พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ผมตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว
วันนี้ผมขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

bad-user-library

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ผมอยากรู้ว่า พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…

[poll id=”12″]

อยากถามเพื่อนๆ ว่า
?ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว คุณว่าผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด?
หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะครับว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย
แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับผมเองตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

?มันขาดอยู่แล้ว ผมไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย?
?คนที่ยืมก่อนผมทำขาดหรือปล่าว?
?ตอนผมเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ?

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

?หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป?

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด
และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก
จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม / ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะครับ

อิอิ ขอเปิดนำร่องก่อนเลยใครมีความคิดยังไง หรือแนวทางการแก้ไขยังไงเสนอได้นะครับ

คุณรักห้องสมุดเท่านี้หรือปล่าว

เวลาผมไปบรรยายตามที่ต่างๆ ผมก็มักจะได้พูดคุยกับเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายๆ คน
เพื่อนๆ เหล่านั้นถามผมว่าทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุดไม่มีวันหยุดได้หล่ะ

ilovelibrary

ผมจึงได้ย้อนถามกลับไปว่า

เพื่อนๆ รักในวิชาชีพนี้แล้วหรือยัง
เพื่อนๆ รักในห้องสมุดที่ท่านทำงานหรือปล่าว

คำถามเหล่านี้ ผมไม่ต้องการคำตอบหรอกครับ
แต่คำถามเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ คิดได้ว่าทำไมผมถึงทำอะไรเพื่อวงการนี้

อ๋อ เกือบลืมวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงมาให้เพื่อนๆ ดู เป็นคลิปวีดีโอที่ชื่อว่า I Love the Library

ไปดูกันเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_3z7VGJSrQ4[/youtube]

ดูแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ

ตอนผมดูแรกๆ ก็อดขำบรรณารักษ์ที่ยืนกอดหนังสือไม่ได้
จะบอกว่ารักห้องสมุดจนยืนกอดหนังสือมันก็ดูตลกไปสักหน่อยครับ
แต่ก็ถือว่าอย่างน้อยคลิปวีดีโอนี้ เขาทำมาก็เพื่อสะท้อนว่า พวกเขารักห้องสมุด

ย้อนกลับมาที่ผม สำหรับผมแล้วการที่ได้รักห้องสมุด รักในวิชาชีพ
ผมคงไม่ต้องมายืนกอดหนังสือแล้วถ่ายคลิปหรอกนะครับ
เพียงแต่พยายามคิดหาหนทางในการพัฒนาห้องสมุด
แล้วเอามาเขียนบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านแค่นี้ก็ก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ในส่วนนึงแล้ว

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ รักห้องสมุดหรือเปล่า!!!

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ

วันนี้ขอพาเที่ยวต่างประเทศอีกสักรอบนะครับ สถานที่ที่ผมจะพาไปเที่ยวนั่นก็คือ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ทำไมผมถึงพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รู้มั้ยครับ เพราะว่าพิพิธภัณฑ์ก็คือพี่น้องของห้องสมุดนั่นเอง

nawcc

พิพิธภัณฑ์จะเน้นในการเก็บรักษาสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช่หนังสือ
รวมถึงมีหน้าที่ในการเก็บและสงวนสิ่งของหายากและของล้ำค่า

?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? (The National Watch & Clock Museum)
ตั้งอยู่ที่ 514 Poplar street – Columbia, Pensylvania ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1977 ซึ่งในปีแรกมีนาฬิกาแสดงจำนวนน้อยกว่า 1,000 ชิ้น
จนในเวลาต่อมาเมื่อนาฬิกาที่แสดงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจำนวน 12,000 ชิ้น
ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้สร้างส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับกับจำนวนสิ่งของที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนขยายในส่วนสุดท้ายได้สร้างเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 1999 นั่นเอง

Collection ที่จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์นี้ มี นาฬิกาทั้งแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างนาฬิกา และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ ส่วนที่ใช้แสดงนาฬิกาของอเมริกาในยุคศตวรรษที่ 19
แต่อย่างไรก็ดีนอกจากนาฬิกาในประเทศอเมริกาแล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้ยังเก็บนาฬิกาจากทุกมุมโลกอีกด้วย เช่น
– นาฬิกาแบบตู้ทรงสูงจากประเทศอังกฤษ
– นาฬิกาทรงเอเซียจากประเทศจีนและญี่ปุ่น
– อุปกรณ์ที่บอกเวลาต่างๆ จากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศรัสเซีย

ส่วนที่จัดแสดงจะมีนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ พัฒนาการต่างๆ ของนาฬิกา เทคโนโลยีในการบอกเวลา

เรามาดูการแบ่งพื้นที่ภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? กันนะครับ

– Admissions & Information desk
ในส่วนนี้เป็นบริเวณทางเข้าและส่วนข้อมูลของพิพิธภัณฑ์

– Theater เป็นห้องภายภาพยนต์ประวัติและความเป็นของนาฬิกา
นอกจากนี้ยังใช้ในการอบรมและแนะนำ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?

– Ancient Timepieces เป็นห้องที่แสดงการบอกเวลาในสมัยโบราณ
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลาในสมัยโบราณ เช่นนาฬิกาทราย นาฬิกาแดด ฯลฯ

– Special Exhibition เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงปี 1700 – 1815
ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของการประดิษฐ์นาฬิกาในอเมริกา

– Eighteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 18

– Nineteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 19

– American Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปอเมริกา

– European Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปยุโรป

– Asian Horology เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปเอเซีย

– Wristwatches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ

– Car Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่อยู่ในรถยนต์

– Novelty Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่มีรูปแบบแปลกๆ

– Pocket Watches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่สามารถพกพาได้

– Early 20TH Century Shop เป็นส่วนของร้านขายนาฬิกาและแสดงนาฬิกาที่ประดับอัญมณี

– Learning Center เป็นส่วนที่แสดงนิทรรศการและให้ความรู้เกี่ยวกับศาตร์แห่งการบอกเวลา
ทั้งวิวัฒนาการของการบอกเวลา นาฬิกาประเภทต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบอกเวลา

– Monumental Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับหอนาฬิกา

– Tower Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบตู้ทรงสูง

– Electronic Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบดิจิตอล

– Gift Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ซึ่งในร้านมีนาฬิกาให้เราเลือกซื้อมากมาย หลายแบบให้เลือก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? แห่งนี้ เสียดายอย่างเดียวว่ามันอยู่ที่อเมริกา
เพราะว่าถ้ามันอยู่เมืองไทย ผมก็คงต้องอาสาไปเยี่ยมเยียนสักหน่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.nawcc.org/museum/museum.htm

และใครสนใจดูภาพภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? ก็ดูได้ที่
http://www.nawcc.org/museum/nwcm/MusMap.htm

สถาบันมะเร็งแห่งชาติรับบรรณารักษ์ชั่วคราว

วันนี้ผมมีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ อ่านและสมัครกันอีกแล้วครับ
ใครสนใจก็ลองอ่านดูก่อนนะครับ แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า “บรรณารักษ์ชั่วคราว” นะครับ

nci-job

สำหรับงานในวันนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าเป็นงานชั่วคราวเท่านั้นนะครับ
เป็นลูกจ้างรายเดือนเท่านั้นนะครับ เพราะฉะนั้นคิดและตัดสินใจให้ดีๆ ครับ

สำหรับคนที่ยังไม่มีงานทำก็ถือว่าน่าสนใจและลองสมัครเช่นกัน
จะได้มีอะไรทำยามว่างและมีประสบการณ์ด้วยนะ

เอาเป็นว่าเรามาดูคุณสมบัติของตำแหน่งบรรณารักษ์นี้กันดีกว่า
– วุฒิปริญญาตรีด้านบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์
– มีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น Word, Excel ฯลฯ

ตำแหน่งนี้จะทำงานห้องสมุดในกลุ่มงานสนับสนุนวิชาการนะครับ
อ๋อลืมบอกไปอย่างหนึ่งเงินเดือน 7,940 บาทนะครับ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถขอใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่
งานบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายทรัพยากรบุคคล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 เท่านั้นนะครับ

รายละเอียดอื่นๆ ผมแนะนำให้ดาวน์โหลดเอกสารด้านล่างนี้ ไปอ่านครับ
http://www.nci.go.th/file_download/Job/52-405-1.pdf

ยังไงก็ขอให้ทุกคนโชคดีนะครับ

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศฉบับปี 2550

ประกาศจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2521 และมีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี 2529
และหลังจากนั้นไม่เคยมีการปรับปรุงจรรยาบรรณฉบับนี้อีกเลย จนมีการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี 2550

ethic-library

ผมเลยแปลกใจว่าตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกจนถึงครั้งนี้มันห่างกันตั้ง 21 ปีนะครับ
แสดงว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันล้าสมัยมากๆๆๆๆๆ
แต่เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ยังไงฉบับนี้ก็ถือว่าแก้ไขมาแล้ว
ผมจะมาพูดถึงเนื้อหาจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ แบบย่อๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน

———————————————————————————————–

ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

1. ให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่แบ่งแยกผู้ใช้บริการ
2. รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
4. เรียนรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เป็นมิตรกับเพื่อนร่มงาน เพื่อร่วมมือร่มใจกันทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
6. สร้างสัมพันธภาพและสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันให้ดี
7. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์เข้าตัวเอง
8. ยึดถือหลักเสรีภาพทางปัญญาและรักษาเกียรติภูมิของห้องสมุดและวิชาชีพ (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสีย)
9. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

———————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับจรรยาบรรณของวิชาชีพเราฉบับใหม่
ผมวี่ามันก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอยู่แล้วนะครับ
แต่สำหรับผม ผมชอบข้อ 4 ที่รู้สึกว่า
ทางสมาคมคงจะเผื่อเอาไว้ในอนาคตเลย
เพราะว่าวิชาชีพเรา เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านจรรยาบรรณฉบับเต็มก็สามารถดาวนโหลดได้ที่
ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมห้องสมุดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อวงการห้องสมุดต่อไปนะครับ

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ไทยในปี 1998-1999

ย้อนอดีตดูเว็บไซต์ประเทศไทยกันบ้างดีกว่า จำกันได้มั้ยครับว่า
เว็บไซต์เหล่านี้สมัยก่อนหน้าตาเป็นแบบนี้

เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนเดิม (http://web.archive.org/)

เริ่มจากเว็บไซต์แรก นั่นคือ pantip.com เว็บไซต์ฟอรั่มที่มีความยาวนานที่สุดของไทย

pantip

เว็บไซต์ต่อมา sanook.com ปัจจุบันเป็นเว็บอันดับหนึ่งของประเทศแล้วสมัยก่อนหล่ะ ไปดูกัน

sanook

เว็บไซต์ที่ผมต้องพูดถึงอีกเว็บหนึ่งคือ Thaimail.com บริการฟรีอีเมล์ยุคแรกๆ ที่ผมก็เคยใช้ อิอิ

thaimail

เว็บต่อมานั่นก็คือ hunsa.com ปัจจุบันเว็บนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน แต่ในสมัยก่อนผมก็ชอบเว็บนี้เหมือนกันนะ

hunsa

เว็บไซต์สุดท้ายของวันนี้ คือ jorjae.com เว็บเพื่อสังคมวัยรุ่น และ picpost ยุคแรก

jorjae

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเว็บไซต์ที่ผมนำมาให้ดู
จริงๆ ในช่วงปี 1998-1999 ยังมีอีกหลายเว็บที่น่าสนใจนะครับ
แต่รายชื่อเว็บไซต์ที่ติดในหัวของผมอาจจะเลือนๆ หายไปบ้าง

ยังไงถ้าเพื่อนๆ พอนึกออกก็ช่วยๆ กันโพสไว้ด้านล่างนี้นะครับ
ผมแค่อยากรู้ว่ายังเหลือเว็บไหนอีกบ้าง และเว็บไหนที่อยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และเว็บไซต์เหล่านั้นพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ Search Engine ในปี 1995 ? 1996

หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ยุคแห่งความรุ่งเรืองของบรรดา Search engine ทั้งหลาย
ในช่วงนั้นถ้าจำไม่ผิด google ยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ แล้วเพื่อนๆ จำได้มั้ยครับ
ว่าสมัยนั้นเพื่อนๆ ใช้เว็บอะไรในการค้นหาข้อมูลบ้าง
วันนี้ผมจะมารำลึกความหลังครั้งนั้นกัน

เรื่องที่ผมหยิบมาให้อ่านนี้ ชื่อเรื่องว่า The Web back in 1996-1997
เป็นการประมวลภาพเว็บไซต์ดังๆ ในอดีตเพื่อรำลึกความหลังของเว็บเหล่านั้น

เว็บไซต์เบอร์หนึ่งในใจผม yahoo.com กำเนิดในเดือนมกราคม 1995

yahoo

เว็บไซต์ต่อมา Webcrawler.com เว็บไซต์ที่เป็น search engine ตัวแรกที่ใช้ full text search

webcrawler

เว็บไซต์ต่อมา altavista.com เว็บไซต์ search engine ที่มียอดนิยมในอดีต

altavista

เว็บไซต์ต่อมา Lycos.com เว็บไซต์ search engine ที่ผันตัวเองไปสู่ Web portal

lycos

ยังมีภาพอีกหลายเว็บไซต์นะครับ แต่ที่ผมเลือกนำมาให้ดู
นี่คือสุดยอดของ search engine ในอดีต
ที่ปัจจุบันบางเว็บไซต์ก็ยังอยู่ แต่บางเว็บไซต์ล้มสะลายไปแล้ว

ภาพอื่นๆ เพื่อนๆ ดูได้จาก http://royal.pingdom.com/2008/09/16/the-web-in-1996-1997/
นอกจากนี้ เพื่อนๆ สามารถดูหน้าตาเว็บไซต์ในอดีตได้จาก http://web.archive.org/ นะครับ

หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ
(ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ)

just-for-fun

ซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์
การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้
จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย

ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์)
อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที
บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer
ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ

คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร
เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows
และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน
ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น

ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS”
ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50
และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ
หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่

ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น
ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค
หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS TORVALDS) ดีกว่านั้น
มันหนาถึง 374หน้านะครับ แต่ก็อ่านเพลินๆ คืนเดียวจบ เหมือนกินต้มยำอร่อยๆ
ถ้าชอบแนวปรัญญาความคิดใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้มีให้คุณได้ขบคิด

ผมคัดลอกเอาเนื้อเรื่องบางส่วนมาให้ลองอ่านเล่นดูนะครับ

“ตอนเด็กผมหน้าเกลียดมาก บอกกันตรงๆ อย่างนี้เลย
และผมหวังว่าวันหนึ่งเมื่อฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับลินุกซ์ขึ้นมา
พวกเขาคงจะหาพระเอกที่หน้าหาเหมือน ทอม ครูซ มาเล่น
แม้ในความเป็นจริงมันจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันเลยก็ตาม
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ถึงขนาดคนค่อมแห่งนอตเตอร์ดามหรอก
ลองนึกภาพตามดีกว่า นึกถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มีฟันหน้าใหญ่มาก
(ทุกคนที่ดูรูปผมตอนเด็กจะเห็นว่าหน้าผมดูคล้ายตัวบีเวอร์ไม่น้อย)
นึกถึงการแต่งตัวที่เชยระเบิด และนึกถึงจมูกที่ใหญ่ผิดปกติ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตระกูลทอร์วอลด์ นั่นละครับ ตัวผมในวัยเด็ก”

หรือ

“แล้วทำไมสังคมถึงวิวัฒนาการได้ละ? อะไรคือแรงผลักดันที่สำคัญ?
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
จริงหรือที่การผลิตเครื่องจักรไอน้ำทำให้ยุโรปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
แล้วหลังจากนั้นสังคมมนุษย์ก็วิวัตนาการโดยอาศัยโนเกียและโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จนกลายเป็นสังคมแห่งการสือสารไป?
ดูเหมือนนักปรัชญาทั้งหลายจะพอใจกับคำอธิบายนี้ จึงพากันไปสนใจแต่ประเด็นที่เทคโนโลยีมีผลต่อสังคม
แต่ผมในฐานะนักเทคโนโลยีกลับรู้ดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลต่ออะไรเลย
สังคมต่างหากที่มีผลต่อเทคโนโลยี ไม่ใช่ทางกลับกัน
เทคโนโลยีเป็นเพียงตีกรอบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
และเราจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยเปลืองเงินน้อยที่สุดได้ยังไง
เทคโนโลยีก็เหมือนบรรดาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นแหละ
คือมันไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มันมีหน้าที่แค่ทำงานไปตามที่คุณใช้มัน
ส่วนแรงจูงใจของการทำงานนั้นเป็นความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์โดยแท้
ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นไม่ใช่เพราะเรามีอุปกรณ์
แต่เพราะมนุษย์เราชอบการพูดคุยกันอยู่แล้ว เราจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม
เราก็จะสร้างมันขึ้นมา เพราะอย่างนี้โนเกียถึงได้เกิด”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับนี่เป็นเพียงเนื้อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อ่านแล้วก็ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
สรุปประเด็นที่อยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ
จนทำให้หนังสือดีๆ เหล่านี้ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ กว่าจะได้อ่านก็ช้าไปนานแล้ว

ดังนั้นนี่คงเป็น Case study อย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก
เพราะว่า คุณลองคิดสิครับว่าในห้องสมุดยังมีหนังสือดีๆ แบบนี้ให้อ่านอยู่
แต่ผู้ใช้หาไม่เจอ แล้วอย่างนี้มันน่าคิดมั้ยครับ

สุดท้ายขอขอบใจเพื่อนพิชญ์อีกทีนะครับ แล้วส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านบ้างนะครับ

ปล. ปรัชญาเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหนังสือดีๆ ยังมีอยู่ในห้องสมุดอีกเยอะครับ

จุดประสงค์การเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

วันนี้ขอเล่าเรื่องแบบไม่เครียดแล้วกันนะครับ (ปกติมีแต่เรื่องเครียดๆ หรอ)
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ รู้หรือปล่าวครับว่าผู้ใช้แต่ละคนที่เข้าห้องสมุดมีวัตถุประสงค์การใช้ห้องสมุดแตกต่างกัน
วันนี้ผมขอรวบรวมจุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

library-tour-237

จุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

1. หนอนหนังสือ – ชอบอ่านหนังสือเลยเข้าห้องสมุด
เข้ามาเพื่อจุดประสงค์อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน?แบบว่าขยันสุดๆ ไปเลยพวกนี้

2. มาเรียนคร้าบ – มีทั้งกรณีที่วิชาเรียนมีเรียนที่ห้องสมุด (พวกเอกบรรณฯ)
และอาจารย์ขอใช้ห้องสมุดเป็นคาบในการค้นหาข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ

3. มาหาเนื้อหาทำรายงาน – จริงๆ เหตุผลนี้น่าจะเอาไปรวมกะข้อสองนะ
เพียงแต่อาจารย์ไม่ได้บังคับให้หาในห้องสมุดนะ หาเนื้อหาที่ไหนก็ได้แต่นักศึกษาเลือกห้องสมุด ก็ดีเหมือนกันนะ

4. มาเล่นคอมคร้าบ – พวกนี้ไม่ได้อยากอ่านเนื้อหาที่เป็นกระดาษครับ
ในห้องสมุดมีบริการอินเทอร์เน็ตก็เลยมาเล่นซะ ให้พอใจกันไปเลย

5. มาติวหนังสือในห้องสมุดดีกว่า – พวกนี้ก็ชอบเข้าห้องสมุดเพื่อติวหนังสือ นับว่าขยันกันมากๆ
เหตุผลก็เพราะว่าห้องสมุดมีห้องประชุมกลุ่มแล้วพวกนี้แหละก็จะขอใช้บริการประจำเลย
และในห้องประชุมนี้เอง ภายในมีโต๊ะใหญ่ แล้วก็กระดานสำหรับเขียน ทำให้เหมือนห้องเรียนแบบย่อมๆ เลย
เอกบรรณฯ เราก็ชอบห้องนี้แหละ เพราะมันส่วนตัวกว่าห้องเรียนที่ตึกเรียนรวมคร้าบบบบ

6. จุดรอคอยการเรียนวิชาต่อไป – กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่เรียนแบบไม่ต่อเนื่องกัน พอมีเวลาว่างนาน
ก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยมานั่งเล่นที่ห้องสมุด มาดูข่าว หนังสือพิมพ์ ฆ่าเวลา
เพราะว่าห้องสมุดอยู่ใกล้กับตึกเรียน และที่สำคัญคือ เย็นสบายครับ

7. มาหลับ – กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงจากจุดประสงค์ต่างๆ ครับ
เช่น ตั้งใจมาอ่านหนังสือ อ่านไปอ่านมาง่วงซะงั้นก็เลยหลับ
หรือนั่งติวหนังสือกันอยู่แอบหลับไปซะงั้น เพราะด้วยบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นใครก็ต้องเคลิ้มไปซะงั้น

8. มาหม้อ – กลุ่มนี้คือกลุ่มพวกที่ชอบใช้ห้องสมุดเพื่อการบันเทิง
เนื่องจากห้องสมุดมักมีผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิง ดังนั้นกลุ่มนี้ผมคงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่าเป็นผู้ชาย
(อดีตผมก็ทำ อิอิ กล้าบอกไว้ด้วย 5555)

เอาเป็นว่าไม่ว่ากลุ่มไหนก็ตาม แต่ทุกคนมีสถานที่ในดวงใจเหมือนกันนั้นคือ ห้องสมุด
ยังไงซะ บรรณารักษ์อย่างเราก็จะดูแลคุณอยู่แล้วหล่ะครับ

ปล.จุดประสงค์ต่างๆ ที่เขียนมา เขียนให้อ่านขำๆ นะครับ
อย่าคิดมาก ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมายหรอกนะครับ

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ