การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result