เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเคยเขียนไปแล้ว แต่พอดีมีคนส่งเมล์มาถามอีก
ผมเลยขอเอาเรื่องนี้มาลงให้อ่านอีกสักรอบก็แล้วกันนะครับ
metadata คืออะไร
metadata คือ ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล
อาทิเช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ ปีที่เขียน ชื่อเรื่อง
จริงๆแล้ว มันก็คล้ายๆ กับการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์
แต่ metadata จะใช้กับทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ต่างหาก
หลักที่เรายึดและใช้ในการกำหนดมาตรฐานเราจะใช้ของ Dublin core
ซึ่งใช้แสดงลักษณะพื้นฐานของสารสนเทศ 15 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. TITLE – ชื่อเรื่อง
2. AUTHOR OR CREATOR – ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
3. SUBJECT OR KEYWORDS – หัวเรื่อง หรือ คำสำคัญ
4. DESCRIPTION – ลักษณะ
5. PUBLISHER – สำนักพิมพ์
6. OTHER CONTRIBUTORS – ผู้ร่วมงาน
7. DATE – ปี
8. RESOURCE TYPE – ประเภท
9. FORMAT – รูปแบบ
10. RESOURCE IDENTIFIER – รหัส
11. SOURCE – ต้นฉบับ
12. LANGUAGE – ภาษา
13. RELATION – เรื่องที่เกี่ยวข้อง
14. COVERAGE – สถานที่และเวลา
15. RIGHT MANAGEMENT – สิทธิ
คำถามที่ตามมาคือ จำเป็นต้องกรอกให้หมดทุกขอบเขตหรือเปล่า
คำตอบก็คือไม่จำเป็นครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถให้รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศชิ้นนี้ได้เท่าไหร่
ข้อสังเกตนะครับ หากเรายิ่งให้รายละเอียดยิ่งเยอะเท่าไหร่ ทรัพยากรสารสนเทศชิ้นนี้ก็ย่อมมีรายละเอียดที่มากขึ้น
ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการจัดการและทำให้สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องได้อีกด้วย
????????????????????-
หลักที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเนื้อหาเพียงคร่าวๆ หากต้องการรู้จัก metadata ให้มากกว่านี้
ลองอ่านเอกสารประกอบตามด้านล่างนี้ได้
1. Metadata คืออะไร – http://dublin.tiac.or.th/metadata.htm
2. Role and use of metadata – http://www.su.ac.th/html_broadcast/4.ppt
3. Dublin Core – Metadata – http://opec.tiac.or.th/help.doc
4. Metadata คืออะไร – http://www.dwr.go.th/agenda/05-2006-25/ISO19115TC211.doc
5. ดับลินคอร์?เมทาดาทา – http://dublin.tiac.or.th/
6. Metadata (wikipedia) – http://en.wikipedia.org/wiki/Metadata
หวังว่าคงเพียงพอกันนะครับ
รู้สึกว่าผมเองก็เคยเขียนถึงเหมือนกันนะครับสำหรับเจ้า Metadata เนี่ย แต่ทิ้งไปนาน จนชักจะลืมไปบ้างแล้วล่ะ แหะๆ
ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ ที่บอกว่า
“metadata จะใช้กับทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์”
นั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญของ metadata แต่เป็นคำที่ใช้แทนข้อมูลบรรยาย”สรรพสิ่ง” รวมไปถึงรายการข้อมูลแบบโบราณ หรือบัตรรายการด้วยเช่นกัน
และ dublin core ก็เป็นเพียงแค่มาตรฐานหนึ่งเท่านั้น ยังมีมาตรฐาน metadata อีกมากมาย การเลือกใช้ก็มักจะขึ้นอยู่กับชุมชนผู้ใช้
เพียงแต่การเกิดขึ้นของคำว่า metadata มันเกิดมาพร้อมกับการพัฒนาเรื่อง digital library ดังนั้นเมื่อคนพูดถึง metadata เราก็มักจะนึกถึงทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่
MARC ที่ใช้กับ catalog ห้องสมุดทั่วไปก็เป็น metadata อย่างหนึ่งเหมือนกัน หรือแม้กระทั่งเขตข้อมูลที่ใช้ในบัตรรายการก็ถือเป็น metadata ด้วยเช่นเดียวกัน
ขอบคุณพี่โตครับ ที่ช่วยแก้ไขข้อมูลครับ
กระจ่างขึ้นทั้งที อิอิ
อยากทราบว่าแต่ละ element บ่งบอกถึงอะไรที่เกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศตัวนั้นครับ และทำไมต้องมีelementตัวนั้นด้วยด้วยครับ