เรื่องอึ้งๆ ณ “มุมโน้ตบุ๊ค” ในหอสมุดแห่งชาติ

หากเพื่อนๆ มีโน้ตบุ๊คแล้วจำเป็นต้องไปทำงานในห้องสมุด เพื่อนๆ เคยเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือปล่าว
วันนี้ผมจะมาขอเล่าเรื่องแปลกๆ เรื่องนึงที่ผมเพิ่งจะเจอมากับตัวเองวันนี้ ณ หอสมุดแห่งชาติ

notebook-corner

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันอาทิตย์อันแสนสุขที่ผมอยากจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องห้องสมุดประชาชน
เพื่อใช้อ่านประกอบและสร้างแรงบันดาลใจในงานห้องสมุดที่ผมกำลังทำอยู่
ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะไปค้นหาข้อมูลที่ “หอสมุดแห่งชาติ”

และเมื่อผมเดินทางไปถึง “หอสมุดแห่งชาติ”
ผมก็ประทับใจในเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยมากที่อนุญาตให้ผมนำโน้ตบุ๊คและกระเป๋าเข้าไปด้วย

ด้วยความชำนาญในการหาข้อมูลของผม (มาบ่อยเลยรู้ว่าต้องให้ห้องไหน)
ผมจึงได้เข้าไปในห้อง 213 (ห้องที่เก็บหนังสือคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ปรัชญา)
แล้วก็ค้นหาหนังสือที่ผมต้องการซึ่งได้มาจำนวน 4 เล่ม

แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะกล่าว เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊ค
แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี่คือประเด็นของเรื่องๆ นี้…

ผมต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผมในการพิมพ์งาน และจดโน้ตบทสรุปของหนังสือ
ผมจึงสอบถามบรรณารักษ์ในห้อง 213 ว่า

Libraryhub : “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะใช้โน้ตบุ๊คของผมเพื่อพิมพ์งานในห้องนี้ได้มั้ย”
บรรณารักษ์ 213 : “ไม่ได้หรอกนะค่ะ ถ้าจะใช้ต้องไปที่ห้อง 204 – 205 ค่ะ”
Libraryhub : “ทำไมหล่ะครับ ผมไม่ได้ใช้ปลั๊กไฟของที่นี่นะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “อ๋อ ห้องนั่นเขามี “มุมโน้ตบุ๊ค” อยู่นะค่ะ”
Libraryhub : “แล้วหนังสือของผมพวกนี้หล่ะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “คุณก็ทิ้งบัตรประชาชนของคุณไว้ที่ห้องนี้ด้วยสิค่ะ”

เอาเป็นว่านี่เป็นบทสนทนาสั้นๆ ที่ผมคุยกับบรรณารักษ์นะครับ
ซึ่งโอเคผมก็คงต้องปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ แหละครับ คือ ต้องยอมทำตาม

จากนั้นผมก็ทิ้งบัตรประชาชนเพื่อยืมหนังสือ แล้วถือโน้ตบุ๊คไปที่ห้องใหญ่ (204-205)

พอถึงห้องกลาง(204-205) ผมก็เห็น “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่บรรณารักษ์ห้อง 213 บอก
ผมก็เดินไปเพื่อที่จะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” นั้น แต่บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์กลางก็เรียกผมอีก

บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง :
“เดี๋ยวๆ คุณจะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” ใช่มั้ย”
Libraryhub : “อ๋อ ใช่ครับ ผมเอาโน้ตบุ๊คมา และต้องการใช้พิมพ์งาน บรรณารักษ์ห้อง 213 บอกให้ผมมาใช้ห้องนี้”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ งั้นคุณก็กรอกแบบฟอร์มนี้ก่อนใช้นะครับ”
Libraryhub : “โอเคครับ งั้นกรอกแบบฟอร์มก่อนแล้วกัน”

ในระหว่างที่ผมกรอกแบบฟอร์มผมก็ถามพี่ๆ บรรณารักษ์ที่นั่งตรงกลางเคาน์เตอร์ว่า
Libraryhub : “พี่ครับขอถามอะไรนิดนึงนะครับ เกี่ยวกับการใช้บริการโน้ตบุ๊ตในหอสมุดแห่งชาติ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ได้ครับ มีอะไรหรอครับ”
Libraryhub : “คือ ผมแปลกใจว่าทำไมต้องเล่นได้ที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” อย่างเดียวหรอครับ เพราะว่าผมเองก็ไม่ได้ต้องการใช้ปลั๊กนี่ครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “อ๋อ คือทางส่วนกลาง เขาจัดไว้ให้นะครับ”
Libraryhub : “แล้วทำไมต้องเป็นตรงนี้ด้วยหรือครับ หรือว่ามีสัญญาณ Wifi ตรงนี้หรอครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ปล่าวครับ ไม่มีสัญญาณให้เล่นอินเทอร์เน็ตหรอกครับ แต่ส่วนกลางให้เล่นได้เฉพาะ “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่เขาจัดเท่านั้นครับ”
Libraryhub : “สรุปคือไม่ได้มีความพิเศษอย่างอื่นเลย นอกจากมีปลั๊กไฟใช่มั้ยครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ”

เมื่อจบบทสนทนาผมก็กรอกแบบฟอร์มขอใช้งานเสร็จพอดี ผมจึงถามต่อไปว่าล

Libraryhub : “กรอกเสร็จแล้วครับ งั้นผมขอไปใช้โน้ตบุ๊คของผมก่อนนะครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ยังไม่ได้ครับ ต้องแลกบัตรไว้ที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ”
Libraryhub : “อ้าว เมื่อกี้ผมเอาบัตรไปใช้ยืมหนังสือจากห้อง 213 มาแล้วนี่ครับ ผมจะใช้บัตรใบไหนอีก”
(เนื่องจากผมมากับเพื่อน บรรณารักษ์ก็เห็น)
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “งั้นใช้บัตรของเพื่อนอีกคนก็ได้นะครับ”

สุดท้ายผมก็เลยต้องใช้บัตรของเพื่อนเพื่อแลกกับการใช้โน้ตบุ๊คในหอสมุดแห่งชาติ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงกับเรื่องนี้ครับ
ผมอึ้งแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลย แบบว่าตกใจมากๆ

“มุมโน้ตบุ๊ค” ที่หอสมุดแห่งชาติเป็น คือ โต๊ะรวมที่นั่งเล่นโน้ตบุ๊คได้พร้อมกัน 6 เครื่อง
แถมด้วยปลั๊กที่ใช้สำหรับชาร์จแบตของโน้ตบุ๊คได้อย่างเดียว ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย
ในความคิดเห็นของผม มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่นั่งอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติหรอกนะ
เพียงแค่ที่นั่งที่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และใช้บัตรแลกเพื่อใช้งาน

แล้วตกลงเขาเรียกว่า “มุมโน้ตบุ๊ค” เพื่ออะไร…..

เมื่อผมใช้งานโน้ตบุ๊คเสร็จแล้ว ผมจึงเดินไปรับบัตรประชาชนของเพื่อนคืนจากเคาน์เตอร์
แล้วสอบถามถึงแบบฟอร์มการขอใช้บริการ “มุมโน้ตบุ๊ค” ว่าผมจะขอตัวอย่างแบบฟอร์มหน่อยได้มั้ย
ซึ่งได้คำตอบว่า “มันเป็นความลับของหอสมุดแห่งชาติ ไม่สามารถให้ได้”
เออ เอาเข้าไปดิ แค่แบบฟอร์มก็ยังถือว่าเป็นความลับเลย

สุดท้ายนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมุมโน้ตบุ๊ตของหอสมุดแห่งชาติ
เอาเป็นว่าใครพอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊คนี้ ก็ช่วยแถลงให้ผมทราบทีเถอะครับว่า
“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติและมุมโน้ตบุ๊ค”

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

36 Comments

  1. 55555555

    ไม่มีอะไร ไม่มีเหตุผล ไม่มีคำตอบ มีแต่คำสั่ง ที่สั่งลงมาจากเบื้องบนว่าให้ปฏิบัติเช่นนี้แล

    เพื่อ????? – -‘

  2. หอสมุดแห่งชาติ – -” วงการห้องสมุดประเทศไทยจงเจริญ

  3. ขำดีแฮะ ที่ห้องสมุดพี่ให้ยืมปลั๊กไฟไปเลย เขียนชื่อไว้ในสมุดเซนซื่อ ใช้เสร็จก็เอามาคืนที่เคาน์เตอร์
    ส่วนที่มุมที่จัดไว้ ส่วนใหญ่จะเต็ม เพราะมีรูปลั๊กให้เสียบ ก็เลยต้องมีปลั๊กสำรองไว้ให้ นศ. ยืม
    ถ้าวันหลังพี่ตอบคำถามผู้ใช้ไม่ได้ พี่จะบอกว่า “มันเป็นความลับของมวลมนุษยชาติที่ไม่อาจเปิดเผยได้ หุหุ”

  4. เท่าที่อ่านดู เหมือนจะบังคับผู้ใช้ให้ไปโน่นไปนี่มากไป ซ้ำซ้อนเรื่องการแลกบัตรด้วย
    นั่งที่ไหนก็เป็นสิทธิ์ของผู้ใช้จะดีกว่านะคะ

  5. นั่งตรงนั้น จะได้รู้ว่ามี โน๊ตบุ๊ค จะได้ไฮโซ
    และทราบสถิติ ว่าคนที่เข้ามาใช้ โน๊ตบุ๊ค มีกี่คน
    จะได้วางนโยบาย เกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊ค ของหอสมุดแห่งชาติต่อไป

    (พยายามเดาเอานะ)

    หอสมุดแห่งชาติ เป็นตัวแทนห้องสมุดระบบศักดินา แบบไทยๆ มาตั้งนานแล้ว
    และจะเป็นต่อไป จ้า…….

  6. ขอบคุณทุกคอมเม้นต์ครับ
    ตอนนี้ผมเขียนใบแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ส่งให้หอสมุดแห่งชาติเรียบร้อย
    ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว

    ก็ได้แต่หวังว่าผู้บริหารหอสมุดแห่งชาติคงจะพิจารณาได้นะครับ

  7. กลัวโดนขโมยโต๊ะวาง notebook มั่งครีบ หรือว่าเครื่งคุณมันร้อนจนกลัวหนังสือใหม้

  8. เหอๆ สงสารผู้ใช้บริการจิง ๆ ดีน่ะที่ห้องสมุดเราฟรีสไตล์อยากเสียบตรงไหนก็เสียบเล่นโน๊ตบุ๊คได้ทุกที่ทุกจุด

  9. อ่านแล้วก็ได้แต่ขำครับ…ไม่ทราบว่าทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว หรือยุ่งยาก เสียเวลาไปกว่าเดิม ส่วนเรื่องแบบฟอร์ม คงต้องขอหมายศาล มาด้วยมั้งครับ ถึงจะได้ หะๆ

  10. คงจะพยายามจัดจุดที่ใช้โน้ตบุ๊คไว้ แต่วิธีการเข้าใช้เพื่อประโยชน์ในการเก็บสถิติคงจะเข้มงวดมากเกินไป จริง ๆ น่าจะเรียกให้เขียนชื่อ และสถานที่ทำงานไว้แค่นั้นก็พอ เพราะไม่ได้เห็นประโยชน์ หรือเกิดมีความเสียหายของอุปกรณ์จนต้องยึดบัตรไว้เลย

  11. แอบแจ้งหอสมุดแห่งชาติให้ทราบประเด็นนี้ไปแล้วนะ
    รอคำชี้แจงและแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น หน่อยแล้วกันนะ

  12. คิดว่าน่าจะแยกเป็นสัดส่วน เพื่อความเป็นระเบียบมากกว่า เพราะบางครั้งคนที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้อาจจะรบกวนการอ่านหนังสือของคนอื่น บางที่อาจจะมาใช้เป็นแก๊งค์ พูดคุยเสียงดัง..

  13. ขอบคุณครับพี่แมว สำหรับการแจ้งความคิดเห็น
    จริงๆ ผมก็เขียนไปหย่อนลงตู้แสดงความคิดเห็นแล้วหล่ะครับ
    อยากให้เขาพัฒนางานบริการให้ดีกว่านี้หน่อย อิอิ

  14. เป้าหมายของห้องสมุดทำงานเพื่อใคร 1)ให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดพึงพอใจ หรือ 2) เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติงานพอใจกับความเป็นระเบียบของห้องสมุด

  15. คือถ้าตราบใดที่เบื้องบนยังไม่เปิดโอกาสให้คนที่ทำงานอยู่หน้างานคิด และคิดให้ถูกต้อง การตัดสินใจต่างๆ ก็จะไม่เกิด การนำเสนอเพื่อปรับปรุงก็จะไม่เกิด แม้แต่อิสสระเสรีภาพในการใช้ห้องสมุดก็ยังถูกจำกัด

  16. มีครั้งนึงผมจำได้ว่า ผมเคยขอแบบฟอร์มพวกนี้มาครับ แล้วลืมกรอก หุหุ มันเป็นความลับบ้าบออะไรกัน ประสาทมากๆ สิ่งที่หอสมุดแห่งชาติไม่เคยเปลี่ยนเลย คือ สันดานและนิสัยของเจ้าหน้าที่เฮี่ยๆ ที่ทำงานแบบซังกะตาย ให้หมดไปวันๆ เพื่อที่จะได้มีเงิน จับจ่ายใช้สอยไปในแต่ละเดือน ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าในเมื่อคุณเลือกงานบริการตรงนี้แล้ว คุณก็ต้องยอมรับมันตั้งแต่วันแรกที่คุณก้าวขามาแล้ว

    เรื่องเจ้าหน้าที่ยาม จะตรวจทำไม ในเมื่อมีประตูให้เดินสแกน แหกแล้วแหกอีก แหกจนเปลี่ยนกระเป๋ามาแล้วสามใบเพราะซิปขาด ไม่เคยเห็นจะได้อะไรขึ้นมา ช่องทางเดินสำหรับสแกนตัวบุคคล ก็เหมือนไม่ได้เปิดใช้ แค่มีไว้ประดับ ผมอยากจะทราบเหมือนกันว่า จะให้ฝากหนังสือทำไม ในเมื่อห้องสมุดทั่วโลก หรืออื่นๆ เขามีระบบแถบแม่เหล็ก อะไรที่มันรูดกับแถบแม่เหล็กไปแล้ว เมื่อเดินผ่านเครื่องตรวจสแกน มันก็จะร้องดังๆ มันหลบได้ยากอยู่เหมือนกัน แล้วจะทำไปเพื่อ ทำภาพลักษณ์ให้ห้องสมุดดีๆ แต่การกระทำมัน โค ตะ ระ บะ รม จะ เก่า เก๋า กึ๊ก เลย เมื่อ สามสิบสี่สิบปีเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น

    มุมโน๊ตบุ๊คก็เหมือนกัน เขาไม่มีไวไฟ หรือว่า ต่อสายแลนให้เราใช้หรอกครับ เพราะเขามีอินเตอร์เน็ทไว้ให้เจ้าหน้าที่ใช้ เล่น hi5 เล่น Facebook เล่น Msn แชทคุยกับ………… แต่บรรณารักษ์ หรือ เจ้าหน้าที่บริการ ก็จะทำหน้าตาขึงขัง ปานประหนึ่งว่าไม่ได้เล่นอะไรนะ ฉันทำงาน เหอะๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

    มีประชุมกันซักเดือนละกี่ครั้ง ไอ้กล่องที่ร้องเรียนกันไป ได้เบิกกันไปประชุมหรือเปล่า หรือเจ้าหน้าที่ขยำลงขยะ เพราะผมก็เห็นว่า มันเยอะอยู่พอสมควร ไม่เคยเห็นมีบอร์ดสรุปการร้องเรียน ว่าร้องเรียนจากใคร เรื่องอะไร แล้วผลคำตอบเป็นอย่างไร ไม่เคยเปิดเผยความชั่วช้าของตัวให้สาธารณะชนได้รับรู้ แล้วก็เที่ยวบอกว่า ราชการโปร่งใส่เป็นธรรม เหอะๆ ๆ ๆ ๆ ประชุมแล้วช่วยเอาข้อมูลที่มีคนเขา ว่า เขา กล่าว เขา เตือน เขา ถก เขา เถียง กันไปปรึกษาหารือ เอาสมองแก่ๆ ไปคิดพิจารณาเรื่องบริการด้วย ไม่ใช่มีแต่สมองไว้คิดว่า เที่ยงนี้จะกินอะไร จะไปช้อปปิ้งที่ไหน บริการก็หน้าเป็นตูด ถามอะไรก็หน้าเป็นตูด ยู่จนจะไม่เห็นลูกกะตากันอยู่แล้ว เฮ้อ! ราชการไทยน้อ

    ในเมื่อปี ๒๕๕๔ นี้ หอสมุดแห่งชาติ ได้มีโครงการผักชีโรยหน้ามากมาย ก็อย่าลืมทำให้ รสชาติอาหารมันอร่อยด้วยหล่ะ ไม่อย่างนั้น คนเขาถุยออกกันหมด ถ้าเขามีโอกาสเลือก หอสมุดสักแห่งที่ใหญ่และมีข้อมูลไม่แพ้ หอสมุดแห่งชาติ มีบริการที่เป็นเลิศ ถึงแม้จะต้องเสียค่าสมาชิกปีละ เป็นพัน คนเขาก็คงยอมอยู่หรอก เพราะเข้าไปแล้วมันก็สบายใจ คนรักหนังสือ คนรักหอสมุด มันก็ปลื้มใจหล่ะ ไม่ต้องเจอบริการห่วยๆ สันดานแย่ๆ ของพนักงานบริการห่วย ๆ

    ผมขอสรุปดังนี้นะครับ
    หอสมุดแห่งชาติ
    – ใหญ่ที่สุด
    – ข้อมูลมากที่สุด
    – มีเจ้าหน้าที่ห่วยๆ มากที่สุด
    – มีเจ้าหน้าที่ สมองปลาทองมากที่สุด
    – มีเจ้าหน้าที่ ที่เรียงหนังสือได้ดังที่สุดในโลก
    – เป็นหอสมุดที่มีแต่เสียงดังที่สุดในโลก เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้ผู้เข้าใช้บริการอยู่ในอาการสงบได้
    – มีผู้เข้ามาใช้บริการที่ ช่างคุย ช่างพูด ไม่เกรงใจใครมากที่สุดในโลก
    – ผู้เข้าใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ หลายคนแต่ไม่ทุกคน ไม่มีมารยาทมากที่สุดในโลก
    – มีบรรณารักษ์เจ้าหน้าที่ที่ช่างคุย ช่างพูด ไม่เกรงใจใครมากที่สุดในประเทศฯ
    – เป็นหอสมุดที่ ไม่สามารถเอาหนังสือเข้าไปได้ แต่เอา “น้ำ ขนม ของกินทุกประเภท เข้าได้” เง้อ!
    – มีกฏที่ควรยกเลิกแต่ไม่ยกเลิกมากที่สุด
    – มีเรื่องที่ควรพัฒนาแต่ไม่เคยพัฒนามากที่สุด
    – มีหนังสือเก่าให้ซ่อมมากที่สุด แต่หาคนและแผนกซ่อมไม่ได้มากที่สุด
    – เป็นหลักให้หอสมุดอื่นๆ ทั่วประเทศ แต่ตัวเองเป็นไม้หลักปักขี้เลนมากที่สุด
    – มีระบบทันสมัยมากเพราะงบเยอะ แต่ใช้ระบบทันสมัยและเทคโนโลยีไม่เป็นมากที่สุด
    – เป็นหอสมุดที่ใหญ่ แต่มีห้องน้ำน้อยที่สุด และมีความเน่าเหม็น รวมทั้งสภาพที่แย่ที่สุด
    – เป็นหอสมุดที่ใหญ่ แต่มีร้านถ่ายเอกสารที่น้อยที่สุด และคงเก็บค่าเช่าสถานที่แพงอยู่
    – เป็นหอสมุดที่ระเบียบการเยอะที่สุดในโลก รึเปล่า! กรอกแล้วกรอกอีกกรอกแล้วกรอกอีก 5555+
    – ควรทำบัตรสมาชิกหอสมุดมากที่สุด แต่ไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย รูดปรึ๊ดเดียวก็ขึ้นหมดแล้ว บ้านอยู่ที่ไหน หลักฐานที่นำมาแจ้งก็ขึ้นอยู่แล้ว จะเอาหนังสือไปถ่ายเอกสาร หรือจะทำธุระอะไร จะถ่ายภาพ จะคัดสำเนา จะอะไรจิปาถะ ก็เพียงแค่ปลายนิ้วเจ้าหน้าที่ หรือจิ้มคีย์บอร์ดทำงานไม่เป็นน้อ ยิ่งเข้าไปแถบบาร์โค๊ดหน่ะ ง่ายจะตาย พัฒนาซะ จะได้ไปประชุมห้องสมุดโลกได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ไม่เอาภาพผักชีโรยหน้า ไปวางไว้บนสปาร์เก็ตตี้ ให้ฝรั่งหัวทอง ร้อง โอ้ว มายกอด ปรบมือดังไม่หยุด ยิ้มรับแบบหน้าด้านๆ แล้วกลับมาภูมิใจในประเทศไทยว่า ห้องสมุดประเทศไทย ห้องสมุดที่ข้าบริการเว่ยยยยย
    – ฯลฯ

    ขอบคุณพี่มากนะครับที่เปิด เว็บอย่างนี้ให้ผมได้มาบอกเล่าประสบการณ์ที่ผมเจอบ้าง แล้วคุณๆ ประเภทที่ว่า “ถ้ามรึงไม่พอใจ มรึงก็ไปใช้ที่อื่น เขาไม่ได้ง้อให้มรึงมาใช้บริการที่นี่ ไปซะ ชิ่วๆ” คุณ ๆ ประเภทนี้ จะมาว่าผมอย่างนี้ไม่ได้หรอกครับ

    เพราะผมเป็นคนไทย ภาษีเสีย พ่อแม่ผมก็เสียภาษี ปู่ย่า ตายาย แม้แต่ทวดของผม ก็เคยเสียภาษีให้กับประเทศไทยครับ ผมเป็นคนมีสิทธิที่จะใช้ ที่ต้องบ่นเพราะว่า มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ใช่รักษาความเก่าความแก่แบบแผนเก่าๆ ซึ่งมันต้องพัฒนากับยุคปัจจุบัน ถ้าจะรักษาความเก่านั้น ทำได้ มันสามารถจัดทำความเก่าให้กับห้องได้ ด้วยสถาปัตยกรรมครับ ไม่ใช่เก่าเพราะสกปรก เก่าเพราะคนแก่ๆ เก่าๆ ที่งี่เง่าๆ ไม่ใช่เก่าเพราะหนังสือเก่า ไม่ใช่เก่าเพราะมีระเบียบเก่าๆ ฝากด้วยนะครับพี่ ๆ ไม่ว่าจะพี่ที่ผ่านเข้ามารู้จัก คนใหญ่คนโต หรือ เจ้าหน้าที่ ที่ผ่านเข้ามาอ่าน หรือ คนทั่ว ๆ ไป ที่ผ่านเข้ามาอ่าน

    “ผมไปเขียนร้องเรียนบริการไปก็เท่านั้น ขยำลงถังขยะหมดซะหล่ะมั๊ง” 55555+

  17. อยากกดไลค์คุณคนไปบ่อย
    มันคงมีด้านดีบ้างล่ะ
    ถ้าเจอเอามาเล่าให้ฟังหน่อยนะ

    ป.ล. อธิบายได้เห็นภาพมากๆ ขนาดไม่เคยไปนะเนี่ย

  18. ข้อดีเหรอครับ
    มีอยู่เยอะเหมือนกันครับ ผมคงจะกล่าวไม่หมด ขอเขียนนิยายให้อ่านดีกว่าครับ

    นิยายเรื่อง ข้อดีของหอสมุดฯ กะโป๊ะโล๊ะ

    *ทุกสิ่งทุกอย่างในนิยายเรื่องนี้ สมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น ไม่มีความเป็นจริงเลยครับ ผมเป็นคนบ้า บ่นเรื่อยเปื่อย ว่าแล้วก็มาฟังนิทานของคนเพี้ยนๆ ดีกว่าครับ

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว … ยังมีห้องสมุดฯแห่งหนึ่ง ชื่อห้องสมุด กะโป๊ะโล๊ะ มีข้อดีหลายๆ อย่างที่ทุกคนควรจะเลือกใช้บริการ และไม่สมควรที่จะแสดงความคิดเห็น หรือแนะนำการพัฒนาใดๆ ทั้งสิ้น เพราะอาจจะปรับเปลี่ยนยาก หรือไม่ก็ เทกระจาดเปลี่ยนทั้งองค์กรถึงจะดีขึ้น เรื่องราวของนิทานมันเป็นอย่างนี้ครับ

    มานะ เดินเข้าไปในหอสมุดแห่งหนึ่ง ชื่อ กะโป๊ะโล๊ะ มานะได้มองไปรอบๆ หอสมุดแห่งนั้น เขาก็พบว่า

    “๑. หอสมุดฯ กะโป๊ะโล๊ะ พยายามปรับภูมิทัศน์ให้ดูทันสมัย และทัดเทียมอารยประเทศ โดยทุบตึกเก่าๆ แก่ๆ บางตึก เพื่อยุบปรับภูมิทัศน์ให้ ปลอดโปร่ง โล่งสบาย มองแล้วเจริญหูเจริญตา แต่เขาไม่ทราบว่า ภายภาคหน้า ตึกเก่า ๆ แก่ ๆ เหล่านั้น จะย้ายไปเป็นเพียงชั้นๆ หนึ่งของหอสมุดที่กำลังสร้างใหม่ที่ตรงข้างหลังหรือเปล่า”

    มานะก็ได้แต่ยืนดูด้วยความสะเทือนใจ เพราะครั้งหนึ่ง คุณปู่ทวดของเขาได้พาเขามายืนดูตึกอนุสรณ์ของ เจ้าอยู่หัวองค์หนึ่งของประเทศเขา เมื่อมันกำลังจะสลายลงไป เขาเองก็เลยรู้สึกใจหายไปด้วย

    ไม่นาน ชั่วเวลาหนึ่ง ชูใจ ก็มาถึง หล่อนวิ่งเข้ามาหา มานะ แล้วชวนกันเดินเข้าไปในหอสมุดฯ กะโป๊ะโล๊ะ ทั้งสองได้ยืนตื่นตะลึกพรึงเพริดกับเทคโนโลยีอันตระการตาของที่นี่ แต่มานะก็สังเกตเห็นได้ถึงความรู้สึกเบื่อๆ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้ามา พลางนึกในใจว่า

    “๒. มีเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย ที่เป็น ระบบอัตโนมือบุคคลเดี่ยว เพราะมีไปก็เท่านั้น คนก็ยังต้องทำงานอยู่ดีครับ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอย เจ้าหน้าที่ฝากของเอย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เอย และอีกๆ หลายหน่วยงานก็ยังคงใช้เทคโนโลยีมหัศจรรย์ ระบบอัตโนมือบุคคลเดี่ยวนี้เสียจริงๆ

    จุดหมายของมานะ และ ชูใจ ในวันนี้คือ มาหาหนังสือเพื่อประกอบการทำรายงานเรื่องประวัติศาสตร์ฯ พวกเขาจึงเดินไปหาประชาสัมพันธ์ และถามคำถามไปหลายข้อ ประชาสัมพันธ์ก็ได้ “ยิ้ม ยิ้ม แล้วก็ ยิ้ม พลางตอบว่า ไม่ทราบค่ะ ไม่แน่ใจค่ะ น่าจะนะคะ ลองถามเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ดูนะคะ อาจจะอยู่ข้างในมั๊งคะ เดินไปทางซ้ายมือค่ะ” มานะฟังจนมานะเริ่มเบื่อว่าแล้วจึงฉุดข้อมือ ชูใจ เดินเข้าไปข้างในฝั่งซ้ายตามที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์บอก

    เมื่อไปถึงห้องที่ประชาสัมพันธ์แนะนำ …. มานะและชูใจก็ได้เห็นสภาพของเจ้าหน้าที่กว่า สิบๆ ชีวิต อยู่ในห้องทำงานที่ไม่โปร่งใส ห้องทำงานที่อยู่อย่างลึกลับ นึกพลางยืนมองพลาง ชูใจเป็นผู้ตัดบทขึ้นว่า “สวัสดีค่ะ ขอโทษนะคะ พวกเราขอสอบถามเรื่องเกี่ยวกับหนังสือ….. หน่อยค่ะ”

    มีเจ้าหน้าที่บั้นท้ายอวบๆ ตัวกลมๆ ยกแว่นขยับตามอง มานะ และชูใจ พลางลุกขึ้นทำหน้าตาเบื่อๆ ราวสามีทอดทิ้งมาแล้วนับสิบปี พร้อมกับเดินมาที่หน้าเค้าเตอร์ ถามว่า “มีอะไรคะ” มานะ และ ชูใจ หันหน้ามามองกันเลิกลั่ก แล้วตอบไปอย่างกลัวๆ ว่า “เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ แนะนำให้พวกเรา เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง……. ค่ะ” ชูใจตอบจากนั้น ก็ได้รับคำตอบ… มานะและชูใจจึงได้พากันเดินออกมาจากห้องอับๆ นั้น

    เมื่อเดินมาถึงโถงกลาง มานะจึงได้พูดกับชูใจว่า

    ๓. บุคลากรที่อยู่ข้างในสุดโน่นนนนนหน่ะ ที่เราเดินตรงเข้าไป ฝั่งซ้ายมือทางเข้าห้องน้ำหญิงนั้นหน่ะ เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและยอดเยี่ยมมากๆ เลยนะชูใจ เรายังไม่เคยพบมาก่อน เขามีความยินดีที่จะบริการตอบคำถามทุกคำถามโดยที่ไม่คิดว่าพวกเราเป็น “บุคคลแปลกหน้า” “อาชญากร” “โจร” “คนขโมยของ” เวลาที่พวกเราถามข้อมูล เขาก็จะแค่ หันไปถามกันด้วยเสียงดัง ๆ ประมาณว่า “มีคนมาถามข้อมูลหนังสือเรื่อง…….. ใครรู้เรื่องนี้บ้าง” บางครั้ง บุคลากรเหล่านั้นก็จะทำหน้าตาปานประหนึ่งว่า มีคนคุกแหกคุกมาถาม ทำหน้าเซ็งๆ ละมือและสายตาจากคอมพิวเตอร์ที่กำลังแชทอย่างเมามันบ้าง กำลังทำงานจริงๆ อยู่บ้าง กำลังแซวเพื่อนในเฟสบุกบ้าง (ตั้งใจเขียนให้ไม่ถูก) ทำหน้าเอื่อยๆ เดินตูดบิดๆ อย่างเชื่องช้า และถามด้วยเสียงดังๆว่า “มีไร” ระรื่นหูมากๆ เลยเนอะชูใจ เธอว่าไหม?

    อืม เราก็ว่าเขาบริการดี๊ดีนะ บริการดีมาก อยากจะมาติดต่อทุกๆ วันเลยหล่ะ ชูใจตอบมานะ พาลให้เรานึกไปถึง เจ้าโตนะ เวลาเราไปยืนดูมันอยู่ในกรง แล้วเราแหย่ๆ มันก็จะขู่ฟ่อๆๆ กัดฟันกรอดๆๆ คิดถึงเจ้าโตจริงๆ เลยมานะ ว่าพลาง ชูใจก็ยิ้มกริ่ม มองหน้ามานะ แล้วหัวเรากิ๊กกันสองคน

    ที่ชั้นบริการที่ ๘ เศษสามส่วน ๙ ของตัวตึก ห้อง ๓๐๐.๗๘๙ เศษสามส่วน ๙ มานะ และชูใจ เดินเข้าไปใช้บริการ เมื่อได้หนังสือที่ต้องการแล้ว ชูใจต้องการจะไปคัดสำเนา เพื่อนำกลับไปพิมพ์ดีดที่บ้าน จึงได้เดินมาหาบรรณารักษ์ หล่อนเงยหน้ามองชูใจและมานะ ด้วยตาเหลือกๆ พร้อมขยับแว่นตาหนาเตอะมองส่วนศีรษะไล่ลงมาจนถึงข้างล่าง พร้อมกับถามด้วยเสียงอันไพเราะว่า “ทำอะไร”

    ชูใจ ตื่นเต้นมาก ที่บรรณารักษ์ถามชูใจด้วย น้ำเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ชูใจจึงได้ตอบไปว่า หนูต้องการคัดสำเนาค่ะ บรรณารักษ์ถามต่อ “บัตรประชาชน” หนูไม่มีบัตรประชาชนค่ะ หนูยังไม่ ๑๘ เลยค่ะ (สมัยก่อน ๑๘) ชูใจกล่าว “แล้วบัตรอื่นมีมั๊ย” บรรณารักษ์พูดพร้อมขมวดคิ้วแสดงกิริยาขมักขเม่น ในการให้บริการ “มีบัตรนักเรียนค่ะ” พร้อมกับยื่นให้เจ้าหน้าที่ไป ได้บัตรเลขมาใบหนึ่ง พร้อมกับเอาหนังสือออกมาคัดสำเนาได้ ระหว่างทาง ชูใจก็ได้หันมาคุยกับมานะว่า

    ๔. ระบบบริการยืม-คืน ที่นี่เค้าเป็นที่หนึ่งเลยนะ มานะว่ามั๊ย บริการชั้นเยี่ยม คุณภาพ ISOON 500 (ฉันยังไปไม่ถึงใกล้แล้ว อีก ห้าร้อยปี ) บัตรมีกี่ใบ ที่มีรูป ออกด้วยหน่วยงานราชการ ใช้ได้หมด ไม่เลือก อยากเอามาไว้ก็เอา มีสิบใบก็ใช้ได้ เพียงแต่ เป็นบัตรที่ราชการออกให้ มีรูป มีชื่อ แลกเบอร์เปลี่ยนหนังสือไปคัดสำเนาเอกสาร เป็นระบบที่ดีมากๆ เรารู้สึกดีใจจังเลยหล่ะมานะ ที่ได้ใช้ระบบที่พัฒนากว่าสมัยปู่ย่าตาทวดของเรามากนะ มานะได้พูดขึ้น เราว่าระบบ ISOON ๕๐๐ นี้ มันล่าไปแล้วนะชูใจ เขามีระบบใหม่แล้วนา เปลี่ยนมาตรฐานแล้วนะ หลวงเขามีเงินส่งมาให้เยอะแยะสำหรับพัฒนาระบบนะ ได้ข่าวว่า เขาอาจจะพัฒนา ระบบบาร์โค๊ด เราเองก็อยากใช้ ระบบข้อมูลออนไลน์ ล็อครหัส จากฐานข้อมูลตำรวจแห่งชาติ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ จะแย่แล้วหล่ะคงตื่นเต้นน่าดู ว่าถ้าเชื่อมโยงกันขึ้นมา แล้วเราเกิดมีประวัติไม่ดี คงจะแย่เหมือนกันนะ นี่เราก็ได้บัตรสามารถกาด มาหลายปีแล้วนะ จะหมดอายุการใช้อยู่แล้ว เรายังไม่เห็นว่า แถบแม่เหล็กของ สามารถกาด จะทำอะไรได้เลย นอกจากไว้โชว์อย่างเดียวเอง ชูใจเธอเห็นด้วยไหม อืม อืม เห็นด้วยนะ จริงทีเดียวแหละ ชูใจตอบ

    มานะ ๆ นายเห็น กล้องวงจรปิดบ้างไหม เราตื่นเต้นมากเลยนะ เราพอรู้มาหล่ะว่า เขาเอาซ่อนไว้ตามรูฟองอากาศของสีทาผนังตึก เขาทำได้อย่างไรก็ไม่รู้นะ เก่งมากๆ เลย คนที่ตัด ฉีก แงะ แกะ หนังสือ จะได้เกรงกลัวซะบ้าง ใช่ ใช่ มานะตอบพร้อมพยักหน้า เป็นทำนองเห็นด้วย พร้อมกับพูดต่อว่า

    ๕. ที่นี่มีกล้องวงจรปิดเยอะมาก ซ่อนอยู่ตามรูฟองอากาศของสีทาผนังตึกอย่างที่ชูใจพอรู้มานั่นแหละ ปกติเราจะไม่เห็นหรอกนะ ต่อไปจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องขโมยหนังสือ ตัด ฉีก แงะ แกะ ที่นี่เขารัดกุมมาก

    เสร็จแล้วครับ เด็กๆ ทั้งหมด ๒๐ หน้า ๑๐ บาทครับ ชูใจจ่ายเงินให้กับ ปิติ เจ้าของร้าน แล้วชูใจก็ได้ถามปิติว่า พี่คะ ที่นี่ไม่มีสำเนาเอกสารแบบสแกนเป็นไฟล์ดิจิตอลหรือคะ คือหนูเห็นในกระทรวงของคุณพ่อเขามี หนูเห็นว่า ประหยัดกระดาษดี แล้วราคาก็จะถูกลงมากๆ ด้วยนะคะ เพราะหนูเอง เอาไปก็ใช้แป๊ปเดียวแล้วก็ต้องทิ้งหนูก็เสียดายกระดาษด้วยค่ะ ไม้ป่า ไม้ปลูก ก็หายาก แพงๆ โลกเราก็ร้อนขึ้นเยอะนะคะพี่

    ปิติ ตอบด้วยเสียงอันหล่อเหลาว่า “เออ…ทันสมัยแบบนั้นไม่มีหรอกครับ น้อง ถ้าจะใช้บริการเห็นทีน้องคงจะต้องยกเครื่องสแกนคัดสำเนาเอกสารเป็นไฟล์ดิจิตอล มาเองแล้วมั๊งครับ แต่ยังไงพี่ก็จะลองสอบถามกับ ผู้หลักผู้ใหญ่ดูว่า มีโอกาสเป็นไปได้ไหม พี่คิดว่าความคิดพวกนี้ก็ใช้ได้นะครับน้อง ประหยัดดี แล้วพี่ก็ไม่เปลืองด้วย พี่เองก็เคยคิดอยู่ ว่าจะเสนอผู้หลักผู้ใหญ่เหมือนกัน จะคิดอัตราหน้าละ 25 สตางค์ เป็นค่าไฟฟ้า ดีไหมครับหนูๆ ชูใจ กับ มานะ ก็ส่งยิ้มให้ปิติแบบมีความหวัง แล้วเดินกลับ

    เสร็จธุระต่างๆ คืนบัตรแล้ว ก็ได้พากันออกมาจากหอสมุดฯกะโป๊ะโล๊ะ ก่อนออก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินภายในหอสมุดฯกะโป๊ะโล๊ะก็ได้ทำหน้าที่เหมือนเดิม คือ ตรวจตราสิ่งของ ก่อนออกจากหอสมุด ด้วยการเหลือบมองห่างๆ แล้วพูดว่า เชิญครับ ช่างเป็นกิริยามารยาทที่ดีมากจริงๆ แล้วยังช่วยปกป้องทรัพย์สินของหลวงสูญหายเสียอีกด้วย

    ไว้เรามาหาข้อมูลกันใหม่นะ มานะ เราต้องรีบกลับแล้วหล่ะ ต้องไปหา คุณพ่อที่กระทรวงฯอีก เดี๋ยวท่านจะว่าเอาว่าไปช้า ชูใจกล่าว

    ได้ได้ แล้วไว้เจอกันที่โรงเรียนนัดกันมาใหม่นะ บริการที่นี่เป็นเลิศจริงๆ เราชอบมากๆ เลย สนุกดีเนอะวันนี้ แล้วเจอกันนะ บ๊ายบาย มานะกล่าวพร้อมโบกมือ หันหลังเดินจากชูใจไป

    นิยายเรื่องนี้ ก็จบ ตอนที่ ๑ แต่เพียงเท่านี้ และไม่รู้ว่าจะมี ตอน ๒ อีกหรือเปล่า ๕๕๕

    • แบบว่า ละเอียดได้ใจมากเลยคุณน้อง อิอิ ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
      วงการห้องสมุดเราจะได้ตื่นตัวกันสักที

  19. ช่างกล้าพูดเนอะ หอชาติน่ะใครก็แตะไม่ได้มาเป็นชาติแล้ว

  20. ผมต้องยอมรับเลยว่า เจ้าหน้าที่เริ่มปรับเปลี่ยนไปมาก จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ขอชื่นชมจริงๆ ครับ

    ๑. บรรณารักษ์ผู้หญิงประจำห้อง วารสาร ใจดีจริงๆ ครับ
    ๒. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ตอบคำถามได้มากขึ้น และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น อันนี้ก็เข้าใจว่ามาใหม่ แต่ดีขึ้นจริงๆ ครับ
    ๓. บรรณารักษ์ผู้หญิงคนหนึ่ง (ซึ่งมีหลายคน) ประจำห้อง ๒๐๔ นิสัยดีมากๆ ต้องขอชมเชยครับ
    ๔. บรรณารักษ์ห้องหนังสือหายาก นิสัยดีทุกคนจริงๆ นี่คือเรื่องจริง แม้แรกๆ จะดูดุดันไปหน่อยแต่ก็เข้าใจครับว่า ห้องนี้เป็นห้องหนังสือเก่า เป็นสมบัติของชาติจริงๆ ก็ต้องขอชมเชยด้วยครับ

    ผมก็ขอชมเชยคนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่เป็นสิ่งดี ๆ เป็นเกียรติเป็นศรีแก่หอสมุด กะโป๊ะโล๊ะ ด้วยครับ ไม่ได้ประชด ไม่ได้อะไรจริง ๆ วันนี้ชมจริงๆ เพราะมี พี่ๆ มารีเควสว่า น่าจะมีส่วนดีบ้าง นี่แหละครับ บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่เหล่านี้คือส่วนดี ๆ ครับ

    ขอบคุณครับ

  21. เคยไปใช้บริการหลายครั้งเหมือนกัน โดยเฉพาะชั้นวิทยานิพนธ์ ไปทีไรเป็นต้องรมณ์เสียทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นชั้นปิด ที่เจ้าหน้าทีหางานให้เราไม่เจอ หรือชั้นเปิดที่เราเองก็หาไม่เจอ ก็จะเจอได้ไงล่ะ เล่นแบบว่า 370 มี 5 ชั้น ก็แปะ 370 ทั้ง 5 ชั้น โดยไม่มีและไม่เรียงตามอักษรตัวแรกและเลขผู้แต่ง
    น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับห้องสมุดอื่นๆ ได้ แต่นี่…….

  22. ไม่ได้ไปใช้นานมากแล้วค่ะ เพราะเข้ามีกติกามากมาย อย่างเราอยากเอาหนังสือของเราเข้าไปด้วย (บางทีต้องใช้ประกอบหลายๆๆๆ เล่ม) อยากเอาคอมพิวเตอร์เข้าไปนั่งทำงาน มันดูจะเรื่องมากไปหมด แม้แต่จะเอากระเป๋าเข้าไปมันก็ยุ่งยากมาก… ได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า หอสมุดแห่งชาติ เหมาะเวลาที่จะเดินเข้าไปอ่านหนังสือเล่นๆ ดูเล่มนั้น เล่นนี้ให้สบายใจ ไม่ต้องมีอะไรติดตัวไปมาก ไม่ต้องพกกระเป๋า หรือสมบัติอย่างอื่นใด นอกจากเอาเงิน กับบัตรประชาชนใส่กระเป๋ากางเกงไปด้วยก็พอ

  23. ถึงหอสมุดจะปรับปรุงใหม่…แต่น่าจะไล่พนักงานเก่าๆออกให้หมด มารยาทห่วย พูดจาเหมือนคนไม่มีการศึกษาพูดมาแต่ละอย่าง เหตุผลฟังไม่ขึ้น เค้าเขียนว่าปลั๊กนี้ใช้ชาร์ต notebook !! ก้อชาร์ตทำงานอ่ะ …แหม่มาบอกชั้นไม่ให้ชาร์ตนะค่ะ อีกคนก้อแหม่ตะโกนมาน้องค่ะๆ เดินมาพูดค่อยๆเหมือนคนอยู่กรุงได้มั้ย?! โวกแหวกโวยวายเหมือนไม่ใช่ห้องสมุด!! ตกลงนี่มันตลาดสดใช่ป๊ะ?! อีปลวกกก!!!!

  24. ตอนผมเรียนประมาณ น่าจะ ม2 ได้ นั่งสาย3 จาก กรุงธนบุุรี ไปหอสมุดแห่งชาติ แต่ลืมเอาบัตรหอสมุดไป ผมก็คิดว่าน่าจะเข้าได้ เพราะบางครั้ง จนท.ก็ไม่ได้ตรวจ ผมเข้าไปข้างใน ห้องแรกซ้ายมือ พอเข้าไปปั๊บ จนท.ขอดูบัตร ผมว่าไม่ได้เอามา ผมถามว่าต้องใช้ด้วยเหรอครับ ผู้ชายตอบว่า ต้องใช้ ไม่มีเข้าไม่ได้เหรอครับ เขาตอบว่าไม่ได้ ผมก็เลยต้อง นั่งรถเมล์กลับมาที่ บ้านเพื่อมาเอาบัตร แล้วก็นั่งรถเมล์ย้อนกลับไปที่เดิม แค่บัตรใบเดียวผมต้องนั่งรถเมล์ สี่เที่ยว เพียงแค่ไปอ่านหนังสือ จะใช้บัตรทำไมก็ไม่รู้ ยุ่งยากจริงๆ
    เรื่องที่่นั่งสำหรับ notebook ผมว่า หกที่นั่งน่าจะน้อยไปครับ เพื่่อการเรียนรู้ประชนชนน่าจะมีที่มากกว่านี้หน่อยนะครับ

  25. เพิ่งเปิดมาเจอเว็บนี้ แต่เรื่องมันเกิดเมื่อเกือบสองปีที่แล้ว คือเรากับเพื่อนต้องไปค้นข้อมูลจากหอสมุด เพราะหัวข้อที่พวกเราต้องทำมันมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตน้อยมาก จึงเป็นครั้งแรกเลยที่ได้ไปหอสมุด

    พอไปถึง จะเข้าไปในอาคาร ยามเรียกตรวจกระเป๋าเจ้าค่ะ แล้วบอกให้ฝากไว้ข้างนอก พอจะขอเอาหนังสือเข้าไป เผื่อหาข้อมูลเสร็จจะได้อ่านหนังสือเรียนต่อ ยามก็บอกว่าเค้าไม่ให้เอาเข้าไปอีก ตอนนั้นคือแบบ ทำไมไม่ให้เอาเข้าฟะ แค่หนังสือเนี่ยนะ หรือกลัวจะยุ่งยากว่าพอออกมาต้องตรวจอีกว่าเป็นหนังสือของเราเองหรือเป็นของหอสมุด เอ่อ สงสัยเจ้าหน้าที่จะขี้เกียจกันมาก

  26. (ต่อ) … จากนั้น พอเข้าไปแล้ว ด้วยความที่ไม่มีใครเคยมาที่นี่มาก่อน ก็เลยไปถามเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ว่า ต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ๆ จะต้องไปหาตรงไหน ปรากฏว่าเจ้าหน้าจอมขี้เกียจคนนึงบอกให้ไปเสริชหาเอง คือขึ้นเลยอ่ะ ตูจะไปรู้มั้ยฟะว่าเครื่องมันอยู่ตรงไหน ใช้ยังไง แต่ดีนะที่มีเจ้าหน้าที่อีกคนมาค้นให้ แล้วแถมยังไปช่วยค้นหนังสือเล่มนี้อีกต่างหาก

    ทีนี้พอค้นเสร็จ เราก็จะถ่ายรูป ถือกล้องละ ยัยเจ้าหน้าที่อีกคนก็บอกว่า “หนูๆ จะทำอะไรน่ะ” พอเราบอกจะถ่ายรูปหนังสือ ยัยเจ้นั่นก็บอกว่า “ถ่ายอย่างนี้ได้ไง ไม่รู้เหรอว่ากฎเขาไม่ให้ถ่าย ถ้าจะถ่าย ต้องไปทำเรื่องขอถ่ายก่อน” ถึงตอนนั้นรู้สึกหงุดหงิดมากเลย คือตูเข้ามาครั้งแรก จะไปรู้มั้ยวะ ว่ากฎมันมีอะไรมั่ง ถ้าจะบอก ก็บอกกันดีๆ ก็ได้ ไม่เห็นต้องมาพูดจาแบบนี้เลย แต่เราก็อดไว้ แล้วถามเจ้แกต่อว่า แล้วต้องทำไงมั่งเจ้แกก็บอกว่าต้องไปซีรอกซ์บัตรประชาชนมา แล้วถึงจะทำเรื่องได้ แล้วคือเราต้องวิ่งไปซีรอกซ์บัตรประชาชนที่อีกตึกนึงอ่ะ เหนื่อยเป็นบ้าเลย ได้แต่นึกในใจว่าทำไมมันต้องมีกฎอะไรเยอะแยะขนาดนี้ กลัวคนจะไปโจรกรรมข้อมูลมากเลยหรือไง ทีนี้พอซีรอกซ์เสร็จก็ไปทำเรื่อง จนในที่สุดก็สามารถถ่ายรูปได้จ้า จบ…

  27. (ต่อ)…แต่ประเด็นที่รู้สึกว่าหอสมุดแห่งชาติงี่เง่ามากเลยก็คือ ทำไมห้ามเอาหนังสือของตัวเองเข้าไปอ่าน ห้องสมุดอื่นๆ เค้าก็ให้เอาเข้าไปได้ หรือเพราะเป็นหอสมุดแห่งชาติ มีหนังสือมากมาย ก็เลยไม่ให้เอาหนังสือเข้า

  28. (ต่อ)… เราคิดว่า ในเมื่อประเทศไทยต้องการส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่าน ซึ่งหอสมุดก็ถือว่าเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะแก่การอ่านหนังสือ ทั้งบรรยากาศที่เงียบสงบ ที่อ่านหนังสือน่านั่งอ่าน เย็นสบายกว่าอยู่ที่บ้านเยอะ ถ้าสมมติให้เอาเข้าได้นะ เด็กจะไม่ได้มีความรู้แค่ในตำราอย่างเดียว แต่เด็กจะได้ท่องโลกกว้าง จากการไปหาหนังสือที่น่าสนใจในหอสมุดมาอ่านในตอนที่เบื่อหนังสือของตัวเองแล้ว มันไม่ใช่แค่ตัวเด็กเองที่ได้ แต่มันคือผลประโยชน์ที่ชาติจะได้รับเลยอ่ะ

  29. (ต่อ)… หรือเป็นเพราะองค์กรที่มาดูแลหอสมุด ไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ จึงไม่ต้องให้ความสำคัญกับด้านนี้ เด็กมันจะรู้ไม่รู้ก็เรื่องของมัน ขอแค่ฉันได้งบจากการดูแลตรงนี้ก็พอละ อืม เจริญ ถ้าอย่างนั้นก็ขอให้ประเทศไทยเจริญนะ

  30. ปรับใหม่ซะเถอะ หอสมุดเอ๋ย ที่คุณทำน่ะ มันไม่ได้มีใครเห็นด้วยกับคุณเลยนะ หอสมุดเป็นสมบัติของชาติ ถ้าตราบใดที่คนในชาติเขาไม่ได้ไปทำร้ายอะไรให้หอสมุดน่ะ เขาก็มีสิทธิในการทำอะไรก็ได้ ที่จะได้มีความรู้ไปประดับบารมีตัวเอง และไปพัฒนาชาติในอนาคต

    น่าเบื่อจริงๆ ที่หอสมุดสวนกระแสการพัฒนาการอ่านของคนในชาติ ขอบอกได้คำเดียวเลยว่า ที่คุณทำน่ะ มันงี่เง่าที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*