บ้านน่ารักสไตล์บรรณารักษ์

วันนี้ขอเน้นเรื่องการจัดการบ้านของพวกเราชาวบรรณารักษ์กันบ้างนะครับ
เอาง่ายๆ การจัดห้องสมุดแหละ แต่ผมขอตั้งชื่อเรื่องนี้ให้น่ารักๆ สักหน่อย
เพราะว่าห้องสมุดก็คือบ้านหลังที่สองของบรรณารักษ์นั่นเอง เพื่อนๆ ว่าม่ะ

home

การจัดห้องสมุดในมุมมองใหม่ๆ เราต้องมองมุมมองในองค์ประกอบต่างๆ ของห้องสมุด เช่น

– นโยบายของห้องสมุดด้านต่างๆ เช่น นโยบายการเปิด-ปิดทำการ นโยบายการยืม นโยบายการคืน
พูดง่ายๆ งานด้านการบริหารของห้องสมุดต้องมีกรบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมงานต่างๆ ทั้งหมด

– สถานที่ที่ให้บริการ ตัวสถานที่ของห้องสมุดเองว่ามีการจัดสรรพื้นที่อย่างไร ตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
บรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การอ่านหนังสือและใช้บริการ

– บุคลากรที่มีจิตใจที่ดีต่อการบริการ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้
ด้วยปรัชญาที่เรียกว่า ?SERVICE MIND?

– ทรัพยากรสารสนเทศตอบสนองผู้ใช้บริการโดยอิงกับนโยบายและเอกลักษณ์ของห้องสมุดนั่นๆ
เช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ควรจะตอบสนองสาขาวิชาและคณะต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย

– เทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องสมุด ด้วยสาเหตุที่ว่าห้องสมุดไม่สามารถมีทุกอย่างตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ
การที่เราจัดบริการทางเทคโนโลยีสรสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ตก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อีกทาง
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เอื้อต่อการทำงานของบรรณารักษ์จะทำให้บรรณารักษ์สามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

– กิจกรรมและบริการต่างๆ ภายในห้องสมุด ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้บริการของผู้ใช้ด้วย

จากทุกๆ ข้อที่กล่าวมา การที่เราจะจัดห้องสมุดแบบนี้ได้
ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงการจัดการต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด
เช่น ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ / สถานที่เล็กเกินไป / งบประมาณมีจำกัด / และอีกหลายๆ สาเหตุ

แต่ปัญหาเหล่านี้ขอให้บรรณารักษ์อย่าได้ท้อ
เราต้องค่อยๆ แก้ทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ในครั้งเดียว
การปรับแนวคิดของคนค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป สู้ๆ นะครับ

5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0

วันนี้ผมมีเวลาเล่าเรื่องน้อยกว่าทุกวันนะครับ เนื่องจากงานเยอะมากๆ
แต่บังเอิญไปเจอบทความดีๆ มา เลยต้องรีบแนะนำก่อน บทความนี้เกี่ยวกับเรื่อง ห้องสมุด 2.0

gotolibrary20

หลังๆ มาผมได้เข้ากลุ่ม library2.0 network ในเมืองนอกบ่อยขึ้น
เว็บนี้ทุกคนได้เข้ามาแชร์กันในเรื่องของการสร้างแนวคิดเรื่องการจัดการห้องสมุด 2.0 เยอะมากๆ

บทความนึงที่ในชุมชนกล่าวถึง คือ 5 คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของคุณให้กลายเป็นห้องสมุด 2.0
5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0 (or Some Easy Steps to Get Started?Really)
ซึ่งบทความนี้เขียนโดย อาจารย์ Michael Stephens

เอาเป็นว่าผมขอแปลแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากอ่านต้นฉบับก็เข้าไปดูได้ที่ ชื่อเรื่องด้านบนเลยนะครับ

สำหรับคำแนะนำ หรือขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาห้องสมุดของคุณให้เป็น ห้องสมุด 2.0
เริ่มจาก ?..

1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน)

เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย
แถมขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


2. Create an Emerging Technology Committee

ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด
เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ
โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้
เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ


3. Train staff to use an RSS aggregator

จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS

4. Experiment and use 2.0 Tools

รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
เช่น wikipedia, youtube, slideshare,?..
เมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย

5. Implement IM reference
การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ กลายเป็นห้องสมุด 2.0 ได้แล้วนะครับ
เอาเป็นว่าลองดูก่อนนะ ถ้าสนใจเรื่องไหนอย่างเป็นพิเศษ ลองแนะนำมาดู เดี๋ยวผมจะเขียนเน้นให้อีกที

ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

การบรรยายรื่อง ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
จัดโดย สถาบันสอนภาษา บริติช เคาน์ซิล และสถานพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ดูผิวเผินเพื่อนๆ อาจจะบอกว่าไม่น่าเกี่ยวกับห้องสมุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หรือ หอศิลป์ ต่างก็ถูกจัดเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมเหมือนๆ กัน

musuem

การไปฟังบรรยายครั้งนี้จึงถือว่าได้ไอเดียในการทำงานมามากมาย
บางเรื่องสามารถนำมาประยุกต์กับการคิดแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดก็ได้ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรยายในครั้งนี้
ชื่อการบรรยาย ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
ผู้บรรยาย
?Michael Day (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักพระราชวังแห่งสหราชอาณาจักร)?
วันและเวลาในการบรรยาย ?วันที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00?
สถานที่ที่บรรยาย ?สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)?

หัวข้อในการบรรยาย แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังนี้
– Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
– Museum Futures – What is the 21st century bringing?

เห็นหัวข้อการบรรยายแล้วน่าสนใจมากเลยใช่หรือปล่าวครับ
เอางี้ดีกว่าไปอ่านเรื่องที่ผมสรุปมาเลยดีกว่าครับ

????????????????-

Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ และการวางแผนในองค์กรทางวัฒนธรรมที่ไม่แสวงหากำไร

– แนะนำหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Historic Royal Palaces
ได้แก่ Tower of London, Hampton Court Palace, Banqueting House, Kensington Palace, Kew Palace

– บทเรียนที่ได้จากการทำงานมีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมาย และอุดมการณ์ให้องค์กร ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานต่างๆ
อุดมการณ์ – เป็นสิ่งที่มีพลัง, เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน, มีเหตุมีผล, ?
2. กาลเวลา ความต่อเนื่อง จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
3. กฎยุทธศาสตร์ของ Norman Flynn?s ตลอดการทำงานขององค์กรจะมีเพียง 3-4 อย่างเท่านั้นที่สำคัญ
และถ้าเราหาสิ่งเหล่านั้นเจอและทำมันให้ดีจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมาก
4. ผู้นำขององค์กรทางวัฒนธรรม มักจะเป็นที่พึ่งพาของบุคคลอื่นๆ สูงมาก
5. คุณจะต้องยอมรับกับข้อเรียกร้องต่างๆ ได้ ไม่ว่าข้อเรียกร้องนั้นจะมีความขัดแย้งกับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เช่น การตั้งเป้าหมายให้สูงแม้ว่าจะมีเงินสนับสนุนเพียงน้อยนิด,
โบราณสถานถึงแม้ว่าองค์กรจะต้องดูแลรักษา แต่ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาชมด้วย,
อยากให้คนเข้ามาชมโบราณสถานมากๆ แต่เราก็ต้องเก็บเงินจากผู้เข้าชมเหล่านั้น
6. การสร้างความรู้สึกให้ผู้ใต้บัญชาเข้าใจ และรักในองค์กรที่ทำงานอยู่
7. การบริหารงานที่ดีต้องให้ความสำคัญทั้งกับเบื้องบน สิ่งรอบข้าง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
8. การบริหารคนในองค์กร สนับสนุนคนที่ทำงานในองค์กรให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ เขาจะรักองค์กร?
9. มันไม่ใช่เพียงแค่อะไรที่คุณทำ แต่คุณต้องรู้ว่าทำอย่างไรมากกว่า
(ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าใจถึงงานที่คุณทำด้วย)
10. ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปขององค์กรจะดี หรือราบรื่น
แต่ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมอาจจะทำให้องค์กรของเราเกิดผลกระทบได้
และถึงตอนนั้นเราต้องยอมรับสภาพให้ได้ และแก้ไขให้ดีที่สุด

– ก่อนจบผู้บรรยายได้ฝากไว้อีกว่า ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ และคนเรายังสามารถเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้ตลอดชีวิต

????????????????-

Museum Futures – What is the 21st century bringing?
อนาคตของพิพิธภัณฑ์ ศตวรรษที่ 21 นำอะไรมาบ้าง

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะถูกผูกติดกับสังคม และชุมชน

– การเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ข้อที่มีผลต่อพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้
1. ประชากรเปลี่ยนแปลงไป เช่น การย้ายถิ่น, อายุเฉลี่ย, บทบาทของผู้หญิง ฯลฯ
2. การกำเนิดอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีดิจิทัล
เมื่อสิบปีที่แล้วยังไม่มี google เลย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
3. ราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง และวิถีการเดินทางของคนมีมากขึ้น
4. วัฒนธรรมดั้งเดิม และพรมแดนของประเทศเริ่มจางหายไป
สินค้าที่มีแบรนด์ และสร้างวัฒนธรรมของแบรนด์เนมมีมากขึ้น
5. การลงทุนในแง่ของวัฒนธรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
(การสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่น อาจจะทำให้เกิดการบูรณะเมืองเลยก็ได้)
6. วิถีการใช้ชีวิตของตัวเองนำมาสู่ครอบครัวมากขึ้น เช่น การนำงานจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน
7. ลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการ มีการคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น เด็กมักจะเห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าความรู้ (เห็นเงินดีกว่า)
แต่สำหรับคนที่เรียนจบปริญญาจะเห็นค่าความรู้มากกว่าวัตถุ
8. ภาคการเมืองมีการคาดหวังในพิพิธภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป
เช่นให้การสนับสนุน รวมถึงการคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้กลับมา เช่น การท่องเที่ยว การสร้างงาน ฯลฯ
9. โลกใบนี้มีอะไรที่ไม่แน่นอน คาดเดาอะไรไม่ได้

– ไอเดียสำหรับเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์ 9 ประเด็น ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมาย และอุดมการณ์
2. หาแนวทางในการนำเสนอความรู้ในรูปแบบใหม่
3. คนจำนวนมากสนใจเรื่องราวมากกว่าวัตถุ
4. พิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งดูน่าเบื่อ (ลองเปรียบเทียบกับโรงภาพยนตร์)
5. ทุกจุดบริการสำคัญหมดสำหรับผู้ใช้
ถ้าผู้ใช้เจอจุดที่ไม่ดีเพียง 1 จุด เราจะต้องให้เขาประทับใจเพิ่มถึง 27 จุด เพื่อดึงความพอใจกลับคืนมา
6. เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลมากขึ้น
7. ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ เพราะคนในชุมชนจะเข้าใจ และเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง
8. พิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันตลอดเวลา
9. คนที่ทำงานในองค์กรทุกคนมีความสำคัญ

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะสดใสได้ ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้

????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับ เสียดายที่การบรรยายในครั้งนี้ไม่มีเอกสารในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์แจก
ไม่งั้นผมคงจะแจกให้เพื่อนๆ นำไปอ่านต่อกันแล้ว เพราะว่ารู้สึกว่าได้แง่คิดมากมายเลยทีเดียว

สำหรับข้อมูลที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองไปดูต่อ มีดังนี้

– เว็บไซต์ของ Historic Royal Palaces
http://www.hrp.org.uk

– เว็บไซต์ของ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

http://www.ndmi.or.th

#090909 วันนี้มันพิเศษตรงไหน

วันนี้เป็นวันที่หลายคนบอกว่าร้อยปีมีครั้งนึง นั่นคือ วันที่ 9 เดือน 9 ปี 9
นี่ยังดีนะที่ผมไม่ได้เขียนบล็อกตอน 9 โมง 9 นาที 9 วินาที
ไม่งั้นผมคงมีเลขชุด 09/09/09 09:09:09 แน่แน่

090909

วันนี้จริงๆ แล้วก็เป็นวันธรรมดาวันนึงนั่นแหละครับ
เพียงแต่มีกิจกรรมบางอย่างพิเศษๆ เช่น โครงการ 9 ในดวงใจ ฯลฯ

โครงการเก้าในดวงใจ คือ ????

โครงการที่ขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์

อยากรู้ว่าคือโครงการอะไร ลองเข้าไปหาคำตอบได้ที่ http://www.9naiduangjai.com/

วันนี้มาถึงออกฟฟิตแต่เช้าก็ต้องตกใจเนื่องจากในตึกสำนักงานของผมก็มีการจัดงานนี้เช่นกัน
ทุกคนมายืนรวมตัวกันตั้งแต่ประมาณแปดโมงกว่าๆ และร่วมร้องเพลงสดุดีมหาราชากันตอน 9 โมง 9 นาที

นอกจากนี้ใน Twitter ที่ผมเล่นก็พบข้อความเกี่ยวกับ #090909 มากมาย
เพื่อนๆ ลองเข้าไปดูกันได้ที่ http://twitter.com/#search?q=%23090909
คนทั่วโลกก็ตื่นเต้นกับวันนี้เช่นเดียวกัน….

แต่ว่า….ถ้ามันเป็นวันพิเศษแล้วทำไมไม่ใช่วันหยุดหล่ะ
เป็นคำถามน่าคิดดีเหมือนกันนะครับ ผมก็ยังคงทำงานในวันนี้เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุด ผมก็ยังคงต้องทำงานต่อไป

ในวันที่ 09/09/09 เป็นวันพิเศษอีกอย่างนึง คือ วันจดหมายลูกโซ่ ด้วย
ทั้งวันผมจะได้รับข้อความเกี่ยวกับ 09/09/09 เยอะมากมาย เช่น

“9-9-9 (วันที่9 เดือน 9 ปี 9) หนึ่งร้อยปีมีครั้งเดียวโบราณไทยเชื่อว่าเลข 9เป็นเลขมงคล เลขแห่งความสุข ก้าวหน้า และโชคลาภ ขอให้ท่านที่อ่านข้อความนี้มีทุกอย่างตามมลคลเลข 9 ทุกประการนะครับ”

ข้อความนี้ส่งมาทั้งใน E-mail, Msn, Twitter, SMS,…..
ที่สำคัญยังบอกให้ผมส่งต่อไปอีก 9 คนด้วยนะ เออดีมีงี้ด้วย

เอาเป็นว่าเรื่อง #090909 ผมไม่ว่าอะไรใครหรอกครับ
เพราะเลขเก้าก็คือสัญลักษณ์ของความก้าวหน้า
ผมก็ขอตามกระแสด้วยการส่งความปรารถนาดีให้เพื่อนๆ ทุกคนให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานการเรียนเช่นกัน

รับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และห้องสมุด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (กทม.)

มีข่าวรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ เลือกอ่านอีกแล้วครับท่าน
ใครสนใจก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างกันเองนะ แล้วก็รีบๆ สมัครกันด้วยหล่ะ

librarian-wu

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ผมขอตัดเอาแต่คุณสมบัติที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์นะครับ)
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์/สารสนเทศศึกษา/การจัดการสารสนเทศ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ในสถาบันอุดมศึกษาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
– ปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
– มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม MS Office
– มีทักษะด้านการสื่อสารและการประสานงาน
– มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
– มีอัธยาศัยและมนุษยสัมพันธ์ดี รักงานบริการ

ตำแหน่งนี้จะได้บรรจุเป็นพนักงานสัญญาจ้างเท่านั้นนะครับ
โดยสัญญาจ้างครั้งแรกจะจ้างไว้ 2 ปี และจะต้องทดลองงาน 6 เดือนนะครับ
ส่วนการเซ็นต์สัญญาครั้งต่อไปก็จะต่ออายุไม่เกิน 4 ปีไปเรื่อยๆ ครับ

ภาระงานหลักที่ต้องทำ ก็อย่างที่ชื่อตำแหน่งกำหนดนั่นแหละครับ
เน้นประชาสัมพันธ์ กับ งานห้องสมุดเป็นหลัก แต่ก็อาจจะมีงานเสริมมาให้ทำเป็นระยะๆ

อัตราเงินเดือน 10,500 บาท/เดือน (ผมว่าค่อนข้างที่จะใช้ได้เลย)

อ๋อเกือบลืม รับสมัครถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นคิดให้ดีๆ ครับ แล้วก็รีบตัดสินใจกันได้แล้วเพราะเหลือเวลาแค่หนึ่งอาทิตย์เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานการสมัคร และการสอบ
ผมอยากให้เพื่อนๆ อ่านเองมากกว่าจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบไปด้วย
ก็ตามอ่านได้ที่ http://www.wu.ac.th/2552/news/showNewsV.php?id=12818 นะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ถ้ามีงานที่น่าสนใจมาอีกจะรีบรายงานให้เพื่อนๆ ทราบทันทีครับ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ ครั้งที่ 26 พร้อมเอกสารประกอบ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
ชื่อหัวข้อ คือ ?รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่?

banner1

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
หัวข้อ : รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่
วันที่จัด : วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ห้องประชุม 1 – 301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อเด่นๆ ที่น่าสนใจในงานสัมมนา
– ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ
– การอภิปราย เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ
– การอภิปราย เรื่อง การเทียบสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศ พร้อมหรือไม่ และทำอย่างไร
– ประชุมกลุ่มย่อยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
– การอภิปรายเรื่อง มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ
– การบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
– การบรรยายเรื่อง ห้องสมุดกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การบรรยายเรื่อง การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด (Branding & Re-branding in Library)
– การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

เอกสารการสัมมนาที่สามารถดาวน์โหลดได้มีดังนี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ?
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคระกรรมการอุดมศึกษา

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

– ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรสานิเทศ
อาจารย์ จรินทร์ คิดหมาย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
อาจารย์ บุญสม เล้าพูนพิทยะ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านบริการ
อาจารย์ ภาวณา เขมะรัตน์ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
รศ. อิ่มจิต เลศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารและผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง?การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด?
ดร.ชันนยา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นยังไงกันบ้างครับเอกสารต่างๆ ในการสัมมนา
ผมคิดว่ามีประโยชน์ และคุณค่าสำหรับวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดเลยทีเดียว

หลายๆ ครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาห้องสมุด บางครั้งผมเองก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้
ก็หวังว่าจะมีเอกสารให้ได้อ่านย้อนหลังบ้าง แต่บ่อยครั้งที่มักจะไม่มีให้ดาวน์โหลด
ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมอยากเข้าร่วมงาน แต่ไม่สามารถไปได้
ก็ได้แต่หวังว่าผู้จัดงานจะส่งเอกสารมาให้อ่าน ซึ่งคงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ
แต่วันนี้ฝันของผมก็ได้เป็นจริง เมื่อการสัมมนาครั้งนี้นำเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงจะอยากได้เหมือนผม

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ส่งข้อมูลมาให้
ขอบคุณผู้ที่จัดงานทุกคน
ขอบคุณผู้ร่วมงานสัมมนาทุกคน
และขอบคุณผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

สำหรับผู้จัดงานอื่นๆ ขอให้นำการสัมมนานี้ไปเป็นแบบด้วยนะครับ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคม การแบ่งปันความรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากๆ

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา

รับสมัครเด็กเอกบรรณฝึกงาน (ได้เงินด้วย)

วันนี้น้องอะตอม (บล็อกเกอร์บรรณารักษ์หน้าใหม่ – http://atomdekzaa.exteen.com)
เอาข่าวนี้มาให้ผมช่วยประกาศ ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีจึงช่วยประชาสัมพันธ์ให้

atom

เรื่องแบบเต็มๆ อ่านได้จากบล็อกของน้องอะตอมได้เลยที่
รับสมัครเพื่อนร่วมฝึกงาน(ได้เงินด้วย) – http://atomdekzaa.exteen.com/20090907/entry

สำหรับผมจะย่อให้อ่านแบบสั้นๆ แล้วกันนะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่าน้องอะตอมเขามาฝึกงานอยู่ที่ ห้องสมุดบ้านเซเวียร์
(วัดบ้านเซเวียร์ เป็นโบสถ์เล็กที่สังกัดอยู่กับวัดแม่พระฟาติมา)

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดระบบปิดนะครับ
ไม่เปิดให้ผู้ใช้ภายนอกเข้ามาใช้บริการด้วย

ในห้องสมุดแห่งนี้ถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพร้างมาหลายสิบปีแล้ว
ภายในประกอบด้วยหนังสือที่เรียงอยู่บนชั้นประมาณ? 6,000 เล่ม
และหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาต่างประเทศ
หนังสือเน้นไปในทางศาสนามากกว่าเนื้อหาอื่นๆ

เพื่อนๆ ลองคิดดูสิครับว่า ความรู้มากมายถูกบรรจุอยู่ในสถานที่แห่งนี้ โดยที่ไม่มีการจัดการมาสักระยะนึงแล้ว
มันน่าเสียดายมั้ยหล่ะครับ ความรู้ถูกจัดเก็บแทนที่จะนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์

ด้วยเหตุนี้น้องอะตอมจึงต้องค่อยๆ จัดการไปตั้งแต่เรื่องการจัดเรียง catalog และอีกสาระพันปัญหา

ทุกวันเสาร์จะต้องทำความสะอาดหนังสือ โดยการหยิบหนังสือจากชั้นลงมาปัดฝุ่นครับ
แล้วก็นำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็คบริเวณปกหนังสือ ตามด้วยผ้าสะอาดอีกสักที

ส่วนวันอาทิตย์ก็สบายกว่าวันเสาร์หน่อย แต่ต้องใช้ความคิดมากๆ นั้นคือ ต้อง catalog
โดยง่ายๆ ครับก็ copy catalog จาก library of congress ก็พอไหว

เข้าเรื่องดีกว่า สรุปว่าน้องอะตอมต้องการหาเพื่อนมาร่วมกันฝึกงานตามที่เล่าไว้ด้านบน
อ๋อ ลืมบอกไปขอเพศชายนะ เพราะว่าจะได้เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เพราะบางวันอาจจะเลิกดึก

งานที่ทำก็ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมงหรอกครับ
มีค่าขนมด้วยนะชั่วโมงละ 40 บาท ทำเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

ถ้าน้องๆ เอกบรรณคนไหนสนใจ ก็ส่งเมล์มาที่ atom.naruk@hotmail.com
โดยแนบไฟล์(word 2003-2007) ประวัติส่วนตัวมาละกัน
รายละเอียด รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น อายุ สถานที่เรียน สาขา รหัสประจำตัวนิสิตนักศึกษา
ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์ และอะไรก็ได้ที่อยากจะให้เรารู้อ่ะ
และบทความ “ทำไมถึงสนใจในงานนี้”

อ๋อ ปิดรับสมัคร 25 กันยายน 2552

ก่อนจากกันขอฝากประโยคเดียวกับน้องเค้าแล้วกันนะครับว่า
“งานมีเยอะ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกทำไหม แค่นั่นเอง”

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ