หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ
(ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ)

just-for-fun

ซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์
การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้
จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย

ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์)
อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที
บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer
ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ

คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร
เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows
และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน
ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น

ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS”
ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50
และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ
หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่

ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น
ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค
หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS TORVALDS) ดีกว่านั้น
มันหนาถึง 374หน้านะครับ แต่ก็อ่านเพลินๆ คืนเดียวจบ เหมือนกินต้มยำอร่อยๆ
ถ้าชอบแนวปรัญญาความคิดใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้มีให้คุณได้ขบคิด

ผมคัดลอกเอาเนื้อเรื่องบางส่วนมาให้ลองอ่านเล่นดูนะครับ

“ตอนเด็กผมหน้าเกลียดมาก บอกกันตรงๆ อย่างนี้เลย
และผมหวังว่าวันหนึ่งเมื่อฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับลินุกซ์ขึ้นมา
พวกเขาคงจะหาพระเอกที่หน้าหาเหมือน ทอม ครูซ มาเล่น
แม้ในความเป็นจริงมันจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันเลยก็ตาม
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ถึงขนาดคนค่อมแห่งนอตเตอร์ดามหรอก
ลองนึกภาพตามดีกว่า นึกถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มีฟันหน้าใหญ่มาก
(ทุกคนที่ดูรูปผมตอนเด็กจะเห็นว่าหน้าผมดูคล้ายตัวบีเวอร์ไม่น้อย)
นึกถึงการแต่งตัวที่เชยระเบิด และนึกถึงจมูกที่ใหญ่ผิดปกติ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตระกูลทอร์วอลด์ นั่นละครับ ตัวผมในวัยเด็ก”

หรือ

“แล้วทำไมสังคมถึงวิวัฒนาการได้ละ? อะไรคือแรงผลักดันที่สำคัญ?
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
จริงหรือที่การผลิตเครื่องจักรไอน้ำทำให้ยุโรปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
แล้วหลังจากนั้นสังคมมนุษย์ก็วิวัตนาการโดยอาศัยโนเกียและโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จนกลายเป็นสังคมแห่งการสือสารไป?
ดูเหมือนนักปรัชญาทั้งหลายจะพอใจกับคำอธิบายนี้ จึงพากันไปสนใจแต่ประเด็นที่เทคโนโลยีมีผลต่อสังคม
แต่ผมในฐานะนักเทคโนโลยีกลับรู้ดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลต่ออะไรเลย
สังคมต่างหากที่มีผลต่อเทคโนโลยี ไม่ใช่ทางกลับกัน
เทคโนโลยีเป็นเพียงตีกรอบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
และเราจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยเปลืองเงินน้อยที่สุดได้ยังไง
เทคโนโลยีก็เหมือนบรรดาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นแหละ
คือมันไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มันมีหน้าที่แค่ทำงานไปตามที่คุณใช้มัน
ส่วนแรงจูงใจของการทำงานนั้นเป็นความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์โดยแท้
ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นไม่ใช่เพราะเรามีอุปกรณ์
แต่เพราะมนุษย์เราชอบการพูดคุยกันอยู่แล้ว เราจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม
เราก็จะสร้างมันขึ้นมา เพราะอย่างนี้โนเกียถึงได้เกิด”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับนี่เป็นเพียงเนื้อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อ่านแล้วก็ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
สรุปประเด็นที่อยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ
จนทำให้หนังสือดีๆ เหล่านี้ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ กว่าจะได้อ่านก็ช้าไปนานแล้ว

ดังนั้นนี่คงเป็น Case study อย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก
เพราะว่า คุณลองคิดสิครับว่าในห้องสมุดยังมีหนังสือดีๆ แบบนี้ให้อ่านอยู่
แต่ผู้ใช้หาไม่เจอ แล้วอย่างนี้มันน่าคิดมั้ยครับ

สุดท้ายขอขอบใจเพื่อนพิชญ์อีกทีนะครับ แล้วส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านบ้างนะครับ

ปล. ปรัชญาเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหนังสือดีๆ ยังมีอยู่ในห้องสมุดอีกเยอะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

6 Comments

  1. หนังสือของผม ก็มีไว้ประดับห้องสมุดบางแห่ง ผมก็ดีใจครับ ถึงแม้จะไม่มีใครหยิบยืมออกจากชั้นหนังสือก็ตาม

  2. เล่มนี้ผมไม่ได้อ่านที่ห้องสมุดครับ เพราะผมซื้อกลับบ้าน สนุกครับ การันตี

  3. เหมือนปัญหาโลกแตกนะคะ….เกณฑ์การตัดสินใจเอาหนังสือบางเนื้อหาเข้าหมวดหมู่ที่คิดว่านาจะใช่ แต่บางครั้งกลับเฮ้อออออ..เหนื่อยใจ แต่มันก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการอ่านเนื้อหาของหนังสือตรงหน้าแล้วสรุปประเด็นเก็บความให้ได้ว่าจะให้หัวเรื่องอะไรที่สื่อถึงเนื้อหาแบบตรงเป้า ที่เจาะจงเฉพาะเรื่องนั้นๆ หรือหัวเรื่องแบบกว้างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ต้องการเรื่องราวทำนองนั้นๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องนั้นได้เก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มเติมไปด้วย ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการให้หัวเรื่องทั้งแบบเฉพาะเจาะจงตรงประเด็น และแบบกว้างๆ ย่อมเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ทั้งสิ้น เพราะผู้ใช้มีหลายระดับ ความกว้างแคบ ความเชี่ยวชาญ ช่ำชองในการคิดคำค้นก็แตกต่างกัน ดังนั้นหน้าที่ของบรรณารักษ์วิเคราะห์ คือ “ต้องพยามยาม” ทำให้เนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่มสามารถถูกค้นหา และพบได้ เพราะหากหวังเพียงให้การค้นแบบ key word ทำหน้าที่ ก็ควรเลิกมีบรรณารักษ์วิเคราะห์ อันนี้ก็มิแซบว่าจะจี๊ดโดนใจเหล่าแคตตาล็อกเกอร์หรือปล่าว ซึ่งบอกได้ว่ามิได้กล่าวหาเลื่อนลอย แต่เล่าสู่กันฟังจากประสบการณ์ และให้รู้สึกเสียดายทุกคราวไปที่พบหนังสือเนื้อหาดีๆ ตั้งมากมายแต่ผู้ใช้เข้าไม่ถึง อันมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งจากความประหยัดหัวเรื่องของบรรดาแคตตาล็อกเกอร์

    • ขอบคุณครับ คุณ bnoo นับเป็นสิ่งที่ต้องเตือนและย้ำบรรณารักษ์หลายๆ คนให้เข้าใจถึงกระบวนการต่างๆ และความละเอียดรอบคอบในงานต่างๆ ด้วยครับ

  4. ผู้ใดที่มีเนื้อหาดีแล้วอยากเผยแพร่กรุณาสงมาให้ผมได้นะคับพอดีอยากได้ไปจัดนิทรรศการงานวิชาการส่งมาได้ที่ prapasdo@hotmail.com

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*