ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป

8 thoughts on “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

  • October 29, 2009 at 7:23 am
    Permalink

    ห้องสมุดประชาชนที่อุดรธานี คนก็เข้าเยอะพอสมควรนะ เด็กๆงี้ เต็มทุกวัน

    Reply
  • October 29, 2009 at 11:29 am
    Permalink

    ทำงานเป็นบรรณารักษ์อัตราจ้างที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอ ของ จว.หนึ่งในภาคกลาง ผู้ใช้บริการก็มีบ้าง ตามแต่เวลา และโอกาส เนื่องจากว่าจะมีการประชุมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ ที่ กทม. ได้เข้าร่วมเหมือนกันและอาจจะมีแนวทางที่ดีๆ มาพัฒนาห้องสมุดต่อไปได้อีก

    Reply
  • October 29, 2009 at 10:13 pm
    Permalink

    ห้องสมุดประชาชนแถวบ้านแทบไม่มีคนเลยอ้ะครับ

    รึเราจะไปสมัครทำงานดีนะ ;p

    Reply
  • November 18, 2009 at 5:29 pm
    Permalink

    ปัญหาของเราเอง คือ ไม่รู้จักห้องสมุดประชาชนแถวบ้านค่ะ ไม่รู้ว่าตั้งอยู่ตรงไหน

    Reply
  • June 12, 2010 at 12:32 pm
    Permalink

    อาจจะอยู่กับผู้ที่ให้บริการ?เพราะถ้าไม่เชิญชวนหรือบริการไม่ดีใครที่ในจะเข้า

    Reply
  • June 12, 2010 at 12:35 pm
    Permalink

    เดียวนี้เค๊ามีอินเตอร์เน็ตแล้ว!

    Reply
  • March 14, 2011 at 4:40 am
    Permalink

    สาเหตุส่วนหนึ่งก็น่าน่าจะมาจากการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปทราบ และ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยเฉพาะโลกออนไลน์ ต้องหมั่นอัพเดทเรื่อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง…อย่างของห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุงเอง ก็พยายามหลายๆช่องทางในการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนทั่วไปเข้ามาอ่านหนังสือบ้าง แม้ว่าต่อวันคนจะเข้ามาใช้เฉลี่ยวันละ 10-12 คน ก็ตาม เราก็จะพยายามต่อไป ครับ…

    Reply
  • September 18, 2015 at 11:48 am
    Permalink

    ทำไม คนไม่เข้าห้องสมุุด คำถามโลกแต่เหมือน ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน
    แยกแยะเป็นข้อๆ
    เรื่องสถานที่ บางแห่งสถานที่สวยงาม สงบเงียบ แต่คนไม่เข้า หรือไม่ก็เข้าไปนอน 555
    เรื่องทรัพยากร บางแห่งหนังสือเยอะ แต่ไม่มีคนยืม
    เรื่องบุคลากร บางแห่งบรรณารักษ์เยอะ แต่ไม่มีอะไรทำ 555
    เรื่องผู้ใช้บริการ ความต้องการสูงสุด ทุกอย่างต้องดี แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่มาห้องสมุด ใช้อินเตอร์เน็ตดีกว่า 5555

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *