ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ
ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น
บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้
จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ
1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง
ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog
2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด
ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com
3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด
ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/
4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา
ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com
ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้
นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)
ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ
Leave a Reply