ห้องสมุดประชาชนบางแห่งคนก็เข้าเยอะนะ

เมื่อวานผมเขียนเรื่อง “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???
ในตอนจบของเรื่องนั้น ผมได้กล่าวไว้ว่า ห้องสมุดประชาชนบางที่ก็มีผู้ใช้บริการเยอะนะ
วันนี้ผมจึงขอมาเล่าเรื่องนี้ให้จบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เพื่อนๆ

lumpinidll0111-copy

ตัวอย่างที่ผมจะยกขึ้นมาเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ใช้บริการ
และผมก็เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลยก็ว่าได้

เริ่มจากที่แรก ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
สถานที่ตั้งผมคงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ใน ?สวนลุมพินี?
สภาพอาคารเป็นแค่อาคารชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ภายในมีการจัดพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ อย่างที่ห้องสมุดเขาจัดกันนั่นแหละ

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
– ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะ
– ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– มีความทันสมัยด้านการสืบค้นข้อมูล
– บรรณารักษ์อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือได้ดี
– การจัดมุมต่างๆ แบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นมุมสืบค้น มุมหนังสือเด็ก มุมบริการคอมพิวเตอร์

เพียงแค่นี้ห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าหัวกระไดไม่แห้งเลย
เพราะว่ามีคนแวะเวียนมาอ่านหนังสือ ทำงาน กันอย่างไม่ขาดสายเลย

ต่อด้วยอีกตัวอย่างนึงแล้วกัน ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
ห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเองครับ
เพื่อนๆ สามารถเดินจากอนุสาวรีย์ไปที่ห้องสมุดแห่งนี้ได้ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ ประกอบด้วย 2 อาคาร อาคารนึงก็มี 3 ชั้นครับ
ภายในมีการจัด และตกแต่งได้ดี และจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสม

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
– สามารถเดินทางมาที่นี่ได้สะดวก (อนุสาวรีย์ชัยมีรถไปเกือบทุกที่ของกรุงเทพฯ)
– มีการตกแต่งสถานที่ และจัดการภายในที่ดี
– ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีครบครัน เช่น อินเทอร์เน็ต, wireless, ระบบสืบค้น ฯลฯ
– มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
– หนังสือที่ให้บริการมีความทันสมัย และน่าติดตาม (หนังสือใหม่)
– มีการบริการสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ดีวีดี, โปรแกรมช่วยสอน ฯลฯ

จากที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสองห้องสมุด ผมขอ สรุปปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ ดังนี้
– อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการเดินทางสะดวก
– มีการจัดระเบียบ และตกแต่งภายในที่ชัดเจน และดึงดูด
– สื่อ หรือทรัพยากรในห้องสมุดมีความใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอๆ
– มีการจัดกิจกรรม? หรือนิทรรศการเพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
– ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ต้องบริการด้วยใจ และเต็มที่ในการให้บริการ
– เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด ก็เป็นอีกปัจจัยนึงในการพัฒนาห้องสมุด
– การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับห้องสมุด เช่น ให้การสนับสนุนห้องสมุด ฯลฯ

จริงๆ ยังมีมากกว่านี้อีกนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ตั้งของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย
อ๋อแล้วก็พยายาม อย่าพยายามบอกว่า ?เพราะว่าคนไม่ชอบการอ่านครับ?
จริงๆ แล้ว คนอาจจะต้องการอ่านก็ได้ แต่จะสามารถสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้ได้แค่ไหนก็เท่านั้นเองครับ

ก่อนจากกันวันนี้ผมจะ็ขอจบเรื่องห้องสมุดประชาชนในสังคมไทยแต่เพียงเท่านี้
เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาบ่นเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังกันใหม่นะครับ