รับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และห้องสมุด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (กทม.)

มีข่าวรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ เลือกอ่านอีกแล้วครับท่าน
ใครสนใจก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างกันเองนะ แล้วก็รีบๆ สมัครกันด้วยหล่ะ

librarian-wu

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ผมขอตัดเอาแต่คุณสมบัติที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์นะครับ)
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์/สารสนเทศศึกษา/การจัดการสารสนเทศ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ในสถาบันอุดมศึกษาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
– ปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
– มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม MS Office
– มีทักษะด้านการสื่อสารและการประสานงาน
– มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
– มีอัธยาศัยและมนุษยสัมพันธ์ดี รักงานบริการ

ตำแหน่งนี้จะได้บรรจุเป็นพนักงานสัญญาจ้างเท่านั้นนะครับ
โดยสัญญาจ้างครั้งแรกจะจ้างไว้ 2 ปี และจะต้องทดลองงาน 6 เดือนนะครับ
ส่วนการเซ็นต์สัญญาครั้งต่อไปก็จะต่ออายุไม่เกิน 4 ปีไปเรื่อยๆ ครับ

ภาระงานหลักที่ต้องทำ ก็อย่างที่ชื่อตำแหน่งกำหนดนั่นแหละครับ
เน้นประชาสัมพันธ์ กับ งานห้องสมุดเป็นหลัก แต่ก็อาจจะมีงานเสริมมาให้ทำเป็นระยะๆ

อัตราเงินเดือน 10,500 บาท/เดือน (ผมว่าค่อนข้างที่จะใช้ได้เลย)

อ๋อเกือบลืม รับสมัครถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นคิดให้ดีๆ ครับ แล้วก็รีบตัดสินใจกันได้แล้วเพราะเหลือเวลาแค่หนึ่งอาทิตย์เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานการสมัคร และการสอบ
ผมอยากให้เพื่อนๆ อ่านเองมากกว่าจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบไปด้วย
ก็ตามอ่านได้ที่ http://www.wu.ac.th/2552/news/showNewsV.php?id=12818 นะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ถ้ามีงานที่น่าสนใจมาอีกจะรีบรายงานให้เพื่อนๆ ทราบทันทีครับ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ ครั้งที่ 26 พร้อมเอกสารประกอบ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
ชื่อหัวข้อ คือ ?รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่?

banner1

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
หัวข้อ : รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่
วันที่จัด : วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ห้องประชุม 1 – 301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อเด่นๆ ที่น่าสนใจในงานสัมมนา
– ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ
– การอภิปราย เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ
– การอภิปราย เรื่อง การเทียบสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศ พร้อมหรือไม่ และทำอย่างไร
– ประชุมกลุ่มย่อยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
– การอภิปรายเรื่อง มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ
– การบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
– การบรรยายเรื่อง ห้องสมุดกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การบรรยายเรื่อง การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด (Branding & Re-branding in Library)
– การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

เอกสารการสัมมนาที่สามารถดาวน์โหลดได้มีดังนี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ?
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคระกรรมการอุดมศึกษา

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

– ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรสานิเทศ
อาจารย์ จรินทร์ คิดหมาย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
อาจารย์ บุญสม เล้าพูนพิทยะ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านบริการ
อาจารย์ ภาวณา เขมะรัตน์ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
รศ. อิ่มจิต เลศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารและผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง?การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด?
ดร.ชันนยา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นยังไงกันบ้างครับเอกสารต่างๆ ในการสัมมนา
ผมคิดว่ามีประโยชน์ และคุณค่าสำหรับวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดเลยทีเดียว

หลายๆ ครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาห้องสมุด บางครั้งผมเองก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้
ก็หวังว่าจะมีเอกสารให้ได้อ่านย้อนหลังบ้าง แต่บ่อยครั้งที่มักจะไม่มีให้ดาวน์โหลด
ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมอยากเข้าร่วมงาน แต่ไม่สามารถไปได้
ก็ได้แต่หวังว่าผู้จัดงานจะส่งเอกสารมาให้อ่าน ซึ่งคงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ
แต่วันนี้ฝันของผมก็ได้เป็นจริง เมื่อการสัมมนาครั้งนี้นำเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงจะอยากได้เหมือนผม

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ส่งข้อมูลมาให้
ขอบคุณผู้ที่จัดงานทุกคน
ขอบคุณผู้ร่วมงานสัมมนาทุกคน
และขอบคุณผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

สำหรับผู้จัดงานอื่นๆ ขอให้นำการสัมมนานี้ไปเป็นแบบด้วยนะครับ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคม การแบ่งปันความรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากๆ

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา