โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา

เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/

มาสมัครเป็นบรรณารักษ์โรงเรียนนานาชาติกันเถอะ

ผมไม่ได้แนะนำงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่านมาเกือบเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมมีตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ พิจารณาอีกแล้วครับท่าน

librarian

ตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ผมจะแนะนำนี้ เป็นบรรณารักษ์ประจำโรงเรียนนานาชาติ
(โรงเรียนนานาชาติ Traill International School)

คุณสมบัติทั่วไปของตำแหน่งนี้
– จบสาขาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีประสบการณ์ทำงานด้านห้องสมุด และบรรณารักษ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
– สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี

การทำงานเป็นบรรณารักษ์ในโรงเรียนนานาชาติผมว่าเป็นโอกาสที่ดีนะครับ
นอกจากจะได้รายได้ที่ดีกว่าแล้ว ยังมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารด้วย

ดังนั้นผมขอแนะนำว่าถ้าใครที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลยก็อย่าสมัครเลยนะครับ
เพราะไม่งั้นคุณจะทำงานด้วยความอึดอัดใจ จนคุณต้องออกจากงานแน่ๆ

หากเพื่อนๆ สนใจตำแหน่งนี้ ก็ให้เขียน CV และ Resume เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นแล้วส่งมาที่
Mr. David Cox (wpr@traillschool.ac.th) นะครับ

ที่อยู่ของ Traill International School
43 ซอยรามคำแหง 16, หัวหมาก, กรุงเทพฯ 10240
43 Soi Ramkhamhaeng 16, Huamark, Bangkok 10240
เบอร์โทรศัพท์ / Tel : 0-2718-8779

ผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันทุกคนนะครับ

มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

library-design

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library

librarydesign1

ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool

librarydesign2

ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)

librarydesign3

ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

librarydesign4

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com

ประมวลภาพงาน LibCamp#2

ก่อนจะประมวลภาพ Libcamp#2 ผมคงต้องขอขอบคุณแหล่งภาพจากทีมงานของ สสส. นะครับ

gallery-libcamp

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านบทสรุปของงานนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถหาอ่านได้ตามนี้เลยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#2
LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง
LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ
Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก
Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับคนที่อ่านจบแล้วก็มาดูรูปกันเลยดีกว่านะครับ
http://www.flickr.com/photos/guopai/sets/72157621876757181/

ภาพบางส่วนจากอัลบั้มงาน Libcamp#2

ป้ายของงาน Libcamp#2

libcamp20

ภาพผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด

libcamp21

ภาพบรรยากาศในงาน 1

libcamp21-2

ภาพบรรยากาศในงาน 2

libcamp21-3

ภาพบรรยากาศในงาน 3

libcamp21-4

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ผมต้องขอขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้
– แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สสส.
– ห้องสมุดสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– วิทยากรผู้ให้ความรู้ทุกท่าน
– ผู้เข้าร่วมงาน LibCamp ทุกคน

แล้วรอติดตามงาน Libcamp#3 เร็วๆ นี้นะครับ

Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดงาน Libcamp#2 ทางทีมงานได้เปิดหัวข้อ Open session ให้
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมงานนำเสนอไอเดียใหม่ๆ และไอเดียที่น่าสนใจสำหรับวงการห้องสมุด

libcamp-open-session

ซึ่งผลจากการเปิดหัวข้อในครั้งนี้เราได้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสรุปออกมาได้หลายประเด็นดังนี้

1. แนะนำโครงการห้องสมุดดิจิทัล โดย คุณชิตพงษ์? กิตตินราดร
ตอนนี้โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว
โดยแผนงานไอซีที ของ สสส. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน และผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลฯ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังคม
โครงการนี้ก็หวังว่าจะเป็นโยชน์ต่อสังคมในแง่ของการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชนบนโลกออนไลน์

2. Arnarai.in.th: คุณกำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ โดย คุณวรัทธน์? วงศ์มณีกิจ
แนะนำเว็บไซต์ “อ่านอะไร” บล็อกก็คือที่ปล่อยของ ในที่นี้หมายถึงหนังสือนะครับ
แรงบันดาลใจในการทำเว็บๆ นี้ คือ “เด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด”
นี่เป็นสิ่งน่าคิดมากว่าแล้วเราจะทำยังไงให้มีการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จึงได้จับเอาหนังสือมาผนวกกับแนวความคิดของเว็บ 2.0 จึงทำให้ได้เว็บนี้ออกมา

arnarai

ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://www.arnarai.in.th/

นอกจากสองประเด็นใหญ่นี้แล้ว ทางทีมงานยังได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับงาน Libcamp ในครั้งหน้าด้วย เช่น
– อยากให้งาน LibCamp มีการฝึกปฏิบัติ หรือ workshop กันด้วย
– อยากให้งาน LibCamp จัดงานหมุนเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ บ้าง
– อยากให้งาน LibCamp ไปจัดในต่างจังหวัดด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่าในงานนี้ทุกคนต่างก็ได้รับความรู้ไปใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทางทีมงานและผู้จัดงานทุกคนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ได้ติดตามงาน Libcamp มาอย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

inter-library-blog

ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น

บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ

1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง

ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog

2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com

3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/

4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา

ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com

ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้

นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง

วิทยากรที่ร่วมเสวนาใน session นี้ ประกอบด้วย
1. คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (http://janghuman.wordpress.com)
2. อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ห้องสมุดกรมการแพทย์ (http://stks.or.th/wg/dmslib)
3. คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ บรรณารักษ์ ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์จดหมายเหตุ วุฒิสภา (http://senatelibrary.wordpress.com)

libcamp2-blogger-team

ซึ่งประเด็นที่ได้จากการเสวนาในช่วงนี้ คือ

คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย
จุดประสงค์ในการเขียนบล็อกจริงๆ แล้ว มองว่า Blog เป็นเสมือนโลกส่วนตัวอีกโลกหนึ่ง
ในโลกเสมือนใบนี้เราเขียนในเรื่องที่อยากเขียน และเล่าในเรื่องที่อยากเล่าได้อย่างเต็มที่
โดยการเขียนบล็อก เราจะต้องเลือกเนื้อหาหรือเลือกประเด็นที่คนอยากรู้มากๆ มาเขียน
ซึ่งคุณอภิชัยเองก็บอกว่ามีความถนัดในการหาข้อมูลและเรียบเรียงอยู่แล้ว
เพียงแต่ในการเขียนจะต้องอาศัยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการอ้างอิงด้วย

อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ ใช้บล็อกเพื่อส่งเสริมงานห้องสมุด
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสไลด์ เรื่อง “ห้องสมุดกรมการแพทย์บนสังคมออนไลน์” ด้วย
ซึ่งภายในสไลด์ได้กล่าวถึงบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ว่า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้บริการ free fulltext thai article Journals
ส่วนที่ 2 ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
ส่วนที่ 3 วีดิโอจากเว็บไซต์ Youtube

นอกจากนี้อาจารย์สุวรรณ ยังได้แนะนำบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ และการประเมินผลบล็อกของตัวเองด้วย
นับว่านอกจากสาระที่ได้จากเรื่องของบล็อกแล้ว ยังทำให้ผมรู้ว่าห้องสมุดควรมีเนื้อหาที่เด่นเฉพาะด้านเหมือนกัน

เทคนิคการเขียน Blog (อาจารย์สุวรรณแนะนำมา)

– เขียนแนวที่ตนเองถนัด คือวิชาการ แนวสุขภาพ
– ยึดหลักเชื่อ กับเปลี่ยนของโอบามา, การเพิ่มคุณค่าให้เอกสาร, การเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
– ใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น youtube, ภาพ และการเล่าเรื่อง
– ให้คำ search เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ ได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องแผนส่งเสริมกลยุทธ์การใช้ห้องสมุด ด้วยการใช้บล็อก ดังนี้
– มีการประชาสัมพันธ์ ลักษณะการเล่าให้ฟัง
– เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้ใช้เข้าร่วมกิจกรรมของห้องสมุด
– เป็นที่รวบรวม และเป็นกลุ่มของเนื้อหาในห้องสมุดที่เป็นดิจิทัล
– เพื่อบริการ และให้คำปรึกษาการใช้งานห้องสมุดกับผู้ใช้

ฟังวิทยากรทั้งสามได้เล่าถึงประสบการณ์ในเรื่องของบล็อกห้องสมุดแล้ว
นอกเวทีก็มีคนเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น

คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ในฐานะอาจารย์พิเศษ อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ ม.ธรรมศาสตร์
ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นโอกาสที่ดีมากที่ห้องสมุดจะใช้ Blog ในการเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์
เพราะหกปีก่อนที่จะมี Blog การประชาสัมพันธ์จะต้องผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เวลา และงบประมาณสูงกว่า

คุณสมปอง บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/)
ได้เล่าว่า เริ่มต้นเขียน Blog จากการทำ KM ของหน่วยงาน โดยใช้เว็บไซต์ gotoknow
แล้วจึงทำบล็อกที่เป็นหน่วยงานของตัวเอง เขียนบล็อกเอาไว้ระบาย และเล่าเรื่องราวต่างๆ
ซึ่งในการสร้าง Blog สร้างง่ายแต่เขียนยาก หน่วยงานต้องใช้เวลาเป็นปีในการสร้างคนเพื่อเขียนบล็อก

เอาเป็นว่าทั้งในและนอกเวทีต่างแชร์ประสบการณ์ร่วมกันแบบนี้
ผมว่านี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยวงการห้องสมุดของเราก็เริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีต่อการให้บริการในอนาคตแล้ว

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

อบรมการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

000 100 200 300 …. เมื่อเห็นตัวเลขเหล่านี้ บวกกับชื่อเรื่อง
หวังว่าเพื่อนๆ คงเดาได้ว่าผมจะเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องอะไรนะครับ

dewey

ถูกต้องครับ…เรื่องที่ผมจะเกริ่นวันนี้ก็ คือ การอบรมหลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey)

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
วันที่จัด : 12 – 17 ตุลาคม 2552
สถานที่จัด : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ชั้น 4
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การอบรมในครั้งนี้จะเน้นการอบรมในเรืองของการให้เลขหมู่แบบดิวอี้เป็นหลัก
ซึ่งในการให้เลขหมู่แบบดิวอี้ เพื่อนๆ จำเป็นต้องรู้จักตารางเลขประกอบด้วย
รวมถึงวิธีการให้หัวเรื่องที่ถูกต้องและชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้น

จริงๆ อยากจะบอกว่าหลักสูตรนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่เรียนวิชาเอกบรรณฯมาตอนปริญญาตรี
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ต้องใช้เวลาเรียนกันเป็นเทอมเลยก็ว่าได้
แต่หลักสูตรนี้จะช่วยเร่งลัดให้เพื่อนๆ ได้เพียง 5 วันเท่านั้นก็จะเข้าใจได้ทั้งหมด

หัวข้อที่เพื่อนๆ ต้องเจอตอนอบรมมีดังนี้
– หลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
– การใช้ตารางประกอบ
– การแบ่งหมู่แยกตามหมวดต่างๆ
– การกำหนดหัวเรื่อง
– การทำรายการ

วิทยากรสำหรับการอบรมครั้งนี้ คือ รองศาสตราจารย์ พวา พันธุ์เมฆา
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหมวดหมู่และการให้หัวเรื่องภาษาไทยครับ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 4,000 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 4,300 บาทครับ
ราคานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน? 1 มื้อ / วันนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th