การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/

มิตรภาพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายในงาน #codefail party

หลายๆ คนกำลังอยากอ่านเรื่องที่ผมไปงาน #codefail party
ดังนั้นเลยจัดให้สักหน่อยดีกว่า (ไม่เน้นเนื้อหามากนะครับ ขอเน้นรูปดีกว่า)
(หากรูปในบล็อกเล็กไป เดี๋ยวจะเอาไปลง multiply ให้นะ หากต้องการขนาดเต็มบอกมาเดี๋ยวเมล์ไป)

codefail

เริ่มจากแนะนำก่อนว่างาน #Codefail party คืองานอะไร จัดที่ไหน ยังไง
งาน #Codefail คือ งานปาร์ตี้สังสรรค์ของชาว Twitter ซึ่งเข้าร่วมฟรี (แต่ต้องดูแลตัวเองในงานนะ)
ไปงานนี้แล้วได้อะไร ตอบง่ายๆ ว่าได้มิตรภาพและเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่เล่น Twitter

งานนี้จัดไปแล้วเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (28 พฤศจิกายน) ที่ IGreenspace ชั้น 18 Zen @ CTW
งานเริ่มตั้งแต่ 1 ทุ่มครับ แต่วันนั้นผมไปถึงทุ่มก่าๆ นิดๆ ซึ่งแฟนผม (@junesis) ได้ขึ้นไปรอในงานเรียบร้อยแล้ว
ตอนแรกก็ว่าจะถ่ายรูปเล่นอยู่ข้างล่างสักหน่อยแต่หลายคนถามไถ่ก็เลยต้องขึ้นไปแสดงตัว

กำลังจะขึ้นไปในงานก็เจอ @maeyingzine ที่ทางเข้าห้าง CTW ก็เลยชวนกันว่าจะขึ้นไปพร้อมกัน
ระหว่างนั้นเองกลุ่ม #Twtcon ที่เพิ่งเลิกจากงานก็เดินทางมาถึงพอดี ก็เลยเดินขึ้นไปพร้อมๆ กัน
เช่น @goople @thangman22 @aircoolsa @patsonic @boydchan @kajeaw ……etc.

พอขึ้นไปถึงก็เจอทีมงาน Kapook ต้อนรับเป็นอย่างดี (ทั้งๆ ที่ตอนแรก cancel ว่าจะไม่ไปแล้ว)
แต่พี่ @oaddybeing @dearannie @itha ก็บอกให้ลงทะเบียนได้ ก็เลยลงทะเบียนนั่นเอง

ก่อนเข้าไป @maeyingzine @mimee @goople ถ่ายรูปร่วมกัน อิอิ

codefail-1

พอเข้าไปในงานแล้วก็เจอของเล่นของ @Thangman22 เห็นว่าหนุกดีก็เลยขอเล่นสักหน่อย
นั่นก็คือ ป้าย @reply และ ป้าย #hashtag ซึ่งผมก็ขอเขียนสักหน่อยซึ่งไม่พ้นชื่อตัวเอง อิอิ

dscf0620 dscf0623dscf0608 dscf0624dscf0626 dscf0630

จากนั่นก็ไปนั่งที่โต๊ะแฟน @junesis ก็พบว่า the gang เรากลับมานั่งรวมกันอีกครั้ง
ทั้ง @boydchan @kajeaw @patsonic @llwkll ก็เลยถ่ายรูปเล่นกันกระจาย

dscf0611 dscf0631dscf0639 dscf0644dscf0645 dscf0647

ในงานนี้ก็มีกิจกรรมมากมายมาให้เล่น แถมรางวัลก็เพียบเลย
และดาวเด่นของงานวันนั้นก็ปรากฎตัว นั่นคือ @ceemeagain และ @panraphee มาด้วย
แต่ผมเองตัวเล็กๆ? เข้าไม่ถึงดาวเด่นหรอก เลยได้รูปแค่รูปที่ไม่ชัดมา (เสียดายจัง)

dscf0655 dscf0656

เอาเป็นว่างานนี้ผมก็ได้รู้จัดเพื่อนใหม่มากมาย และกลับจากงานก็มี follower เพิ่มขึ้น
งานแบบนี้สิ ผมอยากให้จัดบ่อยๆ จะได้พบปะสังสรรค์กัน แล้วพบกันใหม่นะครับ

จากใจ @ylibraryhub

เรื่องอึ้งๆ ณ “มุมโน้ตบุ๊ค” ในหอสมุดแห่งชาติ

หากเพื่อนๆ มีโน้ตบุ๊คแล้วจำเป็นต้องไปทำงานในห้องสมุด เพื่อนๆ เคยเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือปล่าว
วันนี้ผมจะมาขอเล่าเรื่องแปลกๆ เรื่องนึงที่ผมเพิ่งจะเจอมากับตัวเองวันนี้ ณ หอสมุดแห่งชาติ

notebook-corner

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันอาทิตย์อันแสนสุขที่ผมอยากจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องห้องสมุดประชาชน
เพื่อใช้อ่านประกอบและสร้างแรงบันดาลใจในงานห้องสมุดที่ผมกำลังทำอยู่
ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะไปค้นหาข้อมูลที่ “หอสมุดแห่งชาติ”

และเมื่อผมเดินทางไปถึง “หอสมุดแห่งชาติ”
ผมก็ประทับใจในเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยมากที่อนุญาตให้ผมนำโน้ตบุ๊คและกระเป๋าเข้าไปด้วย

ด้วยความชำนาญในการหาข้อมูลของผม (มาบ่อยเลยรู้ว่าต้องให้ห้องไหน)
ผมจึงได้เข้าไปในห้อง 213 (ห้องที่เก็บหนังสือคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ปรัชญา)
แล้วก็ค้นหาหนังสือที่ผมต้องการซึ่งได้มาจำนวน 4 เล่ม

แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะกล่าว เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊ค
แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี่คือประเด็นของเรื่องๆ นี้…

ผมต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผมในการพิมพ์งาน และจดโน้ตบทสรุปของหนังสือ
ผมจึงสอบถามบรรณารักษ์ในห้อง 213 ว่า

Libraryhub : “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะใช้โน้ตบุ๊คของผมเพื่อพิมพ์งานในห้องนี้ได้มั้ย”
บรรณารักษ์ 213 : “ไม่ได้หรอกนะค่ะ ถ้าจะใช้ต้องไปที่ห้อง 204 – 205 ค่ะ”
Libraryhub : “ทำไมหล่ะครับ ผมไม่ได้ใช้ปลั๊กไฟของที่นี่นะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “อ๋อ ห้องนั่นเขามี “มุมโน้ตบุ๊ค” อยู่นะค่ะ”
Libraryhub : “แล้วหนังสือของผมพวกนี้หล่ะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “คุณก็ทิ้งบัตรประชาชนของคุณไว้ที่ห้องนี้ด้วยสิค่ะ”

เอาเป็นว่านี่เป็นบทสนทนาสั้นๆ ที่ผมคุยกับบรรณารักษ์นะครับ
ซึ่งโอเคผมก็คงต้องปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ แหละครับ คือ ต้องยอมทำตาม

จากนั้นผมก็ทิ้งบัตรประชาชนเพื่อยืมหนังสือ แล้วถือโน้ตบุ๊คไปที่ห้องใหญ่ (204-205)

พอถึงห้องกลาง(204-205) ผมก็เห็น “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่บรรณารักษ์ห้อง 213 บอก
ผมก็เดินไปเพื่อที่จะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” นั้น แต่บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์กลางก็เรียกผมอีก

บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง :
“เดี๋ยวๆ คุณจะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” ใช่มั้ย”
Libraryhub : “อ๋อ ใช่ครับ ผมเอาโน้ตบุ๊คมา และต้องการใช้พิมพ์งาน บรรณารักษ์ห้อง 213 บอกให้ผมมาใช้ห้องนี้”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ งั้นคุณก็กรอกแบบฟอร์มนี้ก่อนใช้นะครับ”
Libraryhub : “โอเคครับ งั้นกรอกแบบฟอร์มก่อนแล้วกัน”

ในระหว่างที่ผมกรอกแบบฟอร์มผมก็ถามพี่ๆ บรรณารักษ์ที่นั่งตรงกลางเคาน์เตอร์ว่า
Libraryhub : “พี่ครับขอถามอะไรนิดนึงนะครับ เกี่ยวกับการใช้บริการโน้ตบุ๊ตในหอสมุดแห่งชาติ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ได้ครับ มีอะไรหรอครับ”
Libraryhub : “คือ ผมแปลกใจว่าทำไมต้องเล่นได้ที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” อย่างเดียวหรอครับ เพราะว่าผมเองก็ไม่ได้ต้องการใช้ปลั๊กนี่ครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “อ๋อ คือทางส่วนกลาง เขาจัดไว้ให้นะครับ”
Libraryhub : “แล้วทำไมต้องเป็นตรงนี้ด้วยหรือครับ หรือว่ามีสัญญาณ Wifi ตรงนี้หรอครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ปล่าวครับ ไม่มีสัญญาณให้เล่นอินเทอร์เน็ตหรอกครับ แต่ส่วนกลางให้เล่นได้เฉพาะ “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่เขาจัดเท่านั้นครับ”
Libraryhub : “สรุปคือไม่ได้มีความพิเศษอย่างอื่นเลย นอกจากมีปลั๊กไฟใช่มั้ยครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ”

เมื่อจบบทสนทนาผมก็กรอกแบบฟอร์มขอใช้งานเสร็จพอดี ผมจึงถามต่อไปว่าล

Libraryhub : “กรอกเสร็จแล้วครับ งั้นผมขอไปใช้โน้ตบุ๊คของผมก่อนนะครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ยังไม่ได้ครับ ต้องแลกบัตรไว้ที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ”
Libraryhub : “อ้าว เมื่อกี้ผมเอาบัตรไปใช้ยืมหนังสือจากห้อง 213 มาแล้วนี่ครับ ผมจะใช้บัตรใบไหนอีก”
(เนื่องจากผมมากับเพื่อน บรรณารักษ์ก็เห็น)
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “งั้นใช้บัตรของเพื่อนอีกคนก็ได้นะครับ”

สุดท้ายผมก็เลยต้องใช้บัตรของเพื่อนเพื่อแลกกับการใช้โน้ตบุ๊คในหอสมุดแห่งชาติ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงกับเรื่องนี้ครับ
ผมอึ้งแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลย แบบว่าตกใจมากๆ

“มุมโน้ตบุ๊ค” ที่หอสมุดแห่งชาติเป็น คือ โต๊ะรวมที่นั่งเล่นโน้ตบุ๊คได้พร้อมกัน 6 เครื่อง
แถมด้วยปลั๊กที่ใช้สำหรับชาร์จแบตของโน้ตบุ๊คได้อย่างเดียว ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย
ในความคิดเห็นของผม มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่นั่งอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติหรอกนะ
เพียงแค่ที่นั่งที่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และใช้บัตรแลกเพื่อใช้งาน

แล้วตกลงเขาเรียกว่า “มุมโน้ตบุ๊ค” เพื่ออะไร…..

เมื่อผมใช้งานโน้ตบุ๊คเสร็จแล้ว ผมจึงเดินไปรับบัตรประชาชนของเพื่อนคืนจากเคาน์เตอร์
แล้วสอบถามถึงแบบฟอร์มการขอใช้บริการ “มุมโน้ตบุ๊ค” ว่าผมจะขอตัวอย่างแบบฟอร์มหน่อยได้มั้ย
ซึ่งได้คำตอบว่า “มันเป็นความลับของหอสมุดแห่งชาติ ไม่สามารถให้ได้”
เออ เอาเข้าไปดิ แค่แบบฟอร์มก็ยังถือว่าเป็นความลับเลย

สุดท้ายนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมุมโน้ตบุ๊ตของหอสมุดแห่งชาติ
เอาเป็นว่าใครพอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊คนี้ ก็ช่วยแถลงให้ผมทราบทีเถอะครับว่า
“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติและมุมโน้ตบุ๊ค”

หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865

แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)

วันนี้ผมจะมาแนะนำองค์กรที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดแห่งหนึ่ง องค์กรนี้มีชื่อว่า “มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย”
แน่นอนครับมันต้องเกี่ยวกับเรื่องของการจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดแน่ๆ

bookforthai

องค์กรนี้จะทำให้ห้องสมุดของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือ text book ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากงค์กรนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและทำเพื่อห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย
โดยองค์กรนี้จะได้รับบริจาคหนังสือจากต่างประเทศปีละ 4-6 ครั้ง (แต่ละครั้งก็จำนวนมาก)
ห้องสมุดต่างๆ สามารถมาขอรับหนังสือ text book จากต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ขั้นตอนในการขอรับหนังสือจากที่นี่ก็แสนจะง่าย คือ
ทำหนังสือรับบริจาคหนังสือของสถาบันของท่านแล้วนำมายื่นที่มูลนิธิได้เลย
เสร็จแล้วก็เลือกหนังสือจากที่นี่ได้เลย แล้วทางเจ้าหน้าที่ของที่นี่จะให้เขียนสมุดผู้รับบริจาค
และนับจำนวนหนังสือ แล้วเพื่อนๆ ก็ขนหนังสือกลับได้เลย
แต่อย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณพร้อมกับแจ้งรายชื่อหนังสือที่รับไปด้วยนะ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดนึง เรื่องการขนหนังสือทางเราต้องจัดการเรื่องรถขนหนังสือเองนะครับ
ทางมูลนิธิไม่มีบริการส่งของด้วย

แต่สำหรับห้องสมุดที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถที่จะขอทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับหนังสือได้ด้วยนะครับ

มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)
สนับสนุนโครงการโดย
– กลุ่มบริษัทแสงโสม
– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– บจ. ท่าเรือประจวบ
– บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
– สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
– บจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
– Annika Linden Foundation
– The Asia Foundation

ที่อยู่ของมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย ชั้น 2 อาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสภากาชาดไทย 1873 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2652-3301, โทรสาร 0-2652-3302 มือถือ 0-5063-9535

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีข้อสงสัยให้ติดต่อ คุณอมร ไทรย้อย ดูนะครับ พี่เขาใจดีมากเลยครับ

ห้องสมุดของผมไปรับหนังสือมาหลายครั้งแล้วและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ยังไงก็ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยอีกครั้งนะครับ

เพื่อนๆ ที่อยากจะขอรับบริจาคหนังสือผมขอแนะนำว่าลองโทรไปคุยกับพี่เขาดูก่อนนะครับ
จะได้รู้ว่ามีหนังสือใหม่เข้ามาหรือยัง กลัวไปแล้วเสียเที่ยวครับ อิอิ

เห็นมั้ยว่ายังมีองค์กรดีๆ ที่สนับสนุนห้องสมุดอยู่นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะยังไม่รู้เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าใครอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขอทุนเดินทางมารับบริจาคหนังสือก็ลองโทรไปถามพี่เขาเองนะครับ

ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://library.tu.ac.th/pridi2/BooksforThailandFoundation/history.htm

เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!

จุฬาฯ รับสมัครบรรณารักษ์ ใครสนใจด่วน

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำเยอะเลย
แต่สำหรับงานบรรณารักษ์ตำแหน่งนี้ขอปริญญาโทเท่านั้นนะครับ

chula-job

ตำแหน่งงานด้านบรรณารักษ์ที่จุฬาเปิดนี้ มีสองตำแหน่งด้วยกันครับ
1. ตำแหน่งบรรณารักษ์ P7 จำนวน 1 อัตรา
2. เจ้าหน้าที่สารสนเทศ P7 จำนวน 1 อัตรา

เงินเดือนของตำแหน่งทั้งสองนี้ คือ 10,900 บาทครับ
แต่ถ้ามีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาอีก พูดง่ายๆ ว่าอาจจะเรียกเพิ่มได้อีก

อ๋อลืมบอกไปครับ รับสมัครตั้งแต่วันที่? 16? พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม? 2552

สำหรับคุณสมบัติขั้นต้นของตำแหน่งทั้งสองนี้ คือ
– จบปริญญาโทสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ …
– มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ดี
– มีความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารได้ดี

เอาเป็นว่าตำแหน่งทั้งสองนี้ ผมว่าน่าสนใจมากๆ เลยนะครับ
สำหรับบรรณารักษ์ที่จบปริญญาโทมากนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองติดต่อดูได้นะครับ
ที่ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หรือจะสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/apply/apply.php

รายละเอียดอื่นๆ ลองเข้าไปดูที่ http://www.car.chula.ac.th/web/form/news/id/160/

รับสมัครนักเอกสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ประกาศรับสมัครงานมาแล้วจ้า ด่วนๆ ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้น้า
ใครกำลังว่างงานอยู่แล้วสนใจก็อ่านเรื่องด้านล่างนี้เลยคร้าบ

vru-librarian

ชื่อตำแหน่ง คือ นักเอกสารสนเทศ นะครับ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับบรรณารักษ์นั่นแหละครับ ให้บริการด้านสารสนเทศ แถมเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยด้วยนะครับ
เรื่องเงินเดือนของตำแหน่งนี้ = 7,630 บาท ครับ

คุณสมบัติขั้นต้นของตำแหน่งนี้
– จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ
– มีความรู้และความสามารถด้านคอมพิวเตอร์

รับสมัครในเวลาราชการ (ไม่เว้นวันเสาร์ – อาทิตย์) ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552
ใครสนใจก็ติดต่อไปที่ 02-5390674 ต่อ 246 นะครับ

รายละเอียดอื่นๆ อ่านดูได้ที่
http://www.vru.ac.th/news/1011521.pdf