนะครับ นั่นก็คือ
เรื่อง การประกาศรายชื่อผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ 2551

librarian

ถ้าหากเพื่อนๆ เข้าไปที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ จะเห็นว่า
ข่าวนี้ทางสมาคมได้นำเสนอเป็นไฟล์ .jpg ให้อ่านกัน

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพดูได้ที่
http://tla.or.th/document/good1.jpg
http://tla.or.th/document/good2.jpg
http://tla.or.th/document/good3.jpg
http://tla.or.th/document/good4.jpg

แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านไฟล์ .jpg เหมือนอย่างผม
ก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้ เนื่องจากผมนำมาเขียนใหม่เป็น text แบบสรุปให้นะครับ

รายชื่อของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551 มีดังนี้

– นายทวีศักดิ์ เดชเดโช (ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว)
ผลงานเด่น : ให้การสนับสนุนห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี และห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง
สนับสนุนการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่จำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ยังผลักดันโครงการบ้านหนังสือ

– เทศบาลนครพิษณุโลก
จัดสรรงบประมาณในการสร้างหอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลกแห่งใหม่
ให้มีบรรยากาศที่ทันสมัย และทำให้ห้องสมุดมีภาพลักษณ์ใหม่

– เทศบาลเมืองพัทลุง
บริจาคเงินให้ กศน. เพื่อใช้ในการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนหลังใหม่
เพื่อให้บริการการเรียนรู้ รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน และจังหวัดพัทลุง

– บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด
จัดทำโครงการแหล่งการเรียนรู้ และให้การสนับสนุนในการสร้างห้องสมุดโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ในเขตจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี จำนวน 10 โรงเรียน

– ศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร (อธิการบดีมหาวิทยามหิดล)
สนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงอาคารหอสมุดศิริราช การจัดสร้างคลังหนังสือศิริราช
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังหนังสือ
และผลักดันจนหอสมุดศิริราช ได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่นในเรื่อง Quality Fair 2551

– รศ. ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ให้การสนับสนุนการพัฒนาห้องสมุด และสถานภาพของครูบรรณารักษ์
โดยให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับสถานภาพครูบรรณารักษ์โรงเรียน

– นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง (ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์)
เป็นผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
ดำเนินการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียนที่สมบูรณ์ และทันสมัย

– รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
จัดสรรงบประมาณให้กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อใช้ในการพัฒนาห้องสมุดในส่วนต่างๆ เช่น การเปิดบริการห้องสมุดตลอดคืนในช่วงสอบ
หรือ โครงการบริการยืมคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับใช้งานภายในห้องสมุด

– ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
สนับสนุนเงินในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา
และพัฒนาองค์ความรู้สำหรับห้องสมุดชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานคุณธรรม

– สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ
สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนในชนบท
และบริการจัดสร้างอาคารห้องสมุดสำหรับโรงเรียนในชุมชนต่างๆ

– ศาตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ให้การสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด สัญญา ธรรมศักดิ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อให้เป็นห้องสมุดกฎหมายที่ทันสมัย และสมบูรณ์แบบ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อและข้อมูลของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551
ซึ่งสรุปว่ามีทั้งหมดจำนวน 5 หน่วยงาน และ 6 ท่าน

ผมก็ขอเป็นตัวแทนของคนที่อยากเห็นห้องสมุดเมืองไทยพัฒนา
ก็ขอขอบคุณแทนบรรณารักษ์ และห้องสมุดต่างๆ ด้วยนะครับ
ที่ท่านและหน่วยงานให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย

New Avatar in Yahoo : Mr Librarian

นานๆ ทีผมจะเข้าไปแก้ avatar ใน Yahoo (http://avatars.yahoo.com/)
เพื่อให้เพื่อนๆ ดูรูปผมแล้วและเข้าใจว่าเป็นบรรณารักษ์เลยต้องปรับรูปอะไรนิดหน่อย อิอิ

librarian-man-avatar

อธิบายรูปเดิม
ในรูปเดิมของผมบ่งบอกความเป็นอะไรที่เรียบง่ายและสบายๆ
ยืนอยู่บนท้องถนน ใส่เสื้อลายดอกสีส้ม กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะ

อธิบายรูปใหม่
ในรูปใหม่ผมได้เปลี่ยนฉากสถานที่ด้านหลังให้กลายเป็นห้องสมุด
สวมเสื้อยืดแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าผ้าใบ รวมไปถึงการถือหนังสืออยู่ในมือด้วย

จริงๆ แล้วเพื่อนหลายๆ คนก็อาจจะบอกว่าไม่เหมือนบรรณารักษ์ก็เหอะ
แต่ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยรูปนี้ของผมก็มีกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดอยู่
เอาเป็นว่า ผมจะใช้รูปนี้อ่ะ ใครจะทำไม อิอิ

ไหนๆ ก็เขียนถึงการเปลี่ยน Avatar แล้ว
งั้นผมขอแนะนำ http://avatars.yahoo.com/ หน่อยดีกว่า
เพราะว่าผมรู้สึกว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างตัวตนของเราได้ง่ายดี เช่น
– Appearance (รูปร่าง, หน้าตา, ทรงผม, สีผิว)
– Apparel (การแต่งกาย, เสื้อผ้า)
– Extras (เครื่องแต่งกายอื่นๆ, หมวก, หน้ากาก, รวมถึงอุปกรณ์เสริม)
– Background (ฉากหลัง, พื้นหลัง)
– Branded (พื้นหลังแบบพิเศษตามงานเทศกาลสำคัญๆ)

นอกจากนี้พอเราแต่งตัว และกำหนดรูปแบบความเป็นตัวตนเสร็จ
เรายังสามารถกำหนดอารมณ์ของ avatar เราได้ด้วยนะ เช่น
– ร่าเริง สนุก ดีใจ
– เซ็งๆ เหงาๆ
– โกรธ โมโห
– หน้าตลก ขี้เก็ก

my-avatar

เป็นไงบ้างครับกับรูปของผมในอารมณ์ที่ต่างกัน

เอาเป็นว่าผมก็ชอบเข้ามาแต่งตัวในเว็บนี้บ่อยๆ เหมือนกัน
เหมือนเล่นเกมส์แต่งตัวเลยอ่ะครับ อิอิ

เพียงแต่คนที่จะเข้ามาแต่งตัวแบบนี้ได้ ต้องมี account ของ yahoo นะครับ
และเมื่อเพื่อนๆ แต่งตัวเสร็จแล้ว avatar เหล่านี้ จะใช้แทนตัวคุณในบริการต่างๆ ของ Yahoo นั่นเอง

เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
ลองแต่งตัวกันดูแล้วส่งมาให้ผมดูบ้างหล่ะ อิอิ

คุณเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 หรือปล่าว

มีหลายคนเคยบอกว่าการแต่งตัวก็สามารถบอกนิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัวได้
วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องการเลือก ทรงผม และ รองเท้า มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
เชื่อมั้ยครับว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าเพื่อนๆ เป็น “บรรณารักษ์รุ่นไหน”

บทความเรื่องนี้ผมนำมาจากบล็อก http://infonatives.wordpress.com
ชื่อเรื่องว่า “Librarian 1.0 or 2.0 hair & shoes ? now we know

ในบล็อกเรื่องนี้ได้กล่าวถึงการไปสำรวจแบบทรงผม กับ รองเท้า ของบรรณารักษ์
ตอนแรกผมก็รู้สึกงงเหมือนกันว่า จะไปสำรวจทำไม แต่พออ่านชื่อเรื่องของเขาก็เลยถึงบางอ้อว่า

เขาได้สำรวจทรงผมของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0
และนอกจากนี้ยังสำรวจรองเท้าของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0 ด้วย

ทรงผม กับ รองเท้า สามารถบอกได้จริงหรือนี่ว่าเป็นบรรณารักษ์ยุคไหน
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองดูผลสำรวจ ทรงผม กับ รองเท้า กันก่อนหล่ะกัน

เริ่มจากเพื่อนๆ ลองดูที่ทรงผมเหล่านี้ก่อนนะครับ
“ทรงผมแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

hair-librarian

นอกจากนี้ไปดูกันต่อเลยดีกว่าว่า “รองเท้าแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

shoes-librarian

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนอยู่ในบรรณารักษ์ยุคไหนกันบ้างครับ
สำหรับของผม ทรงผมได้ 2.0 แต่รองเท้ายังเป็น 1.0 อยู่อ่ะครับ
ดังนั้นรวมๆ แล้ว ผมน่าจะได้ชื่อว่า บรรณารักษ์ 1.5 มั้งครับ

เอาเป็นว่าที่เอามาให้ดูก็ไม่ต้องซีเรียสกันมากนะครับ
ไม่ใช่ว่าดูแล้วเครียด พรุ่งนี้เปลี่ยนทรงผม กับ รองเท้าไปทำงาน
เพื่อนๆ ของคุณอาจจะตกใจก็ได้นะครับ

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ 1.0 หรือ บรรณารักษ์ 2.0
ก็อย่าลืมให้บริการผู้ใช้ดีๆ ด้วยนะครับ ไม่งั้นผมคงต้องของริบคำว่า บรรณารักษ์จากพวกคุณแน่ๆ

สัมมนานักสารสนเทศที่พึงประสงค์ในสังคมฐานความรู้

วันนี้มีงานสัมมนาดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมอีกแล้วครับ
งานสัมมนาครั้งนี้จัดโดย ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

banner-seminar Read more

เก็บตกภาพถ่ายจากทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผมได้เดินทางมาปฏิบัติงานที่จังหวัดอุบลราชธานีวันที่ 6-10 สิงหาคม 2552
หลังจากที่ทำงานมาตลอดสี่วัน คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่ผมจะอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงตัดสินใจ “ขอเดินผ่อนคลายสมองที่บริเวณทุ่งศรีเมืองหน่อยก็แล้วกัน”

Read more

เสื้อตัวเดียวในโลกโดย projectlib

หลังจากที่มีเสื้อสวยๆ ใส่เป็นเอกลักษณ์ครั้งนึงในชีวิตมาแล้ว
ผมก้เลยต้องถ่ายรูปแล้วเอามาโพสให้เพื่อนๆ อิจฉาเล่นดู อิอิ

projectlibshirt-225x300 Read more