ไอเดียการศึกษา 2.0 กับงานห้องสมุด

วันนี้ขอมาแนววิเคราะหืเรื่องเครียดๆ ให้เป็นเรื่องเล่นๆ หน่อยนะครับ
เรื่องมันมีอยู่ว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ อะไรๆ ก็ 2.0 ไปหมดเลยอ่ะ
ไม่ว่าจะเป็น Web 2.0 / Library 2.0 แล้วตอนนี้ก็ยังจะมีการศึกษา 2.0 เข้ามาอีก ตกลงมันเป็นกระแสนิยมใช่หรือปล่าว

education20

ใครที่ยังงงกับ การศึกษา 2.0 ลองเข้าไปอ่านข่าวเรื่อง การศึกษา 2.0 เปิดอบรมครูผ่านแคมฟร็อก
ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 สิงหาคม 2550 ดูนะครับ
หรือเอาง่ายเข้าไปดู โครงการการศึกษา 2.0 ของ thaiventure ดูนะครับ

สรุป concept ง่ายคือ การใช้โปรแกรมเพื่อสอนทางไกล และอบรมการใช้โปรแกรม google application
โดยโปรแกรมที่ใช้ในการอบรมทางไกลครั้งนี้ คือ โปรแกรม camfrog นั่นเอง

ซึ่งหากจะพูดถึงโปรแกรม camfrog นี้ หลายคนคงจะคุ้นๆ เหมือนเคยได้ยิน
และถ้าผมบอกว่า โปรแกรม camfrog เป็นโปรแกรมที่เด็กวัยรุ่นมักใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน
และที่สำคัญมักจะมีแต่ข่าวไม่ดีเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ อย่างล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวไม่กี่วันนี้
เรื่อง พ่ออึ้ง!! ลูกช่วยตัวเองหน้าคอมฯ จี้รัฐจัดการ ?โชว์สยิว?

แต่ด้วยข่าวที่ออกมาว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ไม่ดีต่างๆ นานา
ทำให้ภาพที่ออกมาอยู่ในแง่ลบมาตลอด
พอพูดถึงโปรแกรมนี้ ส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าไปดูโชว์หรอ
แต่ความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมนี้ถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี คือสามารถใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้าได้
โดยเฉพาะเรื่องการทำเป็น teleconference ยิ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความสามารถมากทีเดียว

ดังนั้นโครงการการศึกษา 2.0 ที่เลือกโปรแกรมนี้มาถือว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่า
อย่างน้อยโปรแกรมนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาเหมือนกัน

จากแนวคิดดังกล่าว ผมจึงคิดว่า แล้วถ้า ห้องสมุดของเรานำโปรแกรม camfrog มาประยุกต์กับงานบริการบ้างหล่ะ
– บริการตอบคำถามออนไลน์
– ถ่ายทอดสดการประชุมและสัมมนา
– ติดต่อกับเครือข่ายความร่วมมือด้านห้องสมุด

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มันมีประโยชน์แน่นอน

โปรแกรมมีทั้งด้านดีและด้านเสียอยู่ในตัว
ตัวโปรแกรมเองไม่สามารถกำหนดให้ตัวของมันดีหรือไม่ดีไม่ได้
แต่ผู้ใช้เท่านั้นที่เป็นคนกำกับมัน
หากผู้ใช้ใช้ในแง่ที่ดี ก็จะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
และในทางกลับกันหากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดย่อมส่งผลให้ออกมาในแง่ไม่ดีได้เหมือนกัน

ดังนั้นหากจะนำมาใช้ก็ขอให้ใช้กันอยากระมัดระวังแล้วกันนะครับ ฝากไว้ให้คิดเล่นดู

ติดตามอ่านข้อมูลโครงการนี้ที่ โครงการการศึกษา 2.0 โดย thaiventure

Inside OCLC Datacenter – WorldCat

วันนี้คอลัมน์พาเที่ยวห้องสมุดของผมขอเปลี่ยนแนวหน่อยนะครับ
หลังจากที่ผมพาเพื่อนๆ เที่ยวในห้องสมุดเมืองไทยมาก็เยอะพอควรแล้ว
วันนี้ผมมีอีก 1 สถานที่ ที่อยากให้เพื่อนๆ เห็นเหมือนกัน นั่นก็คือ OCLC Datacenter

room1s

อ๋อ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ได้ไปเยี่ยมชมข้างในจริงๆ หรอกนะครับ
เพราะว่า OCLC Datacenter ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ
แต่เรื่องที่เขียนในวันนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆ ที่ด้วยกันครับ

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำ OCLC ให้เพื่อนๆ หลายคนรู้จักก่อนนะครับ

OCLC คือใครและทำอะไร OCLC (Online Computer Library Center)
ทำหน้าที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมและให้บริการรายการบรรณานุกรมแก่ทุกคน
ผลงานที่สำคัญของ OCLC คือ Worldcat ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รายละเอียดเกี่ยวกับ OCLC ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านจาก? http://www.oclc.org
หรือถ้าอยากอ่านแบบง่ายๆ ก็เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Online_Computer_Library_Center

เริ่มเข้าเรื่องกันดีกว่า เมื่อเรารู้ว่า Worldcat ถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แสดงว่าสถานที่ในจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมจะต้องมีความพิเศษแน่นอนครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องของความใหญ่โตของข้อมูลเท่านั้นแต่มันรวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ ด้วย

room2s room3s

ข้อมูลของ Worldcat ถูกจัดเก็บในห้อง OCLC computing and monitoring facilities ซึ่งในห้องนี้ประกอบด้วย

– มี disk สำหรับจัดเก็บข้อมูล 180 Terabyte

– มีเทปสำหรับใช้ในการ Back up ข้อมูล 10 Petabyte
(สำหรับคนไม่รู้ว่า 1 petabyte มีค่าเท่าไหร่เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Petabyte)

– เครื่อง Server สำหรับ Worldcat

– ระบบสนับสนุนการทำงาน Worldcat

– ชิปที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเหมือนกับที่ Google ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ ชิปที่มีการประมวลผลแบบคู่ขนาน

– Hardware ที่ใช้มาจากบริษัท Dell

– ระบบปฏิบัติการที่ใช้ (OS) ใช้ SUSE Linux

เป็นยังไงกันบ้างครับ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวซะไกลเลยทีเดียว
แต่ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนถ้ามันน่าสนใจจริงๆ ผมก็จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับรู้อีกนะครับ

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพจาก
http://hangingtogether.org/?p=273
http://www.lisnews.org/node/22173