ประมวลภาพงาน LibCamp#2

ก่อนจะประมวลภาพ Libcamp#2 ผมคงต้องขอขอบคุณแหล่งภาพจากทีมงานของ สสส. นะครับ

gallery-libcamp

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านบทสรุปของงานนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถหาอ่านได้ตามนี้เลยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#2
LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง
LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ
Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก
Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับคนที่อ่านจบแล้วก็มาดูรูปกันเลยดีกว่านะครับ
http://www.flickr.com/photos/guopai/sets/72157621876757181/

ภาพบางส่วนจากอัลบั้มงาน Libcamp#2

ป้ายของงาน Libcamp#2

libcamp20

ภาพผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด

libcamp21

ภาพบรรยากาศในงาน 1

libcamp21-2

ภาพบรรยากาศในงาน 2

libcamp21-3

ภาพบรรยากาศในงาน 3

libcamp21-4

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ผมต้องขอขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้
– แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สสส.
– ห้องสมุดสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– วิทยากรผู้ให้ความรู้ทุกท่าน
– ผู้เข้าร่วมงาน LibCamp ทุกคน

แล้วรอติดตามงาน Libcamp#3 เร็วๆ นี้นะครับ

Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดงาน Libcamp#2 ทางทีมงานได้เปิดหัวข้อ Open session ให้
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมงานนำเสนอไอเดียใหม่ๆ และไอเดียที่น่าสนใจสำหรับวงการห้องสมุด

libcamp-open-session

ซึ่งผลจากการเปิดหัวข้อในครั้งนี้เราได้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสรุปออกมาได้หลายประเด็นดังนี้

1. แนะนำโครงการห้องสมุดดิจิทัล โดย คุณชิตพงษ์? กิตตินราดร
ตอนนี้โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว
โดยแผนงานไอซีที ของ สสส. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน และผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลฯ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังคม
โครงการนี้ก็หวังว่าจะเป็นโยชน์ต่อสังคมในแง่ของการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชนบนโลกออนไลน์

2. Arnarai.in.th: คุณกำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ โดย คุณวรัทธน์? วงศ์มณีกิจ
แนะนำเว็บไซต์ “อ่านอะไร” บล็อกก็คือที่ปล่อยของ ในที่นี้หมายถึงหนังสือนะครับ
แรงบันดาลใจในการทำเว็บๆ นี้ คือ “เด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด”
นี่เป็นสิ่งน่าคิดมากว่าแล้วเราจะทำยังไงให้มีการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จึงได้จับเอาหนังสือมาผนวกกับแนวความคิดของเว็บ 2.0 จึงทำให้ได้เว็บนี้ออกมา

arnarai

ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://www.arnarai.in.th/

นอกจากสองประเด็นใหญ่นี้แล้ว ทางทีมงานยังได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับงาน Libcamp ในครั้งหน้าด้วย เช่น
– อยากให้งาน LibCamp มีการฝึกปฏิบัติ หรือ workshop กันด้วย
– อยากให้งาน LibCamp จัดงานหมุนเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ บ้าง
– อยากให้งาน LibCamp ไปจัดในต่างจังหวัดด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่าในงานนี้ทุกคนต่างก็ได้รับความรู้ไปใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทางทีมงานและผู้จัดงานทุกคนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ได้ติดตามงาน Libcamp มาอย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ