Inside OCLC Datacenter – WorldCat

วันนี้คอลัมน์พาเที่ยวห้องสมุดของผมขอเปลี่ยนแนวหน่อยนะครับ
หลังจากที่ผมพาเพื่อนๆ เที่ยวในห้องสมุดเมืองไทยมาก็เยอะพอควรแล้ว
วันนี้ผมมีอีก 1 สถานที่ ที่อยากให้เพื่อนๆ เห็นเหมือนกัน นั่นก็คือ OCLC Datacenter

room1s

อ๋อ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ได้ไปเยี่ยมชมข้างในจริงๆ หรอกนะครับ
เพราะว่า OCLC Datacenter ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ
แต่เรื่องที่เขียนในวันนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆ ที่ด้วยกันครับ

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำ OCLC ให้เพื่อนๆ หลายคนรู้จักก่อนนะครับ

OCLC คือใครและทำอะไร OCLC (Online Computer Library Center)
ทำหน้าที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมและให้บริการรายการบรรณานุกรมแก่ทุกคน
ผลงานที่สำคัญของ OCLC คือ Worldcat ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รายละเอียดเกี่ยวกับ OCLC ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านจาก? http://www.oclc.org
หรือถ้าอยากอ่านแบบง่ายๆ ก็เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Online_Computer_Library_Center

เริ่มเข้าเรื่องกันดีกว่า เมื่อเรารู้ว่า Worldcat ถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แสดงว่าสถานที่ในจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมจะต้องมีความพิเศษแน่นอนครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องของความใหญ่โตของข้อมูลเท่านั้นแต่มันรวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ ด้วย

room2s room3s

ข้อมูลของ Worldcat ถูกจัดเก็บในห้อง OCLC computing and monitoring facilities ซึ่งในห้องนี้ประกอบด้วย

– มี disk สำหรับจัดเก็บข้อมูล 180 Terabyte

– มีเทปสำหรับใช้ในการ Back up ข้อมูล 10 Petabyte
(สำหรับคนไม่รู้ว่า 1 petabyte มีค่าเท่าไหร่เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Petabyte)

– เครื่อง Server สำหรับ Worldcat

– ระบบสนับสนุนการทำงาน Worldcat

– ชิปที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเหมือนกับที่ Google ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ ชิปที่มีการประมวลผลแบบคู่ขนาน

– Hardware ที่ใช้มาจากบริษัท Dell

– ระบบปฏิบัติการที่ใช้ (OS) ใช้ SUSE Linux

เป็นยังไงกันบ้างครับ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวซะไกลเลยทีเดียว
แต่ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนถ้ามันน่าสนใจจริงๆ ผมก็จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับรู้อีกนะครับ

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพจาก
http://hangingtogether.org/?p=273
http://www.lisnews.org/node/22173

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*