แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

การบรรยายรื่อง ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
จัดโดย สถาบันสอนภาษา บริติช เคาน์ซิล และสถานพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ดูผิวเผินเพื่อนๆ อาจจะบอกว่าไม่น่าเกี่ยวกับห้องสมุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หรือ หอศิลป์ ต่างก็ถูกจัดเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมเหมือนๆ กัน

musuem

การไปฟังบรรยายครั้งนี้จึงถือว่าได้ไอเดียในการทำงานมามากมาย
บางเรื่องสามารถนำมาประยุกต์กับการคิดแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดก็ได้ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรยายในครั้งนี้
ชื่อการบรรยาย ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
ผู้บรรยาย
?Michael Day (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักพระราชวังแห่งสหราชอาณาจักร)?
วันและเวลาในการบรรยาย ?วันที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00?
สถานที่ที่บรรยาย ?สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)?

หัวข้อในการบรรยาย แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังนี้
– Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
– Museum Futures – What is the 21st century bringing?

เห็นหัวข้อการบรรยายแล้วน่าสนใจมากเลยใช่หรือปล่าวครับ
เอางี้ดีกว่าไปอ่านเรื่องที่ผมสรุปมาเลยดีกว่าครับ

????????????????-

Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ และการวางแผนในองค์กรทางวัฒนธรรมที่ไม่แสวงหากำไร

– แนะนำหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Historic Royal Palaces
ได้แก่ Tower of London, Hampton Court Palace, Banqueting House, Kensington Palace, Kew Palace

– บทเรียนที่ได้จากการทำงานมีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมาย และอุดมการณ์ให้องค์กร ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานต่างๆ
อุดมการณ์ – เป็นสิ่งที่มีพลัง, เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน, มีเหตุมีผล, ?
2. กาลเวลา ความต่อเนื่อง จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
3. กฎยุทธศาสตร์ของ Norman Flynn?s ตลอดการทำงานขององค์กรจะมีเพียง 3-4 อย่างเท่านั้นที่สำคัญ
และถ้าเราหาสิ่งเหล่านั้นเจอและทำมันให้ดีจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมาก
4. ผู้นำขององค์กรทางวัฒนธรรม มักจะเป็นที่พึ่งพาของบุคคลอื่นๆ สูงมาก
5. คุณจะต้องยอมรับกับข้อเรียกร้องต่างๆ ได้ ไม่ว่าข้อเรียกร้องนั้นจะมีความขัดแย้งกับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เช่น การตั้งเป้าหมายให้สูงแม้ว่าจะมีเงินสนับสนุนเพียงน้อยนิด,
โบราณสถานถึงแม้ว่าองค์กรจะต้องดูแลรักษา แต่ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาชมด้วย,
อยากให้คนเข้ามาชมโบราณสถานมากๆ แต่เราก็ต้องเก็บเงินจากผู้เข้าชมเหล่านั้น
6. การสร้างความรู้สึกให้ผู้ใต้บัญชาเข้าใจ และรักในองค์กรที่ทำงานอยู่
7. การบริหารงานที่ดีต้องให้ความสำคัญทั้งกับเบื้องบน สิ่งรอบข้าง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
8. การบริหารคนในองค์กร สนับสนุนคนที่ทำงานในองค์กรให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ เขาจะรักองค์กร?
9. มันไม่ใช่เพียงแค่อะไรที่คุณทำ แต่คุณต้องรู้ว่าทำอย่างไรมากกว่า
(ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าใจถึงงานที่คุณทำด้วย)
10. ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปขององค์กรจะดี หรือราบรื่น
แต่ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมอาจจะทำให้องค์กรของเราเกิดผลกระทบได้
และถึงตอนนั้นเราต้องยอมรับสภาพให้ได้ และแก้ไขให้ดีที่สุด

– ก่อนจบผู้บรรยายได้ฝากไว้อีกว่า ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ และคนเรายังสามารถเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้ตลอดชีวิต

????????????????-

Museum Futures – What is the 21st century bringing?
อนาคตของพิพิธภัณฑ์ ศตวรรษที่ 21 นำอะไรมาบ้าง

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะถูกผูกติดกับสังคม และชุมชน

– การเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ข้อที่มีผลต่อพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้
1. ประชากรเปลี่ยนแปลงไป เช่น การย้ายถิ่น, อายุเฉลี่ย, บทบาทของผู้หญิง ฯลฯ
2. การกำเนิดอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีดิจิทัล
เมื่อสิบปีที่แล้วยังไม่มี google เลย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
3. ราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง และวิถีการเดินทางของคนมีมากขึ้น
4. วัฒนธรรมดั้งเดิม และพรมแดนของประเทศเริ่มจางหายไป
สินค้าที่มีแบรนด์ และสร้างวัฒนธรรมของแบรนด์เนมมีมากขึ้น
5. การลงทุนในแง่ของวัฒนธรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
(การสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่น อาจจะทำให้เกิดการบูรณะเมืองเลยก็ได้)
6. วิถีการใช้ชีวิตของตัวเองนำมาสู่ครอบครัวมากขึ้น เช่น การนำงานจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน
7. ลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการ มีการคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น เด็กมักจะเห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าความรู้ (เห็นเงินดีกว่า)
แต่สำหรับคนที่เรียนจบปริญญาจะเห็นค่าความรู้มากกว่าวัตถุ
8. ภาคการเมืองมีการคาดหวังในพิพิธภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป
เช่นให้การสนับสนุน รวมถึงการคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้กลับมา เช่น การท่องเที่ยว การสร้างงาน ฯลฯ
9. โลกใบนี้มีอะไรที่ไม่แน่นอน คาดเดาอะไรไม่ได้

– ไอเดียสำหรับเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์ 9 ประเด็น ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมาย และอุดมการณ์
2. หาแนวทางในการนำเสนอความรู้ในรูปแบบใหม่
3. คนจำนวนมากสนใจเรื่องราวมากกว่าวัตถุ
4. พิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งดูน่าเบื่อ (ลองเปรียบเทียบกับโรงภาพยนตร์)
5. ทุกจุดบริการสำคัญหมดสำหรับผู้ใช้
ถ้าผู้ใช้เจอจุดที่ไม่ดีเพียง 1 จุด เราจะต้องให้เขาประทับใจเพิ่มถึง 27 จุด เพื่อดึงความพอใจกลับคืนมา
6. เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลมากขึ้น
7. ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ เพราะคนในชุมชนจะเข้าใจ และเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง
8. พิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันตลอดเวลา
9. คนที่ทำงานในองค์กรทุกคนมีความสำคัญ

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะสดใสได้ ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้

????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับ เสียดายที่การบรรยายในครั้งนี้ไม่มีเอกสารในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์แจก
ไม่งั้นผมคงจะแจกให้เพื่อนๆ นำไปอ่านต่อกันแล้ว เพราะว่ารู้สึกว่าได้แง่คิดมากมายเลยทีเดียว

สำหรับข้อมูลที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองไปดูต่อ มีดังนี้

– เว็บไซต์ของ Historic Royal Palaces
http://www.hrp.org.uk

– เว็บไซต์ของ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

http://www.ndmi.or.th

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

2 Comments

  1. เคยผ่านเข้ามาในเวปของคุณ น่าสนใจมากช่างทุ่มเท นับวันมีเรื่องมากมาย น่าจะเป็นนักเขียนอีก 1 อาชีพ วันนี้อยากฝากข้อความน่าจะลงผิด เกี่ยวกับพ.ศ. ในบทความแผนกลยุทธ์…
    วันและเวลาในการบรรยาย ?วันที่ 13 มกราคม 2553

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*