สุขสันต์วันครบรอบความรัก 5 ปี

วันเสาร์และวันอาทิตย์นี้เป็นวันครบรอบความรักระหว่างผมกับแฟน
วันครบรอบจริงๆ คือวันที่ 22 พฤศจิกายน ปีนี้ก็ 5 ปีแล้วที่เราได้คบกัน
แต่ก่อนหน้านั้นเราก็รู้จักกันมาเกือบ 4 ปีเหมือนกันนะ เอาเป็นว่ารวมๆ แล้วเรารู้จักกันมาเกือบ 9 ปีแล้ว

img_0297

วันเสาร์อาทิตย์นี้ผมจึงตัดสินใจงดเรื่องงานทุกชนิด ไม่ว่าจะงานนอกงานใน
เพื่อมีวันที่พักผ่อนและฉลองวันครบรอบอย่างเต็มที่

ปีนี้เป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปีหน่อยตรงที่ผมเลือกที่จะออกไปเที่ยวต่างจังหวัด
แต่ก็มีสถานที่มากมายมาให้เลือก (บอกตามตรงเลยว่าเลือกยากอ่ะครับ)
เช่น เพลินวาน (หัวหิน), ตลาดน้ำอัมพวา, เกาะล้าน (พัทยา) ….

สุดท้ายผมก็เลือก …. เกาะล้าน
ด้วยเหตุที่ว่าปีแรกที่ผมคบกับแฟนที่เที่ยวที่เป็นต่างจังหวัดที่แรกของเราคือ พัทยานั่นเอง
ตอนนั้นก็อยากไปเที่ยวเกาะล้านนะ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น
– ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
– เพิ่งคบกัน ไม่กล้าพาไปเที่ยวเกาะ (กลัวเธอคิดมาก อิอิ)
– ขับรถไปเอง กลัวรถหาย อิอิ

เอาเป็นว่าปีนี้ก็ได้ไปแล้วนะ (ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 5 ปี ก็เถอะ)

อ๋อ ลืมบอก ไปสองวันก็จริง แต่ได้ไปที่เกาะล้านจริงๆ วันอาทิตย์นะครับ
วันเสาร์เราเที่ยวกันอยู่ที่พัทยาต่างหาก เริ่มจาก

การเดินเล่นที่ห้าง CentralFestival Pattaya ดูต้นคริสต์มาสประดับไฟ
แถมด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปิน AF อิอิได้ดูดาราแถมถ่ายรูปไฟคริสต์มาส
แบบว่าคนอื่นเขามาดูดารา แต่เราไม่แคร์ดาราเพราะมัวแต่ถ่ายรูปต้นคริสต์มาส

dscf0404 img_0305

หลังจากนั้นเราสองคนก็เดินเที่ยวกันริมชายหาดครับ (กลางคืนซะด้วย)
ไปเขียน Y Love June ที่ชายหาดด้วย (โรแมนติกนะแต่เล่นเหมือนเด็กเลย อิอิ)

dscf0445

จากนั้นก็เดินไปเรื่อยๆ บนถนน Walking Street เดินดูร้านกลางคืนมากมาย
ก็แกล้งแซวๆ กันว่าจะดินเนอร์กันร้านไหนดี (โรแมนติกน่าดูเลยเนอะ มีสาวๆ เต้นรูดเสาให้ดูด้วยกินข้าวด้วย)

dscf0484

จากนั้นเราก็เดินกันไปถึงท่าเรือพัทยา เพื่อดูตารางการเดินเรือ
สุดท้ายเราก็ตกลงกันว่าจะไปเกาะล้านสัก 10 – 11 โมงกัน
อ่าเมื่อได้เวลาแล้วเราก็ค่อยๆ เดินกลับมาที่โรงแรม และพักผ่อนเตรียมตัวเดินทางในวันพรุ่งนี้

วันอาทิตย์แล้ว……ตื่นมามีหนังเคเบิลน่าดูก็เลยขอดูให้จบเรื่องก่อนนะ แล้วค่อยออกไป check out
หลังกินข้าวเช้าเราก็ได้เดินทางไปที่ท่าเรืออีกครั้งและซื้อตั๋วเรือไปกลับ ราคา 150 บาทเรียบร้อย
บนเรือคนเยอะมากมาย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นั่งคู่กันแต่ก็นั่งใกล้ๆ กัน อิอิ ไม่เป็นไรเนอะๆ

img_0443

พอมาถึงเกาะเราก็ตื่นเต้นกันมาก เพราะว่าไม่ได้มาเที่ยวทะเลกันนานมากๆ แล้ว
เมื่อได้ที่นั่งเสร็จสั่งอาหารมากิน พอท้องตึงเราก็พร้อมเล่นน้ำ
(แฟนไม่ได้ลงไปเล่นนะ มีแต่เราที่เปลี่ยนชุดแล้วลงไปเล่นน้ำ)
โดนแฟนแอบถ่ายรูปเยอะแยะเลยเอาไว้ตามไปดูใน Facebook นะครับ

dscf0535

จบการเดินทางที่เกาะล้านอันแสนมีความสุข

พอขึ้นมาที่ฝั่งรถตู้พัทยา – อนุสาวรีย์ก็จอดรอพวกเราอยู่
เอาเป็นว่าได้เวลากลับมาเคลียร์งานต่อแล้ว เป็นอันว่างานฉลองครบรอบ 5 ปี
กำลังจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่เราสองคนก็ยังจะรักกันต่อไปและปีหน้าเราจะหาที่ฉลอง

แล้วเอามาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อิจฉากันอีกสักรอบนะ

img_0405

สุดท้ายนี้ขอบคุณคุณแฟนมากมายที่อยู่เคียงข้างผมตลอดมา
ไม่ว่าจะทุกข์ จะสุข จะสมหวัง จะผิดหวังเรื่องใดๆ ก็ตาม
ผมก็ยังมีเธออยู่เคียงข้าง สุดท้ายนี้ขอบคุณจริงๆ


รักจูนนะ

ปล. รูปภ่ายมากมายตามไปดูที่ Facebook เองนะครับ

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน

thinkcamp-logo1

ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)

THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น

งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง

น่าสนุกใช่มั้ยครับ

ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?

2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?

3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?

4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?

5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ

สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ

slide

หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?

– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)

– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก

– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ

– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)

– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?

– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib

เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่

หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ

หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้

หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป

หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง

หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib

หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย

หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด

หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC

หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib

รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib

นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ

บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552

วันนี้ผมขอเอาเรื่องที่น่ายินดีและชมเชยมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
เป็นเรืองเกี่ยวกับ “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552”

librarian-awards

จริงๆ ข่าวนี้ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประกาศมาได้สักระยะนึงแล้วนะ
วันนี้ผมขอเอามาลงให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักทีนะครับ

ปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัล 5 ท่านครับ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นางกันป์หา เก้าเอี้ยน – บรรณารักษ์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ตั้งแต่ปี 2526 ท่านได้จัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถานการศึกษา อีกทั้งยังจัดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งนับว่าเป็นแบบอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ – ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
เนื่องจากทั้งมีผลงานทั้งในด้านการสอน และการบริหารห้องสมุด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา จังหวัดระยอง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมของสามเณร) รวมถึงจัดพิมพ์ชุดนิทานภาษาของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,400 ชุด

3. นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงศ์ – ครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อพัฒนาห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคนครปฐมให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี และเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์อย่างต่อเนื่อง

4. นางจินัฐดา ชูช่วย – ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา
เนื่องจากท่านได้ผลักดันห้องสมุดจนทำให้ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น 2 ปีซ้อน จากกรมสามัญศึกษา โล่เกียรติยศรางวัลห้องสมุดดีเด่น 3 ปีซ้อนจากเขตการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาในจังหวัดสตูล และเป็นแกนนำการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

5. นางวราพร รสมนตรี – หัวหน้างานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
เนื่องจากท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการอ่านมากมาย เช่น โครงการพัฒนาการอ่านสู่ครูมืออาชีพ โครงการสุดยอดฑูตส่งเสริมการอ่าน โครงการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมเยาวชนแว่นแก้ว และได้รับโล่เกียรติคุณครูดีเด่นทางด้านการศึกษา ในปี 2551

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
และอยากให้มีบรรณารักษ์และคุณครูเช่นนี้มากๆ จัง
วงการห้องสมุดเราจะได้พัฒนาอย่างก้าวหน้าต่อไป

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://tla.or.th/pdf/person1.pdf

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงห้องสมุดเฉพาะ

วันนี้ในขณะที่ผมส่งเมล์ให้เพื่อนๆ อยู่ ก็มีอีเมล์ฉบับนึงเด้งขึ้นมาหาผม
ชื่อเมล์ว่า “ช่วยทำแบบสอบถามการวิจัยให้หน่อย (สำคัญมาก) เป็นของอาจารย์ สวนดุสิต สำรวจ GIS?”
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ช่วยกระจายข่าวและตอบแบบสอบถามเลยแล้วกัน

เนื้อความในอีเมล์นะครับ

mail-latter

ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เขาบอกมาซะก่อน

http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/index01

gis-library

มีเว็บแบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมากๆ ครับ

อ่านวัตถุประสงค์คร่าวๆ แล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นการหาตำแหน่งของห้องสมุดเฉพาะโดยแสดงผลด้วยแผนที่
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับการทำ Directories ของห้องสมุดเฉพาะแหละครับ
แต่พิเศษตรงที่ว่านอกจากจะแสดงผลเป็นที่อยู่แล้วยังจะสามารถดูแผนที่ของห้องสมุดนั้นๆ ได้ด้วย

งั้นผมของลองเล่นนิดนึงนะครับ

map-library

เอาเป็นว่าเล่นแล้วนะครับ งั้นผมขอตอบแบบสอบถามเลยแล้วกััน

แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอนนะครับ
เอาเป็นว่าผมประเมินให้แล้ว (ไม่ขอนำผลที่ผมประเมินมาให้ดูนะ)

ยังไงผมก็ขอเชิญเพื่อนๆ ไปร่วมกันทำแบบสอบถามนี้กันนะครับ
http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/questionare.html

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด
ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน
จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา…

presentation

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรูปป้ายเตือนแบบนี้

บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library)
แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย

ในป้ายนะครับ
– ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
– ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ
– คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น
– ห้ามพูดคุย
– ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม
– ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม

ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย
ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย

เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ

presentation1

ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า
– ใช้โทรศัพท์ได้นะครับแต่กรุณาเงียบนิดนึง
– ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยครับ
– ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ
– พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะครับ
– จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะครับ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้
– พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะครับ
– ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะครับ
จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย

เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะครับ
คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน

เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะครับ

สุดท้ายนี้ใครมีประโยคแนวๆ นี้ลองส่งมาให้ผมดูหน่อยนะครับ
จะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน ขอบคุณครับ

ภาพของเรื่องนี้จาก http://doug-johnson.squarespace.com/blue-skunk-blog/2009/11/7/signs-signs-everywhere-theres-signs.html

แรงบันดาลใจจากงาน wordcampbkk2

วันนี้ขอเล่าเรื่องต่อเนื่องจากวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยดีกว่า นั่นคืองาน wordcampbkk2
งานที่รวมพลคนใช้ Microsoft word เอ้ยไม่ใช่ งานนี้เป็นงานที่รวมพลคนใช้ WordPress ต่างหาก

wordcamp-banner

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน wordcampbkk
ชื่องาน : wordcamp bangkok 2
วันที่จัดงาน : 15 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กำหนดการของงานนี้ ใครที่ยังไม่รู้ก็ไปตามอ่านได้ที่
http://wordcamp.kapook.com/agenda-speakers/

ผมขอเล่าแบบภาพรวมแล้วกันนะครับ

งาน wordcampbkk กำหนดการแบบว่าเช้ามากจริงๆ อ่ะครับ แถมอยู่ไกลจากบ้านผมพอควรเลย
ดังนั้นไม่ต้องถามนะครับว่าตื่นกี่โมง เอาเป็นว่าตื่นเช้ามากๆ ครับ

เริ่มจากผู้ร่วมเดินทางมางาน wordcampbkk ด้วยกัน
นั่นก็คือ @junesis และ @maeyingzine

@junesis
@junesis
@Maeyingzine
@Maeyingzine

พอมาถึง ม.ศรีปทุมก็เล่นเอางงเล็กน้อยว่า อาคาร 1 มันอยู่ตรงไหน
แต่ก็เห็นหลายๆ คนเดินไปที่ๆ นึง ผมก็เลยตามเขาไปนั่นแหละครับ
จนสุดท้ายก็มาถึงหน้างาน wordcamp นั่นเอง

หน้างานวันนี้ของแจกยังคงเป็นป้ายชื่อ badge เข็มกลัด และเสื้อwordcamp เช่นเดิม
วันนี้ผมขอสีดำแล้วกันครับ (จริงๆ ได้เสื้อ wordcamp มาจากงาน Thinkcamp แล้ว)

หลายคนเข้ามาทักเพราะว่าทรงผมของผมเปลี่ยนไป แค่ 1 วันที่เจอกัน
(เมื่อวานไปงาน thinkcamp ยังไม่ได้ตัดผมครับ)

มาถ่ายรูปกันเพื่อนๆ
@Thangman22 @porpeangseller @iwhale @patsonic @ylibraryhub

ลงทะเบียนและถ่ายรูปเพื่อเป็นพิธีนิดนึง
ก็เข้าไปหาที่นั่งเพื่อรองานเปิด ในระหว่างนั้นเองก็เจอเพื่อนมากมาย
ก็เลยได้ทักทายกันบ้างและก้ไม่พลาดถ่ายรูปมาให้ดู

อ๋อในงานผมชอบ Twitter Wall มากๆ เลยครับ
จอทางด้านซ้ายมือของผมมันจะขึ้น tweet ของคนที่ใช้ tag #wordcampbkk
ดังนั้นหลายๆ คนจึงใช้ช่องทางนี้เป็นสื่อการตลาดมากๆ ครับ
เช่น ประชาสัมพันธ์บล็อกตัวเอง หรือ โพสเพื่อให้ขึ้นบนจอกัน สนุกกันไป

อ่ะงานเริ่มแล้ว เริ่มจากผู้ใหญ่กันก่อนเลยครับ เช่น
อาจารย์อำนวย มุทิตาเจิรญ, ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์, คุณปรเมศวร์ มินศิริ

หลังจากนั้นผู้พูดที่ได้รับความฮือฮาคนแรก และสุดยอดจริงๆ ก็เริ่มมาครับ
นั่นก็คือ คุณฟูเกียรติ จุลนวล จากไมโครซอฟต์ นี่เอง
ขึ้นมาพูดเรื่อง The power of PHP and Windows นั่นเอง
(มีหลายคนแซวว่า Microsoft จะมาขายของหรือปล่าว อิอิ)

ช่วง 11 โมง ผมมีโอกาสได้ขึ้นเวทีแล้วครับ ขึ้นไปครั้งแรกเพื่อยกโต๊ะและเก้าอี้ไปให้แขกในช่วงต่อไป
ซึ่งแขกในช่วงต่อไปนี้ก็คือพวกผมเอง Blogger ที่ได้รับการโหวตให้พูดครับ

ในช่วง Inspiration Showcase ซึ่งประกอบด้วย 10 บล็อก ดังนี้
http://www.ladyvisa.com
http://www.bkkza.com
http://www.powerontv.com
http://www.songjapan.com
http://www.108blog.net
http://www.mysoju.wordpress.com
http://dmslib2008.wordpress.com
http://don-jai.com
http://www.libraryhub.in.th
http://polypink.com

บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ
บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ

ในช่วง Inspiration Showcase ประทับใจทุกๆ คนมากเลยครับ
แต่ละคนมีแรงบันดาลใจดีๆ มานำเสนอให้คิด และนำไปใช้ได้มากมาย
ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมงาน wordcamp ปีที่แล้วอย่างพี่สุวรรณ (ห้องสมุดกรมการแพทย์)
ก็ยังเปิดตัวบล็อกกรมการแพทย์ได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

หลังจากนั้นก็ได้เวลาพักกินข้าวกันแล้ว และระหว่างกินข้าวนี่เองวง #ihear ก็เริ่ม set วงกัน
กินข้าวไปฟังเพลงไปสุนทรีย์ดีจริงๆ ครับ

set วงกันก่อนนะครับ #ihear
set วงกันก่อนนะครับ #ihear

ระหว่างที่เดินไปเดินมาในงาน ผมก็มีโอกาสได้พบกับคนดังมากมายหลายคน
เช่น พี่ @markpeak และ พี่ @jakrapong ก็เลยขอถ่ายรูปซะหน่อย อิอิ

@markpeak แห่ง Blognone
@markpeak แห่ง Blognone
@jakrapong & @ylibraryhub
@jakrapong & @ylibraryhub

ในช่วงของ ?Independent Blog? มีคนดังมาพูดหลายคนเลยครับ
ไม่ว่าจะเป็นคุณนิ้วกลม (@roundfinger) คุณวิภว์ บูรพาเดชะ (@VipHappening)
คุณทรงกลด บางยี่ขัน (@zcongklod) และคุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (@wannasingh)

แบบว่าฟังในช่วงนี้แล้วได้แง่คิดเพียบเลย คนคุณภาพจริงๆ

session ไฮไลท์ก็มาถึง นั้นคือการสัมภาษณ์คู่รัก twitter นั่นเอง
@imenn และ @sweetener ที่กำลังจะแต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว
แบบว่าฟังแล้วหวานกันมากๆ อิอิ โรแมนติกที่สุดเลยครับ
ทั้งคู่เปิดตัวเว็บแต่งงานด้วย นั่นคือ http://www.wedding.sweetandmellow.com/

ช่วงต่อมาเป็นคุณ @mooooyai มาบรรยายเรื่องการนำบล็อกมาใช้สร้าง portfolio ให้ตัวเอง
อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ และคิดว่าเอาไปใช้ประโยชน์ได้เยอะเลยทีเดียว
พี่เขาแนะนำ plugin และ Theme เพื่อใช้ในการสร้าง portfolio ได้ดีทีเดียว

Session ที่พลาดไม่ได้อีกช่วง คือ ?Plungins & Themes โดนใจ? โดย @iannnnn
แบบว่ามาแนะนำแหล่ง plugin และ Theme ได้เจ๋งมา (หาใน google เอาได้เลย)
ที่สำคัญนำกรณ๊ศึกษาของ fail.in.th มาแนะนำอีก ทำให้ผมรู้จัก plugins เจ๋งๆ หลายตัวเลย
นับว่าเป็น session ที่ฮาแล้วได้สาระเอามากๆ ครับ

หลังจาก session นี้ผมก็เริ่มไม่ไหวแล้วครับ ง่วงมากมาย
แถมเป็นห่วงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ที่บ้านมากมาย ดังนั้นผมจึงขออนุญาตกลับก่อนครับ

ผมคงเล่าได้แค่นี้นะครับที่เหลือผมจะรออ่านจากบล็อกเกอร์หลายๆ คนนะ

สุดท้ายก่อนจบ ผมขอขอบคุณทีมงานทุกๆ ท่านที่ร่วมกันเหน็ดเหนื่อยเพื่องานนี้
และหวังว่าคงจะมีงานแบบนี้มาให้พวกเราเข้าร่วมกันอีกนะครับ

เว็บไซต์งาน wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

รวมภาพบรรยากาศงาน wordcampbkk2

[nggallery id=16]

รวมบล็อกที่เขียนถึงงาน wordcampbkk

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009

WordCamp Bangkok 2009 / wordcampbkk โดย @ipatt

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @gootum

ความโดนใจจากงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @nongoffna

Inspiration from Word Press Bangkok 2009 โดย บล็อกพี่หมู

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2”
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย

thinkcamp-logo

เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2
วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20

ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน
ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที
ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้

เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน
หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ

หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้
– “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd
– “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub
– “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22
– “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic
– “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri
– จำชื่อหัวข้อไม่ได้อ่ะครับ รู้แต่ว่าพูดเกี่ยวกับพลัง social network โดย @iwhale
– “Break the rule with openhat.tv, the social network for the real artist” โดย @aircoolsa
– “ร้อยแปดบล็อก บล็อกไทยๆ สไตล์เบ็ดเตล็ด อ่านง่ายๆ สั้นๆ ไม่ถึง 1 นาที” โดย @kajeaw
– “เว็บไซต์กินข้าวกินปลา restaurants.in.th” โดย คุณภาณุ ตั้งเฉลิมกุล
– “panoramap” โดยแก๊งค์สามสี
– “ITCOOLGANG กับการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ ITCOOLGANG NEWS CYBERWORLD ปี2” โดย @aum2u
– “ช่องว่างแห่ง เวลา และสถานที่ กับ eventpro” โดย @aircoolsa

อยากสรุปของแต่ละคนลงบล็อกนะครับ แต่ยังไม่มีเวลาเลย
เอาเป็นว่าอีกเดี๋ยวเว็บ http://www.thinkcamp.in.th
ก็จะมีวีดีโอของแต่ละคนเอามาลงให้ดูกัน เพื่อนๆ ก็สามารถตามดูได้นะครับ

อ๋อลืมบอกส่วนใน session ผม ไม่ขอเล่านะครับ
เพราะว่าพูดเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุดไปเยอะ กลัวเพื่อนๆ ในบล็อกจะรับไม่ได้ อ่า


เอาเป็นว่าเดี๋ยวถ้านึกอะไรออกแล้วจะมา update เพิ่มแล้วกันนะครับ อิอิ (update 16/11/2009)

รวมรูปภาพบรรยากาศในงานค่ายความคิด 2 (Thinkcamp#2)

[nggallery id=15]

Test up blog by iPhone

วันนี้ขอทดสอบการเขียนบล็อกด้วยไอโฟนหน่อยดีกว่า
อยากรู้ว่ามันจะโอเคมั้ย และมันจะขึ้นเว็บได้มั้ย

iphone

จากการลองเขียนไปสองบรรทัด
ผมว่าค่อนข้างโอเคเลยนะครับ
(ขณะนี้ผมอยู่บนรถเมล์นะครับ)

พรุ่งนี้มีงาน thinkcamp#2 และมะรืนนี้ก็มีงาน wordcampbkk#2
ใครว่างก็มาเจอกกันได้นะครับ สำหรับรายละเอียดของงานทั้งสองก็อ่านได้ที่

thinkcamp – http://www.thinkcamp.in.th
wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

ขอทดสอบเพียงเท่านี้แล้วกันครับ