ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

การบรรยายรื่อง ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
จัดโดย สถาบันสอนภาษา บริติช เคาน์ซิล และสถานพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ดูผิวเผินเพื่อนๆ อาจจะบอกว่าไม่น่าเกี่ยวกับห้องสมุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หรือ หอศิลป์ ต่างก็ถูกจัดเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมเหมือนๆ กัน

musuem

การไปฟังบรรยายครั้งนี้จึงถือว่าได้ไอเดียในการทำงานมามากมาย
บางเรื่องสามารถนำมาประยุกต์กับการคิดแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดก็ได้ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรยายในครั้งนี้
ชื่อการบรรยาย ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
ผู้บรรยาย
?Michael Day (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักพระราชวังแห่งสหราชอาณาจักร)?
วันและเวลาในการบรรยาย ?วันที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00?
สถานที่ที่บรรยาย ?สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)?

หัวข้อในการบรรยาย แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังนี้
– Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
– Museum Futures – What is the 21st century bringing?

เห็นหัวข้อการบรรยายแล้วน่าสนใจมากเลยใช่หรือปล่าวครับ
เอางี้ดีกว่าไปอ่านเรื่องที่ผมสรุปมาเลยดีกว่าครับ

????????????????-

Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ และการวางแผนในองค์กรทางวัฒนธรรมที่ไม่แสวงหากำไร

– แนะนำหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Historic Royal Palaces
ได้แก่ Tower of London, Hampton Court Palace, Banqueting House, Kensington Palace, Kew Palace

– บทเรียนที่ได้จากการทำงานมีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมาย และอุดมการณ์ให้องค์กร ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานต่างๆ
อุดมการณ์ – เป็นสิ่งที่มีพลัง, เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน, มีเหตุมีผล, ?
2. กาลเวลา ความต่อเนื่อง จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
3. กฎยุทธศาสตร์ของ Norman Flynn?s ตลอดการทำงานขององค์กรจะมีเพียง 3-4 อย่างเท่านั้นที่สำคัญ
และถ้าเราหาสิ่งเหล่านั้นเจอและทำมันให้ดีจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมาก
4. ผู้นำขององค์กรทางวัฒนธรรม มักจะเป็นที่พึ่งพาของบุคคลอื่นๆ สูงมาก
5. คุณจะต้องยอมรับกับข้อเรียกร้องต่างๆ ได้ ไม่ว่าข้อเรียกร้องนั้นจะมีความขัดแย้งกับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เช่น การตั้งเป้าหมายให้สูงแม้ว่าจะมีเงินสนับสนุนเพียงน้อยนิด,
โบราณสถานถึงแม้ว่าองค์กรจะต้องดูแลรักษา แต่ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาชมด้วย,
อยากให้คนเข้ามาชมโบราณสถานมากๆ แต่เราก็ต้องเก็บเงินจากผู้เข้าชมเหล่านั้น
6. การสร้างความรู้สึกให้ผู้ใต้บัญชาเข้าใจ และรักในองค์กรที่ทำงานอยู่
7. การบริหารงานที่ดีต้องให้ความสำคัญทั้งกับเบื้องบน สิ่งรอบข้าง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
8. การบริหารคนในองค์กร สนับสนุนคนที่ทำงานในองค์กรให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ เขาจะรักองค์กร?
9. มันไม่ใช่เพียงแค่อะไรที่คุณทำ แต่คุณต้องรู้ว่าทำอย่างไรมากกว่า
(ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าใจถึงงานที่คุณทำด้วย)
10. ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปขององค์กรจะดี หรือราบรื่น
แต่ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมอาจจะทำให้องค์กรของเราเกิดผลกระทบได้
และถึงตอนนั้นเราต้องยอมรับสภาพให้ได้ และแก้ไขให้ดีที่สุด

– ก่อนจบผู้บรรยายได้ฝากไว้อีกว่า ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ และคนเรายังสามารถเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้ตลอดชีวิต

????????????????-

Museum Futures – What is the 21st century bringing?
อนาคตของพิพิธภัณฑ์ ศตวรรษที่ 21 นำอะไรมาบ้าง

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะถูกผูกติดกับสังคม และชุมชน

– การเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ข้อที่มีผลต่อพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้
1. ประชากรเปลี่ยนแปลงไป เช่น การย้ายถิ่น, อายุเฉลี่ย, บทบาทของผู้หญิง ฯลฯ
2. การกำเนิดอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีดิจิทัล
เมื่อสิบปีที่แล้วยังไม่มี google เลย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
3. ราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง และวิถีการเดินทางของคนมีมากขึ้น
4. วัฒนธรรมดั้งเดิม และพรมแดนของประเทศเริ่มจางหายไป
สินค้าที่มีแบรนด์ และสร้างวัฒนธรรมของแบรนด์เนมมีมากขึ้น
5. การลงทุนในแง่ของวัฒนธรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
(การสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่น อาจจะทำให้เกิดการบูรณะเมืองเลยก็ได้)
6. วิถีการใช้ชีวิตของตัวเองนำมาสู่ครอบครัวมากขึ้น เช่น การนำงานจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน
7. ลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการ มีการคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น เด็กมักจะเห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าความรู้ (เห็นเงินดีกว่า)
แต่สำหรับคนที่เรียนจบปริญญาจะเห็นค่าความรู้มากกว่าวัตถุ
8. ภาคการเมืองมีการคาดหวังในพิพิธภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป
เช่นให้การสนับสนุน รวมถึงการคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้กลับมา เช่น การท่องเที่ยว การสร้างงาน ฯลฯ
9. โลกใบนี้มีอะไรที่ไม่แน่นอน คาดเดาอะไรไม่ได้

– ไอเดียสำหรับเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์ 9 ประเด็น ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมาย และอุดมการณ์
2. หาแนวทางในการนำเสนอความรู้ในรูปแบบใหม่
3. คนจำนวนมากสนใจเรื่องราวมากกว่าวัตถุ
4. พิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งดูน่าเบื่อ (ลองเปรียบเทียบกับโรงภาพยนตร์)
5. ทุกจุดบริการสำคัญหมดสำหรับผู้ใช้
ถ้าผู้ใช้เจอจุดที่ไม่ดีเพียง 1 จุด เราจะต้องให้เขาประทับใจเพิ่มถึง 27 จุด เพื่อดึงความพอใจกลับคืนมา
6. เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลมากขึ้น
7. ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ เพราะคนในชุมชนจะเข้าใจ และเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง
8. พิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันตลอดเวลา
9. คนที่ทำงานในองค์กรทุกคนมีความสำคัญ

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะสดใสได้ ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้

????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับ เสียดายที่การบรรยายในครั้งนี้ไม่มีเอกสารในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์แจก
ไม่งั้นผมคงจะแจกให้เพื่อนๆ นำไปอ่านต่อกันแล้ว เพราะว่ารู้สึกว่าได้แง่คิดมากมายเลยทีเดียว

สำหรับข้อมูลที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองไปดูต่อ มีดังนี้

– เว็บไซต์ของ Historic Royal Palaces
http://www.hrp.org.uk

– เว็บไซต์ของ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

http://www.ndmi.or.th