สรุปสัมมนาเรื่องสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

stou2

ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน

ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น
– สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา

ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้
– เกษตรกรรม
– อุตสาหกรรม
– การแพทย์แผนไทย
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– กองทุนและธุรกิจชุมชน
– ศิลปวัฒนธรรม
– ภาษาและวรรณกรรม
– ปรัชญา ศาสนา และประเพณี
– โภชนาการ

ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น
– การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น
– ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น
– การดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
– ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ
– สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นรากฐานของสารสนเทศท้องถิ่นทุกยุคสมัย

ปรากฎการณ์สารสนเทศท้องถิ่นท่วมท้ม มีดังนี้
– สารสนเทศท้องถิ่นคืออำนาจ
– สารสนเทศท้องถิ่นเป็นสมบัติ
– มลพิษทางสารสนเทศท้องถิ่น
– เกิดช่องว่างในการใช้สารสนเทศทองถิ่น

มุมมองของคนที่มีต่อสารสนเทศท้องถิ่น
– นักวิชาการ ต้องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาในอนาคต
– ชาวบ้าน จะหวงแหนภูมิปัญญาของพวกเขา เพราะว่ากลัวจะเสียประโยชน์ทางธุรกิจ

หลัก 4A ของการนำสารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในวงการศึกษา
– Availablility (รวบรวมสารสนเทศให้พร้อมต่อการใช้งาน)
– Accessibility (สร้างการเข้าถึงให้กับสารสนเทศท้องถิ่น)
– Affordability (ให้ชุมชนเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น)
– Accountability (รับผิดชอบความถูกต้องของสารสนเทศท้องถิ่น)

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ประสบการณ์จากการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นด้าน ?นนทบุรีศึกษา?
โดย รศ.ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล มีดังนี้
– Digital Collection ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
– Standard มาตรฐานในการจัดการสารสนเทศ
– Technology เทคโนโลยีระบบห้องสมุด
– Metadata ข้อมูลที่ใช้อธิบายสารสนเทศ

สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ กับ นนทบุรีศึกษา
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย = บริการ และเผยแพร่สารสนเทศ
– มสธ = มหาวิทยาลัยเปิด
– นนทบุรี = มสธ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดนนทบุรี

ขอบเขตของภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรี
– องค์รวมแห่งวิถีชีวิตของคน
– พื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต ความรู้
– ลักษณะเฉพาะ เอกลักษณ์ในตนเอง
– ความรู้ ทักษะ(ความชำนาญ)

การสร้าง ยุ้งฉางภูมิปัญญา แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
– กลุ่มผู้สร้างองค์ความรู้
– กลุ่มสร้างห้องสมุดดิจิทัล
– กลุ่มเผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานทางเทคนิคที่ใช้สำหรับห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่
Metadata ?> MODS, METS, MADS

?????????????????????????

เป็นไงบ้างครับกับการสรุปหัวข้อการบรรยาย
แต่เสียดายที่ช่วงบ่ายผมไม่สามารถอยู่ฟังต่อได้
เลยไม่สามารถสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้ทั้งหมด

จากงานสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผมจุดประกายในการเขียนบล็อกต่อได้อีกสองสามเรื่อง
แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เขียนให้เพื่อนๆ อ่านในโอกาสต่อไปนะครับ

ตัวอย่างเรื่องที่อยากเขียน
1. หลักสูตร ICS (Information Communication Science)
2. Opensource กับการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
3. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น

นี่ก็เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ นะครับ เอาไว้รออ่านกันได้เลยครับ

สุดท้ายนี้ขอเลาเรื่องความประทับใจนอกการสัมมนาสักนิดนะครับ
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์น้ำทิพย์ถึงเรื่องการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ในประเทศไทย
ซึ่งได้ความรู้ และข้อแนะนำจากอาจารย์ ซึ่งอยากจะบอกว่าได้ข้อคิดดีๆ มากมาย
เร็วๆ นี้กิจกรรมต่างๆ ของวงการบรรณารักษ์จะมีความเข้มข้นมากขึ้นครับ ยังไงก็รอติดตามกันนะครับ

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO
ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

picture-021

แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552
ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52)
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52)
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdom : Best Practices
โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner

picture-043 picture-0461 picture-024

สถานการณ์ปัจจุบัน
– การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น
– ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีสูงขึ้น
– การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศสะดวกขึ้น
– ข้อมูลออนไลน์มีมากขึ้น
– มีองค์ประกอบภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มมากขึ้น

Digital Preservation คือ กระบวนการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงได้
Digital Preservation = (manage,collect + care,preserve)

การทำ Digitization คือการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล (ถือว่าเป็นการจัดเก็บและรวบรวมเท่านั้น)
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Preservation ทั้งหมด (เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ)

การทำ Digital Preservation ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
– พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล (Storage medium)
– คนที่จะมาดูแลการทำ (Staff)
– นโยบายขององค์กร (Policies)
– การวางแผนในการทำ (Planning)

หลักสำคัญของการทำ Digital Preservation คือ
– การเข้าถึง และการใช้งาน (Access and Use)
– เนื้อหาที่จะทำ (Content)
– การออกแบบระบบ (System Design)

(Access) สาเหตุที่คนไม่เข้ามาใช้งานระบบ (ประยุกต์เป็นการใช้งานเว็บไซต์ห้องสมุด)
– ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการใช้งาน เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต
– สารสนเทศที่มีไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ข้อมูลยังไม่ลึกพอ

(Content) วิธีการเลือกเนื้อหาในการจัดทำ
– คุณต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องเนื้อหา เช่น เนื้อหาอะไร และจะทำอย่างไร
– เนื้อหาที่สถาบันมี หรือสังคมมี
– เนื้อหาที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร

(System Design) การออกแบบต้องดูทั้งในเรื่อง Software และ hardware
– Software เช่น ระบบการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval), Metadata
– Hardware ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน และต้องมีการปรับปรุงเสมอๆ

กรณีศึกษา National Digital Heritage Archive (NDHA)
ปี 2000 สมาคมห้องสมุดแห่งนิวซีแลนด์ศึกษาและพัฒนากลยุทธ์
ปี 2003 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ปฏิบัติตามแผน
ปี 2004 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ได้รับเงินมาพัฒนา และเริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัท Libris
ปี 2005 ออกกลยุทธ์การทำข้อมูลดิจิตอลของนิวซีแลนด์
ปี 2008 ทดสอบ NDHA

??????????????????-

Using Open Source Systems to Develop Local repositories
โดย Assoc.Prof. Diljit Singh

picture-050 picture-0281

แนะนำข้อมูล Asia-Oceania ว่ามีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เช่นคำว่า water มีการเรียกที่แต่ต่างกัน ประเทศไทยเรียกว่า น้ำ ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า มิซุ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากการค้นพบ และสืบทอดกันมาของคนในพื้นที่นั้นๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ คำพูด บันทึก ประสบการณ์ ฯลฯ

ทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) จึงสูญหาย
– ไม่มีการทำบันทึกแบบเป็นเรื่องเป็นราว
– เป็นความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พอไม่มีคนสืบทอดความรู้ก็สูญหายไป

ห้องสมุดควรมีบทบาทต่อการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ด้วย เพราะโดยทั่วไป ห้องสมุดก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แนวความคิดในการสร้าง Local repositories
– ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา การอ่าน หรือการนำไปใช้
– รูปแบบของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้ง รูป เสียง ข้อความ วีดีโอ ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล

ทำไมต้องเลือกใช้ Open Source Systems
– ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และลดต้นทุนการใช้โปรแกรมได้
– การขอใช้งานไม่ต้องผ่านตัวกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที
– มีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับแต่ง sourcecode ตามที่เราต้องการได้

Open Source software ที่แนะนำในงานนี้ คือ Dspace, Fedora, Greenstone

??????????????????-

From LIS to ICS, a Curriculum Reform
โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin

picture-054 picture-029

หลักสูตรด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาวิชาใหม่ เพราะว่าการเรียนบรรณารักษ์อย่างเดียวจะทำให้เราตามโลกไม่ทัน

รูปแบบการปรับเปลี่ยนของสาขาวิชา
Library and Information -> Information -> Information Communication

ไอซีทีในด้านห้องสมุด เช่น
– ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด (Computerizing)
– ระบบอัตโนมัติ (Automation)
– ระบบเครือข่าย (Networking)
– ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
– ระบบข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

ใน Information Communication Science ควรเรียนอะไรบ้าง
– Planning and practice of digitization
– Digitized information services and marketing
– Knowledge management
– Stores and management of electronic forms
ฯลฯ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdoms in Thailand
โดย Ms.Naiyana Yamsaka

picture-056 picture-058

ภูมิปัญญาท้องถิ่น = ภูมิปัญญาของชาติ = มรดกทางปัญญาของชาติ

การเก็บรักษาวัสดุทางภูมิปัญญาของชาติในประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น
– อากาศร้อนชื้น
– สัตว์รบกวน เช่น มด มอด แมลงสาบ หนู

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น
– สำนักโบราณคดี
– พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– หอสมุดแห่งชาติ
– หอจดหมายเหตุ

การสงวนรักษาหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ

การสงวนรักษาเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนะนำบริการสืบค้นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ
– www.net.go.th
– www.narama.go.th

??????????????????-

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปเนื้อหาการบรรยายของวันแรกเท่านั้นนะครับ