ตามหาภาพถ่ายงานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ

เรื่องบังเอิญเกิดขึ้นในชีวิตเราหลายๆ ครั้ง
ซึ่งหากเป็นเรื่องบังเอิญที่ดีผมว่าก็ควรจะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

03899-300x225

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า…
ในขณะที่ผมกำลังค้นหาข้อมูลเพื่ออ่านเล่นๆ อยู่ ก็ปรากฎว่าผมไปเจอภาพถ่ายของผมโดยบังเอิญ
เท่าที่จำได้ภาพนี้เป็นภาพตอนที่ผมไปบรรยายที่งานสัมมนาครั้งนึง และถ้าระลึกได้ไม่ผิด
งานสัมมนานั้น คือ งานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2551 นั่นเอง

วันนั้นผมร่วมวงเสวนา “การสร้าง การค้น การอ่าน การแลกเปลี่ยน”
ในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ร่วมกับ อ.รุจเรขา, รศ.ดร.น้ำทิพย์, อ.ประดิษฐา

จริงๆ แล้วผมก็ลืมเรื่องงานเสวนาครั้งนั้นไปแล้วจริงๆ นะครับ
พอเห็นภาพก็นึกขึ้นไปว่า งานในวันนั้นผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย
จึงไม่มีภาพถ่ายที่ระลึกของงานเสวนาในครั้งนั้นมาฝากเพื่อนๆ

วันนี้ผมก็เลยขอนำเรื่องนี้มาประกาศให้เพื่อนๆ ที่ได้ไปงานวันนั้น
ใครได้ถ่ายรูปงานบรรยายในครั้งนั้นบ้าง ผมอยากได้เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ใครมี หรือใครเห็นภาพของผม อยากรบกวนให้ส่งไฟล์เข้ามาในอีเมล์ผมหน่อย
จะขอบคุณอย่างมากๆๆๆๆๆๆ เลยครับ

อีเมล์ผมก็ dcy_4430323@hotmal.com

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งนะครับ

ที่มาของรูปที่ผมไปเจอนี้ คือ http://gotoknow.org/blog/meetingforlibrarian/231849
ขอฝากไว้นิดนึงหากใครรู้จัก หรือเป็นเจ้าของบล็อกนี้ขอความกรุณาติดต่อผมกลับมาด้วยนะครับ
ผมอยากได้รูปภาพขนาดเต็มๆ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกอ่ะครับ

10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องสมุดของคุณ

วันนี้ขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการห้องสมุดบ้าง
เรื่องที่จะบอกต่อไปนี้ จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้ทุกๆ คน

library Read more

บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”

วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร

knowledge-center

ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง?
จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ
ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด

อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ
ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ

กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น
และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”

แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ
?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้?

ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ

บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้

เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ

เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ

รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ

ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ
2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น
3. หน่วยงานในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นและหลากหลายมากขึ้น

จากสิ่งที่ผมเกริ่น บทบาทของโครงการฯ สโลแกนของโครงการฯ ประโยชน์ของโครงการฯ
เพื่อนๆ คงเกิดคำถามว่า แล้วโครงการนี้ต้องทำอย่างไร ผมก็ขอกล่าวต่อเลยนะครับ

แนวทางในการปฏิบัติของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. นำเสนอเนื้อหา และรูปแบบความรู้ที่จำเป็นตามความต้องการของพื้นที่
2. สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคารห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ ในการบริการความรู้ตามที่ได้รับการศึกษาวิจัย
3. เปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้ที่ให้บริการความรู้ได้ทุกรูปแบบ
4. นำเสนอนิทรรศการ ?ทำมาหากิน(ได้)? เพื่อแสดงตัวอย่างของความคิด วิธีทำ อุปสรรค และการแก้ปัญหา
5. จัดอบรมสัมมนาเพื่อ ?ทำมาหากิน?
6. ถอดบทเรียน ?ทำมาหากิน? เพื่อเปลี่ยน Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

นี่คือข้อมูลทั่วไปของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้
หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจในจุดประสงค์ และหลักการของโครงการนี้มากขึ้นนะครับ

หนังสือทำเนียบนามบรรณารักษ์ โดยสถาบันพระบรมราชชนก

จากการพูดคุยกับสมาชิกในบล็อกคนนึงซึ่งบอกว่า “อยากประชาสัมพันธ์หนังสือรุ่น”
ผมก็เลยต้อง “จัดไป อย่าให้เสีย” สักหน่อยดีกว่า

librarian-relationship

ตอนแรกผมก็ประหลาดใจว่าเป็น “หนังสือรุ่นของสถาบันไหน”
จึงได้สอบถามจนรู้ว่าเป็น “ทำเนียบนามบรรณารักษ์”

ผมจึงให้เขาส่งเรื่องนี้เข้ามาในอีเมล์ของผม
แต่พอดีหลายวันมานี้ผมไม่ค่อยว่าง และเพิ่งจะได้เปิดอ่านดูในวันนี้

หลังจากที่เปิดอ่าน และ download ไฟล์ e-book มาดูแล้วอดตกใจไม่ได้
เพราะว่ารู้สึกคุ้นๆ หน้าหลายคนเลย และผมก็รู้จักด้วยหลายคน อิอิ

ชื่อหนังสือรุ่นผมชอบมากเลยครับ
Librarian relationship คือความผูกพันระหว่างน้อง – พี่
นี่แหละครับที่เรียกว่าอาชีพเดียวกันย่อมไม่ทิ้งกันใช่มั้ยครับ

หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นตัวอย่างสำหรับเพื่อนๆ อีกหลายคนที่คิดจะทำหนังสือรุ่น
แต่ถ้าผมเอาออกมาให้ดาวน์โหลดเลย ผมก็กลัวว่าเจ้าของหนังสือรุ่นนี้จะว่าเอา

ดังนั้นเอางี้ดีกว่า ใครอยากดูหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างให้ส่งเมล์มาขอก็แล้วกันนะครับ
ที่อีเมล์ dcy_4430323@hotmail.com

วันนี้ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกท่านนี้มากครับ
สมาชิกท่านนี้ใช้ชื่อในบล็อกผมว่า ?Hi-so Librarian?

อ๋อขอเช็ค rating หน่อยนะครับ
อยากรู้จังว่าเพื่อนๆ สมาชิกบล็อก projectlib
ยังมีใครมาจากสถาบันพระบรมราชชนกนี้อีกบ้าง
ช่วยยกมือกันหน่อย หรือส่งเสียงมาทักทายกันบ้างนะครับ

ปล. ใครอยากอวดหนังสือรุ่นของตัวเองก็ส่งมาให้ผมได้นะครับ แล้วผมจะเอามาให้เพื่อนๆ คนอื่นได้ชื่นชมต่อไป

อัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2

วันนี้ผมขอเข้ามาเขียนอัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2 หน่อยดีกว่า
เพื่อเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ หลายคนเตรียมตัวได้ถูกหน่อย

Read more

Twitter + Librarian = Twitterian

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร
เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน

twitter Read more

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ

librarybook Read more

100 ล้าน IPOD กับความเศร้าของเราชาวบรรณารักษ์

บล็อกเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ผมเขียนใน Projectlib เลยนะครับ
เพราะฉะนั้นผมขอเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นที่ระลึกนะครับ

ipod Read more

ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ

เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์
วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ

good-librarian Read more