มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

library-design

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library

librarydesign1

ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool

librarydesign2

ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)

librarydesign3

ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

librarydesign4

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. ผมเคยหยิบประเด็นเรื่องการออกแบบห้องสมุด และได้ยกเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดประชาชนแห่งเมือง Seattle มาให้อาจารย์และเพื่อนๆ ได้ชมด้วยครับ ในวิชาสัมมนาก่อนจบปี 4 อาจารย์และเพื่อนๆ ได้อภิปรายกันว่า บ้านเราเองควรมีสมาคม หรือหน่วยงานในการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบมิติใหม่ เพราะในบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาครัฐ การออกแบบอาคารห้องสมุดที่ขึ้นตรงต่อรัฐ นั้นจะต้องมีแปลนมาตรฐานที่ทางรัฐกำหนด ซึ่ง (เชย) อยู่เหมือนกัน ครับ แต่ผมคิดว่าในอนาคตการออกแบบที่มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นในบ้านเรา เราอาจจะได้เห็นห้องสมุดรูปแบบที่โมเดิร์นๆ ในบ้านเราก็เป็นได้ครับ

    ปล. การออกแบบที่เข้าขั้นบ้างแล้วที่เห็นใน กรุงเทพมหานคร คือ ห้องสมุดซอยพระนาง ตรงสามเหลี่ยมดินแดงครับ ภายในสวยงาม แสงสว่างเหมาะสม สุดสัปดาห์มีผู้ใช้เข้าใช้เยอะทีเดียวครับ

1 Trackback / Pingback

  1. In Trend Library In The World – Benjamas Book Review

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*