สรุปสัมมนาเรื่องสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

stou2

ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน

ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น
– สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา

ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้
– เกษตรกรรม
– อุตสาหกรรม
– การแพทย์แผนไทย
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– กองทุนและธุรกิจชุมชน
– ศิลปวัฒนธรรม
– ภาษาและวรรณกรรม
– ปรัชญา ศาสนา และประเพณี
– โภชนาการ

ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น
– การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น
– ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น
– การดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
– ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ
– สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นรากฐานของสารสนเทศท้องถิ่นทุกยุคสมัย

ปรากฎการณ์สารสนเทศท้องถิ่นท่วมท้ม มีดังนี้
– สารสนเทศท้องถิ่นคืออำนาจ
– สารสนเทศท้องถิ่นเป็นสมบัติ
– มลพิษทางสารสนเทศท้องถิ่น
– เกิดช่องว่างในการใช้สารสนเทศทองถิ่น

มุมมองของคนที่มีต่อสารสนเทศท้องถิ่น
– นักวิชาการ ต้องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาในอนาคต
– ชาวบ้าน จะหวงแหนภูมิปัญญาของพวกเขา เพราะว่ากลัวจะเสียประโยชน์ทางธุรกิจ

หลัก 4A ของการนำสารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในวงการศึกษา
– Availablility (รวบรวมสารสนเทศให้พร้อมต่อการใช้งาน)
– Accessibility (สร้างการเข้าถึงให้กับสารสนเทศท้องถิ่น)
– Affordability (ให้ชุมชนเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น)
– Accountability (รับผิดชอบความถูกต้องของสารสนเทศท้องถิ่น)

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ประสบการณ์จากการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นด้าน ?นนทบุรีศึกษา?
โดย รศ.ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล มีดังนี้
– Digital Collection ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
– Standard มาตรฐานในการจัดการสารสนเทศ
– Technology เทคโนโลยีระบบห้องสมุด
– Metadata ข้อมูลที่ใช้อธิบายสารสนเทศ

สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ กับ นนทบุรีศึกษา
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย = บริการ และเผยแพร่สารสนเทศ
– มสธ = มหาวิทยาลัยเปิด
– นนทบุรี = มสธ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดนนทบุรี

ขอบเขตของภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรี
– องค์รวมแห่งวิถีชีวิตของคน
– พื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต ความรู้
– ลักษณะเฉพาะ เอกลักษณ์ในตนเอง
– ความรู้ ทักษะ(ความชำนาญ)

การสร้าง ยุ้งฉางภูมิปัญญา แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
– กลุ่มผู้สร้างองค์ความรู้
– กลุ่มสร้างห้องสมุดดิจิทัล
– กลุ่มเผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานทางเทคนิคที่ใช้สำหรับห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่
Metadata ?> MODS, METS, MADS

?????????????????????????

เป็นไงบ้างครับกับการสรุปหัวข้อการบรรยาย
แต่เสียดายที่ช่วงบ่ายผมไม่สามารถอยู่ฟังต่อได้
เลยไม่สามารถสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้ทั้งหมด

จากงานสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผมจุดประกายในการเขียนบล็อกต่อได้อีกสองสามเรื่อง
แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เขียนให้เพื่อนๆ อ่านในโอกาสต่อไปนะครับ

ตัวอย่างเรื่องที่อยากเขียน
1. หลักสูตร ICS (Information Communication Science)
2. Opensource กับการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
3. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น

นี่ก็เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ นะครับ เอาไว้รออ่านกันได้เลยครับ

สุดท้ายนี้ขอเลาเรื่องความประทับใจนอกการสัมมนาสักนิดนะครับ
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์น้ำทิพย์ถึงเรื่องการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ในประเทศไทย
ซึ่งได้ความรู้ และข้อแนะนำจากอาจารย์ ซึ่งอยากจะบอกว่าได้ข้อคิดดีๆ มากมาย
เร็วๆ นี้กิจกรรมต่างๆ ของวงการบรรณารักษ์จะมีความเข้มข้นมากขึ้นครับ ยังไงก็รอติดตามกันนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปร่วมงานแบบนี้อ่ะครับ ที่อุดรขอบเขตสัมมนามันค่อนข้างจำกัด ถ้าไปก็เสียเงินเข้าเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกไปฟรีก็ออกจะเป็นธุรกิจเครือข่ายไปแบบนั้น

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*